ย้อนวันวาน ‘ขนมหวานสัญชาติอเมริกันแห่งศตวรรษที่ 20’ กับตำนานที่โลกไม่ลืม!

11 เมษายน 2566 - 08:21

Iconic-Candies-Through-the-Decades-us-SPACEBAR-Thumbnail
  • รู้หรือไม่ว่าขนมหวานสัญชาติอเมริกันแห่งศตวรรษที่ 20 นั้น มีหลายอยู่หลายแบรนด์ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ของว่างกินเล่นเท่านั้น

  • แต่เคยเป็นทั้งเสบียงฉุกเฉินยามสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นทั้ง Soft Power ท่ามกลางที่ประชุมสุดตึงเครียด ตลอดจนเป็นอาหารว่างในอวกาศมาแล้วด้วย

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/V8FUzIqkSJ0MRc8NfuDo4/73b35839192d2179ca22398bb3f10650/Iconic-Candies-Through-the-Decades-us-SPACEBAR-Photo01
เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะโตมากับขนมหวาน ลูกอม อย่างหมากฝรั่งตรานกแก้ว ตังเมกรอบขนมไม้ในตำนาน ขนมก้อนหิน ขนมโคนไอศกรีม ‘Kitty Boy’ เยลลี่ดาบมังกรดราก้อนทังค์ หรือโคล่าอัดเม็ด เป็นต้น และแน่นอนว่าบางอย่างก็หาซื้อไม่ได้แล้วด้วยในปัจจุบัน 

แต่รู้หรือไม่ว่าขนมหวานในสหรัฐฯ ที่มีมาอย่างยาวนานอย่างช็อกโกแลตวัยรุ่น M&M’s ช็อกโกแลตบาร์ Hershey’s Milk หรือแม้แต่เยลลี่เส้นเคี้ยวหนึบ Twizzlers ต่างก็ล้วนมีบทบาททางประวัติศาสตร์สหรัฐฯ บางแบรนด์ก็เคยเป็นเสบียงหลักของทหารยามศึกสงคราม บ้างก็ช่วยหนุนเศรษฐกิจของประเทศ บ้างก็เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ทางการทูตเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดด้วย 

และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอุตสาหกรรมขนมหวานของสหรัฐฯ อย่างช็อกโกแลต คาราเมล กัมมี่ ลูกกวาด และอื่นๆ มีมูลค่าสูงถึง 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี (ราว 4.4 แสนล้านบาท) ตามรายงานของสหพันธ์การค้าปลีกแห่งชาติ National Retail Federation ระบุว่า แค่ฮัลโลวีนเพียงวันเดียว ชาวอเมริกันก็ใช้เงินไปกับขนมหวานถึง 3 พันล้านดอลลาร์เลยทีเดียว (ราว 1.02 แสนล้านบาท) 

ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวความเป็นมาของขนมหวานสัญชาติอเมริกันกับตำนานโลกไม่ลืมที่มีบทบาทมากกว่าการเป็นแค่ของว่างเท่านั้น 

ช็อกโกแลตบาร์ของเฮอร์ชีย์ (Hershey’s Milk Chocolate Bar) / 1900 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4P0GS68PfjGM2AzEX11HpU/c1caa08ea9021dcc668fbf71dbb922dd/Iconic-Candies-Through-the-Decades-us-SPACEBAR-Photo02
‘ช็อกโกแลตบาร์ของแบรนด์เฮอร์ชีย์ (Hershey)’ เป็นอีกหนึ่งตำนานที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นของหวานอันเป็นเอกลักษณ์แห่งแรกของสหรัฐฯ โดย มิลตัน เฮอร์ชีย์ นักธุรกิจชาวอเมริกันได้ตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจช็อกโกแลตหลังได้รับแรงบันดาลใจจากเครื่องจักรทำช็อกโกแลตของเยอรมันที่จัดแสดงในงาน Columbian Exposition 1893  

ในปี 1899 บริษัทของเขาได้พัฒนากระบวนการแรกสำหรับการผลิตช็อกโกแลตจำนวนมากในสหรัฐฯ และปีต่อมาเขาก็ได้เปิดตัวช็อกโกแลตนมแบบแท่ง / บาร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับรสชาติคนอเมริกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับคนยุโรปที่นิยมช็อกโกแลตแบบเข้ม 

