ทุกวันนี้โลกของเราก้าวหน้าไปมาก และปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้โลกใบนี้เติบโตแบบล้ำหน้าก็คือ ‘เทคโนโลยี’ จากดินแดนที่เคยติดต่อสื่อสารผ่านสาสน์การทูตด้วยการเดินเรือข้ามเดือนข้ามปี ผ่านจดหมาย พัฒนาจนผ่านเพจเจอร์ วิทยุโทรเลข กระทั่งกลายเป็นการสื่อสารไร้พรมแดนสู่ยุคโลกาภิวัฒน์และล่าสุดกับเทคโนโลยี AI ที่ดูเหมือนว่ากำลังจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นด้วย
แต่ทุกคนรู้ไหมว่ายุคทองที่เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั้นอยู่ระหว่างช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (ปี 1750-1850) ห้วงเวลานี้เองที่โลกได้เริ่มเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ประกอบกับนักประดิษฐ์โลกหลายๆ คนต่างก็คิดค้นสิ่งประดิษฐ์อันน่าทึ่งขึ้นมาและมีการพัฒนาต่อเรื่อยๆ มาจนถึงปัจจุบัน
ทว่าในช่วงปี 1870-1900 เมื่อหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมและผู้ผลิตรายย่อยไปสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่ เพียงในช่วงไม่กี่ทศวรรษสั้นๆ นั้นต่างก็มีการระเบิดของนวัตกรรมในด้านวิศวกรรม เคมี และเทคโนโลยีมากมาย ตลอดจนยังนำสิ่งประดิษฐ์สุดเจ๋งที่สุดในโลกสมัยใหม่มาให้เราได้ใช้จวบจนทุกวันนี้
แต่ทุกคนรู้ไหมว่ายุคทองที่เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั้นอยู่ระหว่างช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (ปี 1750-1850) ห้วงเวลานี้เองที่โลกได้เริ่มเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ประกอบกับนักประดิษฐ์โลกหลายๆ คนต่างก็คิดค้นสิ่งประดิษฐ์อันน่าทึ่งขึ้นมาและมีการพัฒนาต่อเรื่อยๆ มาจนถึงปัจจุบัน
ทว่าในช่วงปี 1870-1900 เมื่อหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมและผู้ผลิตรายย่อยไปสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่ เพียงในช่วงไม่กี่ทศวรรษสั้นๆ นั้นต่างก็มีการระเบิดของนวัตกรรมในด้านวิศวกรรม เคมี และเทคโนโลยีมากมาย ตลอดจนยังนำสิ่งประดิษฐ์สุดเจ๋งที่สุดในโลกสมัยใหม่มาให้เราได้ใช้จวบจนทุกวันนี้
มาดูกันว่าสิ่งประดิษฐ์สุดเจ๋งที่กล่าวมานี้มีอะไรบ้าง?
1. โทรศัพท์ / 1878

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการประดิษฐ์โทรศัพท์ในยุคสมัยนั้นจะกลายมาเป็นอวัยวะที่ 33 ของใครหลายๆ คนไปแล้วในโลกปัจจุบัน ย้อนกลับไปช่วงต้นปี 1860 เมื่อนักประดิษฐ์ชาวอิตาลีชื่อ อันโตนิโอ เมอุชชิ ได้ทำการสาธิต ‘โทรเลขพูดได้’ หรือที่เขาเรียกว่า ‘เตเลตรอโฟโน (telettrofono)’ ซึ่งเป็นอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถส่งเสียงพูดผ่านสายไฟฟ้าได้ แต่ในขณะนั้น เมอุชชิที่อพยพมาอยู่ที่สหรัฐฯ กำลังตกอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากและไม่สามารถต่ออายุสิทธิบัตรชั่วคราวสำหรับอุปกรณ์ของเขาได้ซึ่งหมดอายุลงในปี 1874
ทว่าในปี 1876 อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ นักประดิษฐ์ชาวสกอตแลนด์และ เอลิชา เกรย์ นักประดิษฐ์ชาวเอมริกันก็กำลังแข่งขันกันเพื่อพัฒนาการออกแบบโทรศัพท์ที่สามารถจดสิทธิบัตรได้
ตามบันทึกของสำนักงานสิทธิบัตรระบุว่า ทนายความของเบลล์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรของเขาก่อนเกรย์เพียงไม่กี่ชั่วโมงในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1876 ทั้งเกรย์และเมอุชซีต่างก็ฟ้องเบลล์ว่าเขาขโมยความคิดของพวกเขาไป
