ย้อนตำนาน ‘ห้ามเต้น’ ของญี่ปุ่น จุดจบชาวเท้าไฟ แม้สุดท้ายจะแพ้อำนาจเงิน

24 มี.ค. 2566 - 07:58

  • กฎหมายห้ามเต้นนี้เรียกว่า Fueiho ในภาษาญี่ปุ่น ทำให้อุตสาหกรรมดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่เฟื่องฟูของประเทศต้องหยุดชะงักลงอย่างร้ายแรง

  • การห้ามเต้นรำนี้ เป็นเหมือนร่องรอยอารยธรรมที่ยังหลงเหลืออยู่จากปี 1948 ที่ยังมี ‘การค้าประเวณี’ ตำรวจเริ่มบังคับใช้กฎหมายหลังจากที่มีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้นในสถานบันเทิงยามค่ำคืน รวมทั้งการเสียชีวิตของนักเรียนนอกคลับในโอซาก้าในปี 2010

  • ความวิตกกังวลเกี่ยวกับ ‘ศีลธรรมที่เสื่อมทราม’ ของเยาวชนญี่ปุ่น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากรายงานที่สร้างความหวาดกลัวในสื่อต่างๆ ทำให้เกิดการปราบปรามสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่กระจายวงกว้างขึ้น

Japan-Lifts-Its-Notorious-No-Dancing-Law-SPACEBAR-Thumbnail
ย้อนกลับไปในช่วงปี 2010 – 2014 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้มนต์สะกดแปลกๆ ตั้งแต่โตเกียวไปจนถึงเกียวโต การเต้นรำในคลับและบาร์ หรือสถานที่สาธารณะใดๆ เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายโดยเด็ดขาด มีเพียงไม่กี่แห่งที่โชคดีพอที่จะได้รับใบอนุญาตให้สามารถเต้นรำเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อได้ และถึงอย่างนั้นผับบาร์เหล่านั้นก็ต้องปิดภายในเวลาเที่ยงคืนหรือตี 1 ผู้ใดที่กล้าฝ่าฝืนกฎด้วยการเต้น จะได้สัมผัสประสบการณ์ถูกเจ้าหน้าที่ดุด่า หรือแย่กว่านั้นก็คือถูกตำรวจลากออกจากร้านไปเลย  

กฎหมายห้ามเต้นนี้เรียกว่า Fueiho (ฟูเอโฮ) ในภาษาญี่ปุ่น ทำให้อุตสาหกรรมดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่เฟื่องฟูของประเทศต้องหยุดชะงักลงอย่างร้ายแรง ธุรกิจต่างๆ ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากเจ้าของคลับถูกกดดันให้ถอดฟลอร์เต้นรำออกทั้งหมด เพื่อมิให้พวกเขาถูกตั้งข้อหาในความผิดฐานทำให้ผู้คนออกมาเต้นรำ 

แน่นอนว่าความพิลึกนี้มันก็ได้สิ้นสุดลงเมื่อคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นเห็นพ้องที่จะยกเลิกการห้ามการเต้นรำ อย่างไรก็ตาม การอนุมัติขั้นสุดท้ายนี้ คาดว่าจะไม่ถูกต่อต้านแน่นอน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่โอลิมปิกโตเกียวในปี 2020 ที่จะนำมาซึ่งคลื่นของนักท่องราตรีต่างชาติที่จะมาจับกลุ่มย่านสถานบันเทิงยามค่ำคืนของโตเกียว และชิบูย่าอย่างแน่นอน ซึ่งนี่อาจจะเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจของรัฐบาลญี่ปุ่น 

แม้ว่ากฎหลักๆ จะเปลี่ยนไป แต่ก็ยังไม่วายมีกฎเล็กกฏน้อยแต่ก็สำคัญ นั่นก็คือแสงไฟในคลับที่จะต้องสว่างกว่า 10 ลักซ์ (เทียบเท่ากับแสงเทียนราว 10 เล่ม หรือระดับแสงเหมือนตอนอยู่ในโรงหนังที่กำลังจะเริ่มฉาย) ซึ่งกฏเหล่านี้จะช่วยป้องกันอาชญากรรมและพฤติกรรมที่ส่อเสียดได้  

การห้ามเต้นรำนี้ เป็นเหมือนร่องรอยอารยธรรมที่ยังหลงเหลืออยู่จากปี 1948 ที่ยังมี ‘การค้าประเวณี’ ตำรวจเริ่มบังคับใช้กฎหมายหลังจากที่มีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้นในสถานบันเทิงยามค่ำคืน รวมทั้งการเสียชีวิตของนักเรียนนอกคลับในโอซาก้าในปี 2010 ความวิตกกังวลเกี่ยวกับ ‘ศีลธรรมที่เสื่อมทราม’ ของเยาวชนญี่ปุ่น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากรายงานที่สร้างความหวาดกลัวในสื่อต่างๆ ทำให้เกิดการปราบปรามสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่กระจายวงกว้างขึ้น 

วิดีโอที่สร้างขึ้นเพื่อคัดค้านต่อกฎหมายห้ามเต้นโดยแร็ปเปอร์ชาวญี่ปุ่น ‘Shing02’ 

การเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกกฎหมายดังกล่าวเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานและยืดเยื้อ ซึ่งนำโดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่มีชื่อเสียงหลายกลุ่มในญี่ปุ่น ในเดือนพฤษภาคมของปี 2013 หลายคนต่อสู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหานี้ผ่านวิดีโอ เทศกาล สารคดี และงานปาร์ตี้ นอกจากนี้ยังมีนักกฎหมายกลุ่มหนึ่งเข้าร่วมการต่อสู้ด้วย  

ท้ายที่สุด คนรักดนตรีแดนซ์ นักเที่ยวคลับ เจ้าของธุรกิจ และศิลปินหลายแสนคนสามารถหายใจได้อย่างสบายใจ ความพยายามอย่างไม่ลดละของพวกเขาในที่สุดก็เห็นผล ทั้งตำรวจและรัฐบาลญี่ปุ่นไม่สามารถปฏิเสธกลยุทธ์ที่ได้ผลที่สุดซึ่งก็คือ ‘เงิน’

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์