และแน่นอนว่าในเวลาต่อมาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชื่อเสียงของช็อกโกแลตเฮอร์ชีย์ก็เป็นที่เลื่องลือว่ามันช่วยเพิ่มพลังให้กับกองกำลังพันธมิตรระหว่างที่รบอยู่ได้อย่างน่าประหลาดใจ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6kWeNR2ccdle7JOBeMtwYc/3ecbf9d22b9fd2091eea1366dfe7577b/Iconic-Candies-Through-the-Decades-us-SPACEBAR-Photo03
Photo: ช็อกโกแลต ‘D ration bar’ เสบียงอาหารยามศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 ของทหารฝ่ายพันธมิตร / Wikipedia / U.S. Army Center Of Military History
ในปี 1937 กองทัพสหรัฐฯ ติดต่อบริษัทเฮอร์ชีย์เพื่อผลิตช็อกโกแลตบาร์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับเสบียงอาหารฉุกเฉินเท่านั้น โดย แซม ฮิงกี หัวหน้านักเคมีของเฮอร์ชีย์ กล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มีเงื่อนไข 4 ประการสำหรับการผลิตช็อกโกแลตบาร์แบบพิเศษ ดังนี้ 
 
  • ช็อกโกแลตต้องมีน้ำหนัก 4 ออนซ์  
  • มีพลังงานสูง  
  • ทนต่ออุณหภูมิสูง 
  • รสชาติดีกว่ามันฝรั่งต้มเล็กน้อย เนื่องจากกองทัพไม่ต้องการให้ช็อกโกแลตบาร์มีรสชาติดีซึ่งทหารอาจจะกินในสถานการณ์ที่ไม่ฉุกเฉินได้ 

สำหรับรสชาตินั้น ทหารส่วนใหญ่ที่ได้ลองชิมต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากกินมันฝรั่งต้มมากกว่า เนื่องจากเฮอร์ชีย์ต้องทำตามเงื่อนไขที่ทางการขอมาจึงเกิดเป็น ‘D ration bar’ ขึ้นมา (ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของช็อกโกแลต น้ำตาล เนยโกโก้ นมผงขาดมันเนย และแป้งข้าวโอ๊ต) 

รสชาติและรูปลักษณ์ที่ออกมาจึงเหมือนก้อนอิฐอัดแน่น โดยมีรสชาติของน้ำตาลเพียงเล็กน้อยเพื่อปกปิดรสขมของดาร์กช็อกโกแลต และเพราะต้องผลิตให้ทนต่ออุณหภูมิสูงจึงทำให้ยากต่อการกัดแท่งบาร์ ซึ่งทหารส่วนใหญ่ที่จะกินมันได้นั้นต้องใช้มีดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนถึงจะเคี้ยวได้ 

อย่างไรก็ดี การผลิตช็อกโกแลตบาร์ในครั้งนั้นก็เพื่อทดแทนมื้ออาหาร แต่ก็ไม่ใช่ของว่างเพื่อการยังชีพ เนื่องจากน้ำตาลเป็นวิธีที่ง่ายในการเพิ่มกำลังใจให้กับกองทหารในเวลานั้นนั่นเอง 

ปัจจุบันนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 123 แล้วสำหรับช็อกโกแลตบาร์ในตำนานอย่างเฮอร์ชีย์ที่ยังเป็นที่นิยมของคนทั่วโลกมาจนถึงทุกวันนี้ และยังผลิตออกมาหลายรสชาติอีกด้วย

ขนมเยลลี่เส้นเคี้ยวหนึบทวิซเลอร์ส (Twizzlers) / 1929

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2VZLLqQNLTcpdDdUNLpPNa/22664ab34327468c52583b65edd0691e/Iconic-Candies-Through-the-Decades-us-SPACEBAR-Photo05_copy
‘เยลลี่เส้นคี้ยวหนึบทวิสเลอร์ส (Twizzlers)’ หรือที่รู้จักว่าเป็นขนมหวานเส้นยาวๆ สีแดงสดและบิดเป็นเกลียวคล้ายกับชะเอมเทศเปิดตัวครั้งแรกในปี 1929 ของว่างที่ชาวอเมริกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่นิยมทานในโรงภาพยนตร์เป็นอันดับ 2 รองจากป๊อปคอร์น 