ทว่าในปี 1876 อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ นักประดิษฐ์ชาวสกอตแลนด์และ เอลิชา เกรย์ นักประดิษฐ์ชาวเอมริกันก็กำลังแข่งขันกันเพื่อพัฒนาการออกแบบโทรศัพท์ที่สามารถจดสิทธิบัตรได้
ตามบันทึกของสำนักงานสิทธิบัตรระบุว่า ทนายความของเบลล์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรของเขาก่อนเกรย์เพียงไม่กี่ชั่วโมงในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1876 ทั้งเกรย์และเมอุชซีต่างก็ฟ้องเบลล์ว่าเขาขโมยความคิดของพวกเขาไป

ในท้ายที่สุดหลังเป็นเรื่องฟ้องร้องกันอยู่นานเบลล์ก็เป็นฝ่ายชนะและได้สิทธิบัตรนั้นไปกลายเป็น ‘ผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์’ ขณะที่เมอุชชีเสียชีวิตลงท่ามกลางการต่อสู้ที่อยุติธรรม ทั้งยังกลายเป็นบุคคลที่โลกลืมอีกต่างหาก
หลังจากนั้นโทรศัพท์เปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรล่ะ? ภายในช่วงเวลา 50 ปีหลังการประดิษฐ์ โทรศัพท์ก็กลายเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้ในสหรัฐฯ ตลอดปี 1900 โทรศัพท์ของเบลล์มียอดคนใช้งานเกือบ 600,000 และพุ่งสูงถึง 2.2 ล้านเครื่องในปี 1905 อีก 5 ปีต่อมาในปี 1910 ด้วยยอด 5.8 ล้านเครื่อง กระทั่งในปี 1915 ที่เริ่มให้บริการสายโทรศัพท์ข้ามทวีป
ในช่วงปี 1960 มีการเชื่อมต่อโทรศัพท์มากกว่า 80 ล้านครั้งในสหรัฐฯ และ 160 ล้านครั้งในโลก กระทั่งในปี 1995 พบว่า มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ 25 ล้านราย และดูเหมือนว่าจำนวนดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ
ขณะเดียวกันในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ผู้คนต่างชื่นชมโทรศัพท์ในด้านบวกและคุยโวเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาคาดว่าจะเป็นด้านลบ ทั้งยังมีการคาดการณ์โทรศัพท์ในอนาคตอีกด้วย
หลังจากนั้นโทรศัพท์เปลี่ยนแปลงโลกอย่างไรล่ะ? ภายในช่วงเวลา 50 ปีหลังการประดิษฐ์ โทรศัพท์ก็กลายเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้ในสหรัฐฯ ตลอดปี 1900 โทรศัพท์ของเบลล์มียอดคนใช้งานเกือบ 600,000 และพุ่งสูงถึง 2.2 ล้านเครื่องในปี 1905 อีก 5 ปีต่อมาในปี 1910 ด้วยยอด 5.8 ล้านเครื่อง กระทั่งในปี 1915 ที่เริ่มให้บริการสายโทรศัพท์ข้ามทวีป
ในช่วงปี 1960 มีการเชื่อมต่อโทรศัพท์มากกว่า 80 ล้านครั้งในสหรัฐฯ และ 160 ล้านครั้งในโลก กระทั่งในปี 1995 พบว่า มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ 25 ล้านราย และดูเหมือนว่าจำนวนดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ
ขณะเดียวกันในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ผู้คนต่างชื่นชมโทรศัพท์ในด้านบวกและคุยโวเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาคาดว่าจะเป็นด้านลบ ทั้งยังมีการคาดการณ์โทรศัพท์ในอนาคตอีกด้วย

“ในขณะที่คนสองคนซึ่งอยู่ห่างกันหลายร้อยไมล์กำลังสนทนากัน พวกเขาอาจจะได้เห็นหน้ากันจริงๆ” เคท ฟิลด์ นักข่าวชาวอเมริกันกล่าว
“ระบบโทรศัพท์ที่ไม่มีสายดูเหมือนจะเป็นหนึ่งในความเป็นไปได้ที่น่าสนใจ และระยะทางบนพื้นโลกที่เป็นไปได้นั้นถูกจำกัดโดยทางทฤษฎีตามความโค้งของโลกเท่านั้น”
“สักวันหนึ่งเราจะสร้างระบบโทรศัพท์ของโลก โดยทำให้ทุกคนต้องใช้ภาษากลางหรือความเข้าใจร่วมกันของภาษา ซึ่งจะรวมผู้คนทั้งหมดในโลกเป็นภราดรภาพเดียวกัน” จอห์น เจ. คาร์ตี หัวหน้าวิศวกรของ AT&T บริษัทโทรคมนาคมข้ามชาติของสหรัฐฯ กล่าว
