ประเทศไทย ‘ไม่เจริญ’ จริงเหรอ?

19 พ.ค. 2566 - 10:25

  • ย้อนกลับไปในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดในด้านการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ โดยเปลี่ยนจากประเทศที่มีรายได้น้อย ไปสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงในช่วงเวลาไม่ถึงชั่วอายุคน

Is-Thailand-a-developing-country-SPACEBAR-Hero
เมื่อถามถึงความเจริญของประเทศไทย ชาวไทยหลายๆ คนต้องมีหัวเสียและเริ่มก่นด่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ‘ไทย’ ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ใกล้เคียงกับความเจริญมากๆ แถมเป็นประเทศตัวอย่างของการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จด้วยนะ!  

ย้อนกลับไปในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดในด้านการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ โดยเปลี่ยนจากประเทศที่มีรายได้น้อย ไปสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงในช่วงเวลาไม่ถึงชั่วอายุคน  

ด้วยเหตุนี้ ‘ประเทศไทย’ จึงได้รับการกล่าวขานถึงความสำเร็จในการพัฒนาอย่างกว้างขวาง โดยมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนและการลดความยากจนได้อย่างน่าประทับใจ 

World Bank ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตในอัตราเฉลี่ยปีละ 7.5% ในปีที่เฟื่องฟูระหว่างปี 1960 – 1996 และ 5% ในช่วงปี 1999 – 2005 หลังวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย การเติบโตนี้สร้างงานหลายล้านตำแหน่ง ซึ่งช่วยดึงผู้คนหลายล้านคนให้พ้นจากความยากจน การได้รับสวัสดิการในหลายๆ มิติ เด็กจำนวนมากขึ้นได้รับการศึกษา และตอนนี้แทบทุกคนได้รับการคุ้มครองโดยประกันสุขภาพ ขณะที่ประกันสังคมรูปแบบอื่นๆ ได้ขยายออกไป 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตจากโมเดลที่เน้นการส่งออก ซึ่งเป็นเมนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเริ่มชะงัก เนื่องจากการผลิตที่ซบเซา การเติบโตเฉลี่ยของผลผลิตหยุดนิ่ง จากเดิมอยู่ที่ 3.6% ในช่วงปี 2000 เหลือเพียง 1.3% ในช่วงปี 2009 – 2017
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/Jimvc6caCXVEw4zyg8zNZ/54555be1e012f460c0f12a4637eac487/Is-Thailand-a-developing-country-SPACEBAR-Photo01
Photo: Jack TAYLOR / AFP
นอกจากนี้ การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้ความท้าทายเชิงโครงสร้างซ้ำเติมเข้าไปอีก จากการสำรวจในเดือนเมษายน - มิถุนายน ปี 2021 กว่า 70% ของครัวเรือนประสบปัญหารายได้ลดลงตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 โดยกลุ่มเปราะบางเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด 

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาไม่กี่แห่งที่ประสบความสำเร็จในระบบสุขภาพถ้วนหน้า ในปี 2016 ประเทศกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ยุติการแพร่เชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก โครงสร้างพื้นฐานด้านการดูแลสุขภาพมีความมั่นคง ที่แม้แต่สหรัฐฯ เองก็ยังไม่มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHS)  

ในทางสังคม ไทยเองก็ต้อนรับผู้อพยพในระดับสูง โดยประเทศไทยมีจำนวนผู้อพยพสุทธิมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และชาว LGBTQ เองก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม ในด้านการศึกษา ประเทศไทยยังตามหลังหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่เชี่ยวชาญของคนไทยมีจำกัด 

และเหลือเชื่อว่า ‘กรุงเทพฯ’ เมืองหลวงของไทย ซึ่งแม้ว่าจะคิดว่าเป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในประเทศ ได้กลายเป็นต้นแบบ ‘เมืองสีเขียว’ สำหรับประเทศกำลังพัฒนาแล้ว หลังจากใช้ความพยายามและความมุ่งมั่นร่วมกันเป็นเวลาหลายปี ปัจจุบัน เมืองนี้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีมลพิษน้อยที่สุดในบรรดาเมืองใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนา ที่น่าประหลาดใจจริงๆ ก็คือ กรุงเทพฯ มีประสิทธิภาพดีกว่าซานฟรานซิสโก เมลเบิร์น ปารีส และเบอร์ลิน ในแง่ของคุณภาพอากาศ 

ดังนั้น แม้ว่าคนไทยอาจไม่รู้ตัว แต่คุณภาพชีวิตของพวกเขากลับเข้าใกล้ระดับเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม การศึกษายังคงเป็นประเด็นหลักที่ต้องได้รับการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยเรายังต้องการผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์