เดิมทีทวิสเลอร์สคิดค้นโดยบริษัท Young and Smylie ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตขนมที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ จนปี 1960 ทวิสเลอร์สก็ได้รับความนิยมอย่างมาก กระทั่ง Hershey’s Company ได้เข้าซื้อกิจการในปี 1977 โดยต่อมาเรียกว่า Y&S Candies และผลิตเพิ่มอีกหลายรสชาติ ได้แก่ สตรอเบอร์รี่ ส้ม มะนาว องุ่น แอปเปิ้ลคาราเมล บลูราสเบอร์รี่ และแตงโม เป็นต้น 

อย่างไรก็ดี ขนมเยลลี่เส้นนี้เป็นที่เลื่องลือว่าทนต่อความร้อนได้ดีไม่ละลายง่ายเหมือนลูกกวาดชนิดอื่นๆ จึงเป็นที่นิยมในหมู่ผู้คน นอกจากนี้ยังโด่งดังมากขึ้นไปอีกจากกระแสข่าวลือที่นักบินอวกาศอย่าง นีล อาร์มสตรอง ได้ กล่าวหลังจากลงจอดบนดวงจันทร์ระหว่างภารกิจ Apollo 11 (ปี 1969) ครั้งประวัติศาสตร์ของเขาว่า “ตอนนี้ผมไปกินทวิสเลอร์สได้แล้ว” ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่อาจเป็นคำโฆษณาสินค้าที่ได้รับการสนับสนุนจาก Hershey’s Company  
และครั้งหนึ่งเมื่อ 19 กรกฎาคม 1998 ทวิซเลอร์สก็สร้างสถิติโลกของ Guinness world record สำหรับชะเอมเทศที่ยาวที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยยาวกว่า 1,200 ฟุตและหนักกว่า 100 ปอนด์ อีกด้วย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3vdOasJzUala2TCioNXECv/b70bea7b3b03366dff3d9be52d72fb7f/Iconic-Candies-Through-the-Decades-us-SPACEBAR-Photo02_copy
Photo: ประชุมเจรจาบรรลุข้อตกลงการลดนิวเคลียร์ ณ อาคารสหประชาชาติในกรุงเวียนนา ออสเตรีย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2015 / JOE KLAMAR / POOL / AFP
ใครจะไปรู้ว่าแค่ขนมหวานเยลลี่เส้นแบรนด์นี้ก็เคยเป็นตัวกลางท่ามกลางการเจรจาทางการทูตข้อตกลงลดนิวเคลียร์ 19 วันเมื่อปี 2015 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งกลับกลายเป็นว่าการประชุมสุดตึงเครียดในครั้งนั้นเป็นเหมือนเวทีที่แต่ละประเทศต่างโชว์ Soft Power ของว่าง / ขนมหวานของตน

มีรายงานว่ารอบๆ โต๊ะที่ประชุมของรัฐมนตรีต่างประเทศจากอิหร่าน สหรัฐฯ และอีก 5 มหาอำนาจของโลกต่างเต็มไปด้วยของว่าง โดยเหล่ารัฐมนตรีเองก็รับประทานเยลลี่ทวิสเลอร์สรสสตอร์เบอร์รี่ไปประมาณ 10 ปอนด์ในระหว่างการเจรจาอีกด้วย  

นอกจากนี้ภายในที่ประชุมยังมีชีสแท่ง (Cheestrings) ขนมช็อกโกแลตทรงกลม ( Mozart balls) จากออสเตรีย ข้าวตังมาร์ชแมลโลว์ (Rice Krispies Treats) จากสหรัฐฯ ถั่วพิสตาชิโอ ลูกเกดเขียวจากอิหร่านและอื่นๆ 

ช็อกโกแลตรูปกระดุมเอ็มแอนด์เอ็ม (M&Ms) / 1941 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1cI0FLUZ5zAsvSNPyJLTbF/60266d67320b011bddb39422c9a1788e/Iconic-Candies-Through-the-Decades-us-SPACEBAR-Photo02_copy_2
82 ปีขนมเม็ดกระดุมช็อกโกแลตในตำนาน M&Ms กับคำโฆษณาที่ว่า “ละลายในปากไม่ลายในมือ!” และไม่ต้องแปลกใจว่าทุกวันนี้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย M&M’s ก็ยังเป็นขนมที่ครองใจวัยรุ่นทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน 

เรื่องราวของ M&M’s เริ่มต้นขึ้นในช่วงทศวรรษ 1930 เมื่อ ฟอร์เรส มาร์ส ลูกชายของ แฟรงคลิน มาร์ส ผู้ก่อตั้ง Mars Incorporated ธุรกิจขนมหวานขนาดเล็กในเมืองทาโคมา รัฐวอชิงตัน สหรัฐฯ ที่แตกหักกันเพราะเรื่องธุรกิจ จนฟอร์เรสต้องไปตั้งตัวอยู่ที่อังกฤษและผลิตช็อกโกแลตแท่งให้กองทัพ  