“ระบบโทรศัพท์ที่ไม่มีสายดูเหมือนจะเป็นหนึ่งในความเป็นไปได้ที่น่าสนใจ และระยะทางบนพื้นโลกที่เป็นไปได้นั้นถูกจำกัดโดยทางทฤษฎีตามความโค้งของโลกเท่านั้น”
“สักวันหนึ่งเราจะสร้างระบบโทรศัพท์ของโลก โดยทำให้ทุกคนต้องใช้ภาษากลางหรือความเข้าใจร่วมกันของภาษา ซึ่งจะรวมผู้คนทั้งหมดในโลกเป็นภราดรภาพเดียวกัน” จอห์น เจ. คาร์ตี หัวหน้าวิศวกรของ AT&T บริษัทโทรคมนาคมข้ามชาติของสหรัฐฯ กล่าว
2. หลอดไฟ / 1879

ปัจจุบัน ‘แสงไฟฟ้า’ กลายเป็นหนึ่งในอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรามากที่สุด และเป็นอีกสิ่งประดิษฐ์ที่หลายคนอาจไม่รู้ว่าก่อนหน้าที่ โทมัส อัลวา เอดิสัน จะอุทิศตนกับการแสวงหาหลอดไฟนั้นมีนักประดิษฐ์คนอื่นๆ เคยประดิษฐ์ขึ้นมาก่อนแล้ว แต่เอดิสันได้รับเครดิตเพราะว่า หลอดไฟของเอดิสันมีประสิทธิภาพมากกว่าและถูกนำไปใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์เป็นดวงแรกนั่นเอง
เอดิสันและทีมงานทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งใหม่ของเขาในเมืองเมนโลพาร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ ด้วยการทดสอบวัสดุเส้นใยนับพันอย่างเป็นระบบเพื่อให้หลอดไฟของทีมเผาไหม้ได้หมดจดและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ตามคติของเขาที่ว่า “อัจฉริยะคือแรงบันดาลใจ 1 เปอร์เซ็นต์ และเหงื่อออก 99 เปอร์เซ็นต์”
ในปี 1878 เอดิสันเริ่มการวิจัยอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาหลอดไส้ที่ใช้งานได้จริง และในวันที่ 14 ตุลาคม 1878 เขาได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรครั้งแรกสำหรับการปรับปรุงหลอดไฟไฟฟ้า ซึ่งในระหว่างนี้เขาก็ยังคงทดสอบวัสดุหลายประเภทสำหรับไส้หลอดโลหะเพื่อปรับปรุงตามการออกแบบเดิมของเขา
จนกระทั่งในปี 1879 เอดิสันก็ได้จดสิทธิบัตรหลอดไฟใหม่ของเขา สำหรับหลอดไฟฟ้าที่ใช้ไส้หลอดคาร์บอนหรือแถบขด ซึ่งสามารถเผาไหม้ได้นาน 14.5 ชั่วโมงโดยใช้ด้ายฝ้ายคาร์บอนเป็นเส้นใย แต่เมื่อเอดิสันเปลี่ยนไส้ฝ้ายเป็นไม้ไผ่ หลอดไฟของเขาก็สามารถเผาไหม้ได้นานถึง 1,200 ชั่วโมง
นอกเหนือจากการประดิษฐ์หลอดไฟที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกแล้ว เอดิสันยังออกแบบโครงข่ายไฟฟ้าในเมืองแห่งแรกในนิวยอร์กซิตี้ ซึ่งรวมถึงโรงงานผลิตไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้ากลางอีกด้วย
เอดิสันและทีมงานทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งใหม่ของเขาในเมืองเมนโลพาร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ ด้วยการทดสอบวัสดุเส้นใยนับพันอย่างเป็นระบบเพื่อให้หลอดไฟของทีมเผาไหม้ได้หมดจดและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ตามคติของเขาที่ว่า “อัจฉริยะคือแรงบันดาลใจ 1 เปอร์เซ็นต์ และเหงื่อออก 99 เปอร์เซ็นต์”
ในปี 1878 เอดิสันเริ่มการวิจัยอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาหลอดไส้ที่ใช้งานได้จริง และในวันที่ 14 ตุลาคม 1878 เขาได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรครั้งแรกสำหรับการปรับปรุงหลอดไฟไฟฟ้า ซึ่งในระหว่างนี้เขาก็ยังคงทดสอบวัสดุหลายประเภทสำหรับไส้หลอดโลหะเพื่อปรับปรุงตามการออกแบบเดิมของเขา
จนกระทั่งในปี 1879 เอดิสันก็ได้จดสิทธิบัตรหลอดไฟใหม่ของเขา สำหรับหลอดไฟฟ้าที่ใช้ไส้หลอดคาร์บอนหรือแถบขด ซึ่งสามารถเผาไหม้ได้นาน 14.5 ชั่วโมงโดยใช้ด้ายฝ้ายคาร์บอนเป็นเส้นใย แต่เมื่อเอดิสันเปลี่ยนไส้ฝ้ายเป็นไม้ไผ่ หลอดไฟของเขาก็สามารถเผาไหม้ได้นานถึง 1,200 ชั่วโมง
นอกเหนือจากการประดิษฐ์หลอดไฟที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกแล้ว เอดิสันยังออกแบบโครงข่ายไฟฟ้าในเมืองแห่งแรกในนิวยอร์กซิตี้ ซึ่งรวมถึงโรงงานผลิตไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้ากลางอีกด้วย

ถ้าถามว่าเปลี่ยนโลกไหม? บอกเลยว่ามาก ลองจินตนาการในโลกที่ไม่มีแสงไฟดูสิ เราจะยังคงใช้ตะเกียงหรือจุดเทียนอยู่หรอ? แน่นอนว่าการใช้ชีวิตตอนกลางคืนก็คงลำบากน่าดูเลย ดังนั้นการกำเนิดขึ้นของหลอดไฟจึงเปลี่ยนโลกไปตลอดกาล
หลังจากหลอดไฟของเอดิสันเป็นที่ยอมรับ ทั่วโลกก็สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ในช่วงเย็น เพราะพวกเขาไม่ต้องถูกจำกัดให้อยู่แต่ในบ้านอีกต่อไป แต่สามารถเดินไปตามถนนได้อย่างง่ายดายทุกคืน
และหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดก็คือ อุตสาหกรรมการทำงาน ที่ก่อนหน้านี้งานส่วนใหญ่ถูกจำกัดให้อยู่ในระหว่างวัน โรงงานและร้านค้าจะปิดเมื่อมืดลง แต่หลังจากมีหลอดไฟพวกเขาก็ยังคงทำงานภายใต้แสงจ้าของหลอดไฟได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งปูทางไปสู่ศตวรรษแห่งความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
จวบจนปัจจุบันก็มีหลอดไฟอยู่หลายประเภทให้ผู้คนได้เลือกใช้กันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดนีออน หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดประหยัดไฟ และหลอด LED เป็นต้น
หลังจากหลอดไฟของเอดิสันเป็นที่ยอมรับ ทั่วโลกก็สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ในช่วงเย็น เพราะพวกเขาไม่ต้องถูกจำกัดให้อยู่แต่ในบ้านอีกต่อไป แต่สามารถเดินไปตามถนนได้อย่างง่ายดายทุกคืน
และหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดก็คือ อุตสาหกรรมการทำงาน ที่ก่อนหน้านี้งานส่วนใหญ่ถูกจำกัดให้อยู่ในระหว่างวัน โรงงานและร้านค้าจะปิดเมื่อมืดลง แต่หลังจากมีหลอดไฟพวกเขาก็ยังคงทำงานภายใต้แสงจ้าของหลอดไฟได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งปูทางไปสู่ศตวรรษแห่งความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
จวบจนปัจจุบันก็มีหลอดไฟอยู่หลายประเภทให้ผู้คนได้เลือกใช้กันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดนีออน หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดประหยัดไฟ และหลอด LED เป็นต้น
3. รถยนต์ / 1886

คาร์ล เบนซ์ วิศวกรชาวเยอรมันผู้ได้รับเครดิตจากการจดสิทธิบัตร ‘รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยแก๊สคันแรก’ นั่นก็คือ ‘Patent Motor Car No.1’ แบบสามล้อในปี 1886 ซึ่งนับว่าเป็นจุดสูงสุดของการทดลองในยุโรปหลายทศวรรษกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน และเป็นทางเลือกที่เล็กและเบากว่า
นักประดิษฐ์รุ่นก่อนๆ ได้ติดตั้งเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สกับยานพาหนะที่มีล้อเมื่อหลาย 10 ปีก่อนการประดิษฐ์เบนซ์ ทว่าการสร้างสรรค์ของพวกเขาไม่เคยหยุดพัฒนาจนเกิดเป็นรถเบนซ์ และกลายเป็นจุดสนใจต่อสาธารณชนอย่างมาก เพราะเป็นรถยนต์ที่มีน้ำหนักเบาและขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ดี รถยนต์ทรงสามล้อคันแรกของเบนซ์นั้นขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 4 จังหวะ 0.75 แรงม้า ซึ่งทำความเร็วสูงสุดได้ต่ำกว่า 10 ไมล์ต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีล้อไม้ซี่เหล็กสามล้อพร้อมยางแบบบาง เบรกบุหนัง และพวงมาลัยแนวตั้งแบบข้อเหวี่ยง