ทว่าธุรกิจช็อกโกแลตในเวลานั้นไม่สู้ดีนัก เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูร้อนทำให้ละลายง่าย จนกระทั่งฟอร์เรสได้สังเกตทหารอาสาอังกฤษในช่วงสงครามกลางเมืองสเปนซึ่งกำลังกินช็อกโกแลตหุ้มด้วยเปลือกน้ำตาล (ป้องกันการละลาย) 

เมื่อเห็นดังนั้น ฟอร์เรสจึงตระหนักได้ถึงวิธีแก้ไขปัญหาความร้อนได้ เขาจึงกลับสหรัฐฯ และร่วมมือกับบรูซ เมอร์รี ทายาทของ Hershey’s Company กระทั่งเปิดตัว M&M’s (Mars & Murrie) ในปี 1941  

ในช่วงแรก M&M’s จะขายให้กับกองทัพสหรัฐฯ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะเท่านั้นซึ่งถูกนำไปเป็นเสบียงอาหารฉุกเฉิน เนื่องจากช็อกโกแลตที่ผลิตออกมานั้นทนความร้อนได้ดีและขนส่งง่าย ไม่ว่าทหารจะประจำการอยู่ที่ใด พวกเขาก็วางใจที่จะได้กินช็อกโกแลตในสภาพที่สดใหม่จากโรงงาน แม้สงครามสิ้นสุดลงเหล่าทหารก็ถึงกับติดใจช็อกโกแลตในสนามรบกันงอมแงมเลยทีเดียว
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4kkUmlXBDMge2CkvGXLZxP/5b89f2bd8635361bf967fd4b9d24075c/Iconic-Candies-Through-the-Decades-us-SPACEBAR-Photo04
Photo: ลอเรน ชริเวอร์ นักบินอวกาศและผู้บัญชาการภารกิจกระสวยอวกาศ STS-46 ของ NASA กำลังอ้าปากไล่กินช็อกโกแลต M&M’s ในห้องนักบินของกระสวยอวกาศ Atlantis ในปี 1992 / NASA
ในปี 1981 M&M’s ก็สร้างอีกหนึ่งตำนาน ‘ละลายในปากของคุณ ไม่ละลายในสภาวะไร้น้ำหนัก’ กลายเป็นขนมหวานชนิดแรกที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศหลังจากได้รับการร้องขอจากลูกเรือบนกระสวยอวกาศโคลอมเบียซึ่งเป็นกระสวยอวกาศลำแรกของ NASA ด้วยคุณสมบัติที่ขนมเม็ดช็อกโกแลตแบรนด์นี้มีความทนทานจึงทำให้เหมาะสำหรับการเดินทางในอวกาศด้วย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1KPAFkcl9cGg6juGO7jeE5/070ce516afc6d7db8daf6aa5b98971c5/Iconic-Candies-Through-the-Decades-us-SPACEBAR-Photo05
Photo: Collect SPACE
และเพื่อเป็นการรำลึกถึงการปล่อยกระสวยอวกาศครั้งสุดท้ายของ NASA ในปี 2011 ทางบริษัทจึงผลิต M&M’s รุ่นพิเศษสำหรับเที่ยวบินโดยเฉพาะ โดยตกแต่งด้วยภาพกระสวยแอตแลนติสพร้อมข้อความ “3, 2, 1...ทะยานสู่อวกาศ!” รวมถึงวันที่ปล่อยกระสวยอวกาศ : 8 กรกฎาคม 2011 

ใครจะไปรู้ว่าปัจจุบันขนมหวานสัญชาติอเมริกันทั้ง 3 แบรนด์ที่กล่าวมาจะยังคงเป็นที่นิยมมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อมองย้อนกลับไปก็น่าประหลาดใจเหมือนกัน เพราะกว่าจะเป็นที่นิยมซึ่งบางแบรนด์ก็แจ้งเกิดจากสงคราม บางแบรนด์รู้จักพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หรือแม้กระทั่งบางแบรนด์ก็กลายเป็น Soft Power ของประเทศอีกด้วย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/CxwU6FxsoZqxtYRfWYvsw/f54b0a906151079ff3d755a638de5f76/info-Iconic-Candies-Through-the-Decades-us

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์