นักประดิษฐ์รุ่นก่อนๆ ได้ติดตั้งเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สกับยานพาหนะที่มีล้อเมื่อหลาย 10 ปีก่อนการประดิษฐ์เบนซ์ ทว่าการสร้างสรรค์ของพวกเขาไม่เคยหยุดพัฒนาจนเกิดเป็นรถเบนซ์ และกลายเป็นจุดสนใจต่อสาธารณชนอย่างมาก เพราะเป็นรถยนต์ที่มีน้ำหนักเบาและขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ดี รถยนต์ทรงสามล้อคันแรกของเบนซ์นั้นขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 4 จังหวะ 0.75 แรงม้า ซึ่งทำความเร็วสูงสุดได้ต่ำกว่า 10 ไมล์ต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีล้อไม้ซี่เหล็กสามล้อพร้อมยางแบบบาง เบรกบุหนัง และพวงมาลัยแนวตั้งแบบข้อเหวี่ยง

ใครจะไปรู้ว่าจากจุดกำเนิดรถยนต์ 3 ล้อจะพัฒนาก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยจนมีรถยนต์ระบบสุดเจ๋งอย่าง Tesla และคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการผลิตรถยนต์บินได้อีกด้วย
รถยนต์ถือเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ไม่กี่อย่างที่มีผลกระทบต่อโลกอย่างลึกซึ้ง ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลต่อธุรกิจและเศรษฐกิจในแบบที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ขนาดที่บางคนถึงกับพูดว่า “วัฒนธรรมอเมริกันอาจจะไม่มีอยู่หากปราศจากรถยนต์”
จากคำกล่าวที่ว่า “การผลิตรถยนต์ได้เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจอย่างมาก” เป็นเรื่องที่ไม่เกินจริงเลย เพราะปัจจุบันมีพนักงานหลายล้านคนทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยตรง และการผลิตรถยนต์ไม่เพียงแต่กลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดสำหรับชีวิตประจำวันก็คือ รถยนต์สามารถพาเราไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบาย
ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีล้ำหน้าไปไกลอย่างมากทั้งระบบรถไฟฟ้า EV ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานสะอาด รถยนต์อัตโนมัติ หรือแม้แต่รถยนต์ไร้คนขับ ตลอดจนระบบรถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยบรรเทาการเกิดอุบัติเหตุได้ จึงกล่าวได้ว่านี่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างน่าทึ่งจริงๆ
รถยนต์ถือเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ไม่กี่อย่างที่มีผลกระทบต่อโลกอย่างลึกซึ้ง ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลต่อธุรกิจและเศรษฐกิจในแบบที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ขนาดที่บางคนถึงกับพูดว่า “วัฒนธรรมอเมริกันอาจจะไม่มีอยู่หากปราศจากรถยนต์”
จากคำกล่าวที่ว่า “การผลิตรถยนต์ได้เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจอย่างมาก” เป็นเรื่องที่ไม่เกินจริงเลย เพราะปัจจุบันมีพนักงานหลายล้านคนทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยตรง และการผลิตรถยนต์ไม่เพียงแต่กลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดสำหรับชีวิตประจำวันก็คือ รถยนต์สามารถพาเราไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบาย
ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีล้ำหน้าไปไกลอย่างมากทั้งระบบรถไฟฟ้า EV ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานสะอาด รถยนต์อัตโนมัติ หรือแม้แต่รถยนต์ไร้คนขับ ตลอดจนระบบรถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยบรรเทาการเกิดอุบัติเหตุได้ จึงกล่าวได้ว่านี่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างน่าทึ่งจริงๆ
4. กล้องโกดัก / 1888

จินตนาการออกไหมถ้าโลกของเราไม่มีกล้องถ่ายรูปจะเป็นยังไงนะ? เราจะมีโอกาสได้รู้จักได้เห็นบรรพบุรุษของเราไหม? เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นทั่วโลกล่ะเราคงไม่มีโอกาสได้เห็นและอาจไม่มีทางเชื่อได้เลยว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงๆ หากเป็นเพียงแค่คำบอกเล่าปากต่อปาก แต่ไม่มีหลักฐานโชว์ให้เห็นเลยว่าเกิดขึ้นจริง กล้องถ่ายรูปจึงได้ชื่อว่าเป็นอีกสิ่งประดิษฐ์สุดเจ๋งที่เปลี่ยนแปลงโลกของเราอย่างมากทีเดียว
ก่อนหน้าที่จะเกิดการปฏิวัติวงการกล้องถ่ายรูปนั้นก็มีการถ่ายภาพมาหลายทศวรรษแล้วแต่มีราคาแพง ทว่าผู้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการนี้ให้กลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางก็คือ จอร์จ อีสต์แมน นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันที่บุกเบิกทั้งฟิล์มม้วนในปี 1884 และกล้องโกดัก (Kodak) ในปี 1888
ก่อนการประดิษฐ์ของอีสต์แมนนั้น ภาพถ่ายถูกถ่ายโดยใช้กล้องขนาดใหญ่ราคาแพงซึ่งบรรจุแผ่นกระจกที่เปราะบาง และมีแต่ช่างภาพมืออาชีพเท่านั้นที่สามารถพัฒนาได้ จนในเวลาต่อมาช่วงทศวรรษ 1880 ที่อีสต์แมนประดิษฐ์กล้องโกดักขึ้นมาที่ถือว่าเป็นกล้องตัวแรกที่ออกแบบสำหรับใช้กับม้วนฟิล์มโดยเฉพาะ
ก่อนหน้าที่จะเกิดการปฏิวัติวงการกล้องถ่ายรูปนั้นก็มีการถ่ายภาพมาหลายทศวรรษแล้วแต่มีราคาแพง ทว่าผู้ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการนี้ให้กลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางก็คือ จอร์จ อีสต์แมน นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันที่บุกเบิกทั้งฟิล์มม้วนในปี 1884 และกล้องโกดัก (Kodak) ในปี 1888
ก่อนการประดิษฐ์ของอีสต์แมนนั้น ภาพถ่ายถูกถ่ายโดยใช้กล้องขนาดใหญ่ราคาแพงซึ่งบรรจุแผ่นกระจกที่เปราะบาง และมีแต่ช่างภาพมืออาชีพเท่านั้นที่สามารถพัฒนาได้ จนในเวลาต่อมาช่วงทศวรรษ 1880 ที่อีสต์แมนประดิษฐ์กล้องโกดักขึ้นมาที่ถือว่าเป็นกล้องตัวแรกที่ออกแบบสำหรับใช้กับม้วนฟิล์มโดยเฉพาะ

กล้องโกดักรุ่นดั้งเดิมซึ่งขายในราคา 25 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 800 บาท) เป็นกล่องพกพาที่บรรจุฟิล์มกระดาษยืดหยุ่นได้ 100 ม้วน เพียงแค่เล็งกล้องไปที่วัตถุหรือบุคคล แล้วกดปุ่มชัตเตอร์ จากนั้นหมุนกุญแจเพื่อม้วนฟิล์มไปยังเฟรมถัดไป เมื่อม้วนเสร็จแล้วก็ส่งกล้องทั้งหมดไปที่โรงงานโกดักทางไปรษณีย์ในราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 300 บาท) ลูกค้าก็จะได้รับงานพิมพ์ 100 แผ่น รวมถึงฟิล์มเนกาทีฟและฟิล์มใหม่ 1 ม้วน
ดั่งคำขวัญของโกดักที่ว่า “คุณกดปุ่ม เราทำที่เหลือ”
จวบจนปัจจุบันที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ผลิตกล้องออกมามากมายไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิทัลที่ถ่ายได้ทั้งรูปและวิดีโอ ฟีเจอร์บางตัวก็ถ่ายใต้น้ำได้ด้วย หรือจะเป็นกล้องโพลาลอยด์ที่ถ่ายปุ๊ปปริ้นท์รูปปั๊ป หรือแม้แต่กล้องฟิล์มที่ปัจจุบันเป็นที่นิยมเล่นกันมากแถมราคายังสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้คนยังนิยมถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกมากขึ้น บางคนทำเป็นอาชีพก็มีถมเถ แต่ที่แน่ๆ เลยมันเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เก็บความทรงจำของเราได้ดีทีเดียว
ดั่งคำขวัญของโกดักที่ว่า “คุณกดปุ่ม เราทำที่เหลือ”
จวบจนปัจจุบันที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ผลิตกล้องออกมามากมายไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิทัลที่ถ่ายได้ทั้งรูปและวิดีโอ ฟีเจอร์บางตัวก็ถ่ายใต้น้ำได้ด้วย หรือจะเป็นกล้องโพลาลอยด์ที่ถ่ายปุ๊ปปริ้นท์รูปปั๊ป หรือแม้แต่กล้องฟิล์มที่ปัจจุบันเป็นที่นิยมเล่นกันมากแถมราคายังสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้คนยังนิยมถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกมากขึ้น บางคนทำเป็นอาชีพก็มีถมเถ แต่ที่แน่ๆ เลยมันเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เก็บความทรงจำของเราได้ดีทีเดียว
5. เครื่องบิน / 1903

ยานพาหนะอีกชนิดหนึ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนของโลกที่ไม่กล่าวไม่ได้เลยก็คือ ‘เครื่องบิน’ หากในวันนี้ไม่มีเครื่องบินเราจะต้องเดินทางจากเชียงใหม่ไปภูเก็ตกี่ชั่วโมงกัน กว่าจะถึงก็คงหมดแรงเที่ยวแล้ว ไม่ต้องพูดถึงการเดินทางต่างประเทศข้ามน้ำข้ามทวีปเลย นอกจากจะเดินทางหลายต่อแล้ว บางประเทศอาจใช้เวลาหลายอาทิตย์เลยก็ว่าได้
แต่เพราะนั่นเป็นเรื่องสมมุติน่ะสิ! ทุกวันนี้เราโชคดีแค่ไหนแล้วที่มีเครื่องบินพาเราลัดเลาะขอบฟ้าไปเที่ยวต่างแดนได้
อย่างที่หลายๆ คนคงทราบกันดีถึงชื่อเสียงของพี่น้องตระกูลไรท์ (Wright Brothers) อย่าง ออวิลล์ ไรท์ และ วิลเบอร์ ไรท์ 2 พี่น้องที่ไม่มีใบปริญญาที่ใครๆ ต่างก็คิดว่าพวกเขาทั้งคู่ไม่น่าจะเปลี่ยนโลกได้ แต่ไฉนใบปริญญาสำคัญที่ไหนกัน ความพยายามต่างหากที่นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จได้
ทว่าพี่น้องตระกูลไรท์นั้นเป็นวิศวกรที่มีวิสัยทัศน์ที่หมกมุ่นอยู่กับการประสบความสำเร็จในสิ่งที่คนอื่น ๆ ล้มเหลวในการเป็นคนแรกที่สามารถบินด้วยเครื่องบินขับเคลื่อนได้
พวกเขาได้ลองทดสอบเครื่องร่อนอันน่าทึ่งของ ซามูเอล แลงลีย์ เลขาธิการสถาบันสมิธโซเนียน และออตโต ลิเลียนทัล วิศวกรชาวเยอรมันซึ่งเสียชีวิตจากเหตุเครื่องร่อนตกอย่างรุนแรง ทั้งนี้พี่น้องตระกูลไรท์ได้สร้างอุโมงค์ลมเพื่อทดสอบการออกแบบปีกหลายสิบแบบเพื่อเพิ่มการยกและการควบคุมให้ได้สูงสุด
แต่เพราะนั่นเป็นเรื่องสมมุติน่ะสิ! ทุกวันนี้เราโชคดีแค่ไหนแล้วที่มีเครื่องบินพาเราลัดเลาะขอบฟ้าไปเที่ยวต่างแดนได้
อย่างที่หลายๆ คนคงทราบกันดีถึงชื่อเสียงของพี่น้องตระกูลไรท์ (Wright Brothers) อย่าง ออวิลล์ ไรท์ และ วิลเบอร์ ไรท์ 2 พี่น้องที่ไม่มีใบปริญญาที่ใครๆ ต่างก็คิดว่าพวกเขาทั้งคู่ไม่น่าจะเปลี่ยนโลกได้ แต่ไฉนใบปริญญาสำคัญที่ไหนกัน ความพยายามต่างหากที่นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จได้
ทว่าพี่น้องตระกูลไรท์นั้นเป็นวิศวกรที่มีวิสัยทัศน์ที่หมกมุ่นอยู่กับการประสบความสำเร็จในสิ่งที่คนอื่น ๆ ล้มเหลวในการเป็นคนแรกที่สามารถบินด้วยเครื่องบินขับเคลื่อนได้
พวกเขาได้ลองทดสอบเครื่องร่อนอันน่าทึ่งของ ซามูเอล แลงลีย์ เลขาธิการสถาบันสมิธโซเนียน และออตโต ลิเลียนทัล วิศวกรชาวเยอรมันซึ่งเสียชีวิตจากเหตุเครื่องร่อนตกอย่างรุนแรง ทั้งนี้พี่น้องตระกูลไรท์ได้สร้างอุโมงค์ลมเพื่อทดสอบการออกแบบปีกหลายสิบแบบเพื่อเพิ่มการยกและการควบคุมให้ได้สูงสุด

ต่อจากนั้น พวกเขาก็สร้างต้นแบบเครื่องร่อนขนาดใหญ่และส่งไปยังเนินทรายชายฝั่งของคิตตี ฮอว์ก รัฐนอร์ทแคโรไลนา ซึ่งเป็นที่ตั้งของลมที่พัดแรงที่สุดในสหรัฐฯ และใช้เวลาถึง 2 ปีที่พวกเขาสร้างและทดสอบ (และบางครั้งก็พัง) จนในที่สุดก็เกิดเครื่องร่อนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังสามารถบรรทุกเครื่องยนต์ที่มีกำลังมากพอที่จะหมุนใบพัดไม้ขนาดใหญ่ 2 ใบได้
ในเช้าวันที่ 17 ธันวาคม 1903 ออร์วิลล์ได้นอนคว่ำหน้าข้างเครื่องยนต์สปัตเตอริง ขณะที่ใบพัดเพิ่มความเร็ว เครื่องบินก็กลิ้งลงไป 45 ฟุตในเส้นทางสั้นๆ และมันก็สำเร็จแล้ว เมื่อออร์วิลล์และเครื่องบินของเขาลอยอยู่ในอากาศราว 12 วินาที จากนั้นเขาก็นำเครื่องบินลงจอดอย่างสง่างามซึ่งห่างจากจุดเริ่มบินเพียง 120 ฟุต
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเครื่องบินในวันนั้นของสองพี่น้องเปลี่ยนโลกยังไง ‘มันเปลี่ยนโลกจริงๆ!’ เพราะเกือบทุกสถานที่บนโลกสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินทางทางอากาศ โลกใบใหญ่ของเราหดเล็กลงกลายเป็นชุมชนของมนุษย์ที่สามารถแบ่งปันวัฒนธรรม ความคิด และอื่นๆ อีกมากมาย
นอกเหนือจากการเดินทางแล้ว ยังกลายเป็นอีกหนึ่งยานพาหนะที่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าและผู้คนทั่วโลก อีกทั้งยังใช้สำหรับปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยทางอากาศในการค้นหาผู้รอดชีวิต ไม่ว่านักปีนเขาจะหลงทางบนภูเขาหรือเครื่องบินตกก็ตาม ซึ่งการค้นหาผู้สูญหายทำได้เร็วกว่าการใช้ทีมค้นหาภาคพื้นดินเพียงอย่างเดียว
ในเช้าวันที่ 17 ธันวาคม 1903 ออร์วิลล์ได้นอนคว่ำหน้าข้างเครื่องยนต์สปัตเตอริง ขณะที่ใบพัดเพิ่มความเร็ว เครื่องบินก็กลิ้งลงไป 45 ฟุตในเส้นทางสั้นๆ และมันก็สำเร็จแล้ว เมื่อออร์วิลล์และเครื่องบินของเขาลอยอยู่ในอากาศราว 12 วินาที จากนั้นเขาก็นำเครื่องบินลงจอดอย่างสง่างามซึ่งห่างจากจุดเริ่มบินเพียง 120 ฟุต
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเครื่องบินในวันนั้นของสองพี่น้องเปลี่ยนโลกยังไง ‘มันเปลี่ยนโลกจริงๆ!’ เพราะเกือบทุกสถานที่บนโลกสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินทางทางอากาศ โลกใบใหญ่ของเราหดเล็กลงกลายเป็นชุมชนของมนุษย์ที่สามารถแบ่งปันวัฒนธรรม ความคิด และอื่นๆ อีกมากมาย
นอกเหนือจากการเดินทางแล้ว ยังกลายเป็นอีกหนึ่งยานพาหนะที่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าและผู้คนทั่วโลก อีกทั้งยังใช้สำหรับปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยทางอากาศในการค้นหาผู้รอดชีวิต ไม่ว่านักปีนเขาจะหลงทางบนภูเขาหรือเครื่องบินตกก็ตาม ซึ่งการค้นหาผู้สูญหายทำได้เร็วกว่าการใช้ทีมค้นหาภาคพื้นดินเพียงอย่างเดียว

และหากย้อนกลับไปในสงครามโลกครั้งที่ 1-2 เครื่องบินก็มีส่วนสำคัญในการตัดสินว่าใครจะเป็นผู้ชนะ เนื่องจากฝ่ายใดที่มีเทคโนโลยีใหม่กว่าย่อมประสบความสำเร็จในการสอดแนม ยิงปืน หรือส่งทหารพลร่ม แม้กระทั่งในปัจจุบันเครื่องบินรบยังกลายเป็นหนึ่งในคลังแสงที่มหาอำนาจแสดงแสนยานุภาพใส่กันด้วยไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ จีน ไต้หวัน รัสเซีย ยูเครน เป็นต้น
