สำนักข่าว NextShark รายงานว่า นักวิจัยในญี่ปุ่นสร้างภาพจำลอง 3 มิติของผู้หญิงที่เกิดเมื่อ 1,600 ปีก่อนขึ้นใหม่ด้วยระบบดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยี DNA และคอมพิวเตอร์กราฟิกขั้นสูง
ทีมวิจัยจากสถาบันวิจัย 7 แห่งร่วมกับคณะกรรมการการศึกษาของเมืองโยเนซาวะได้เผยแพร่ภาพถ่ายและวิดีโอของแบบจำลองที่สร้างขึ้นใหม่ซึ่งมีชื่อว่า ‘ฮิมิโกะแห่งโอกิตามะ’ เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ภาพฮิมิโกะมีดวงตาที่หย่อนคล้อย จมูกแบน และผมตรงสีดำ โดยภาพดังกล่าวเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์นิวเคลียส DNA และการสร้างใบหน้าใหม่ทางนิติวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ มีรายงานว่า สีผิวและเส้นผมของผู้หญิงถูกกำหนดขึ้นจากข้อมูลทางพันธุกรรมที่ได้มาจากซากโครงกระดูกของเธอที่ขุดขึ้นมาในปี 1982 ส่วนดวงตาที่หย่อนคล้อย หรือหนังตาตกนั้นขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นผิวหนังของเธอ
ในส่วนของกระดูกนั้นถูกดึงออกมาจากโลงศพหินที่พบในหลุมฝังศพโทซึกะยามะหมายเลข 137 ซึ่งเป็นหนึ่งใน 200 หลุมที่ตั้งอยู่ในเชิงเขาโทซึกะยามะ ในเขตอะซากาวะ เมืองโยเนซาวะ โดยในโลงศพของฮิมิโกะยังพบหวีซี่ยาวและมีดขนาดเล็กอยู่ด้วย
จากการศึกษาที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเอกชน Dokkyo Medical University เปิดเผยว่า ผู้หญิงคนนี้สูงประมาณ 143 ถึง 145 เซนติเมตร และคาดว่าเสียชีวิตเมื่ออายุประมาณ 40 ปี ต่อมาในปี 2017 มีการขุดแยกที่สุสานฝังศพไฮซึกายามะ เมืองคิตะกะตะ ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเอกชน Tohoku Gakuin University และนำไปสู่การค้นพบซากโครงกระดูกของชายอายุ 50 ปี
ทีมวิจัยได้จัดประชุมสัมมนาในเมืองโยเนซาวะเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่ออธิบายกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับโปรเจกต์สร้างภาพของฮิมิโกะ
สำนักข่าว The Asahi Shimbun รายงานว่า โปรเจกต์นี้เริ่มขึ้นหลังจากนำตัวอย่างนิวเคลียส DNA จากฟันของเธอไปเปรียบเทียบกับซากศพของชายผู้นี้้ และนำไปสู่ข้อสรุปว่าข้อมูลทางพันธุกรรมของเธอนั้นถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีประมาณ 96-97%
ฮิเดโตะ หัวหน้าโปรเจกต์จากมหาวิทยาลัยเอกชน Tohoku Gakuin University กล่าวว่า “ข้อมูลทั้งหมดของ DNA ที่พวกเขาได้รับจากซากศพนั้นแทบจะไม่พบในกระดูกมนุษย์เก่า”
ในปี 2021 ยูกะ ฮาตาโนะ และ โทชิฮิโกะ ซูซึกิ จาก Tohoku University เริ่มศึกษาซากศพของผู้หญิงและสร้างใบหน้าของเธอขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้มอบหมายให้พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์แห่งชาติในโตเกียวทำการวิเคราะห์นิวเคลียส DNA อีกด้วย
สำหรับผลการวิเคราะห์ของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์แห่งชาติระบุว่า เธอมีผมตรงสีดำ มีผิวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมดำ และดวงตามีทั้งสีดำและน้ำตาลปนกัน อย่างไรก็ดี มีบางส่วนของกะโหลกศีรษะสูญสลายไปแล้ว รวมถึงกระดูกส่วนของจมูกและบางส่วนของกะโหลกซีกขวา นอกจากนี้ นักวิจัยก็ยังสามารถจินตนาการได้ว่า หญิงโบราณนั้นกัดฟันอย่างไร ซึ่งอาจให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินของเธอ
ฮาตาโนะ กล่าวว่า “ฟันของเธอสึกและมีสัญญาณของความผิดปกติของข้อต่อขมับและขากรรไกร ซึ่งอาการดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นผลจากลักษณะการเคี้ยวและพฤติกรรมอื่นๆ ของเธอ รวมทั้งกรามของเธอก็บิดเบี้ยวไปทางซ้ายเล็กน้อยเช่นกัน”
ทั้งนี้ นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า แม้พวกเขาจะคิดว่าฮิมิโกะอาจมีต้นกำเนิดมาจากผู้คนในยุควัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผายาโยอิ (1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ค.ศ. 250) แต่เธอก็มีลักษณะเหมือนกับผู้คนในยุควัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาโจมองด้วยเช่นเดียวกัน (ราว 1,4500 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ค.ศ.1,000)
ทีมวิจัยจากสถาบันวิจัย 7 แห่งร่วมกับคณะกรรมการการศึกษาของเมืองโยเนซาวะได้เผยแพร่ภาพถ่ายและวิดีโอของแบบจำลองที่สร้างขึ้นใหม่ซึ่งมีชื่อว่า ‘ฮิมิโกะแห่งโอกิตามะ’ เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ภาพฮิมิโกะมีดวงตาที่หย่อนคล้อย จมูกแบน และผมตรงสีดำ โดยภาพดังกล่าวเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์นิวเคลียส DNA และการสร้างใบหน้าใหม่ทางนิติวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ มีรายงานว่า สีผิวและเส้นผมของผู้หญิงถูกกำหนดขึ้นจากข้อมูลทางพันธุกรรมที่ได้มาจากซากโครงกระดูกของเธอที่ขุดขึ้นมาในปี 1982 ส่วนดวงตาที่หย่อนคล้อย หรือหนังตาตกนั้นขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นผิวหนังของเธอ
ในส่วนของกระดูกนั้นถูกดึงออกมาจากโลงศพหินที่พบในหลุมฝังศพโทซึกะยามะหมายเลข 137 ซึ่งเป็นหนึ่งใน 200 หลุมที่ตั้งอยู่ในเชิงเขาโทซึกะยามะ ในเขตอะซากาวะ เมืองโยเนซาวะ โดยในโลงศพของฮิมิโกะยังพบหวีซี่ยาวและมีดขนาดเล็กอยู่ด้วย
จากการศึกษาที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเอกชน Dokkyo Medical University เปิดเผยว่า ผู้หญิงคนนี้สูงประมาณ 143 ถึง 145 เซนติเมตร และคาดว่าเสียชีวิตเมื่ออายุประมาณ 40 ปี ต่อมาในปี 2017 มีการขุดแยกที่สุสานฝังศพไฮซึกายามะ เมืองคิตะกะตะ ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเอกชน Tohoku Gakuin University และนำไปสู่การค้นพบซากโครงกระดูกของชายอายุ 50 ปี
ทีมวิจัยได้จัดประชุมสัมมนาในเมืองโยเนซาวะเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่ออธิบายกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับโปรเจกต์สร้างภาพของฮิมิโกะ
สำนักข่าว The Asahi Shimbun รายงานว่า โปรเจกต์นี้เริ่มขึ้นหลังจากนำตัวอย่างนิวเคลียส DNA จากฟันของเธอไปเปรียบเทียบกับซากศพของชายผู้นี้้ และนำไปสู่ข้อสรุปว่าข้อมูลทางพันธุกรรมของเธอนั้นถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีประมาณ 96-97%
ฮิเดโตะ หัวหน้าโปรเจกต์จากมหาวิทยาลัยเอกชน Tohoku Gakuin University กล่าวว่า “ข้อมูลทั้งหมดของ DNA ที่พวกเขาได้รับจากซากศพนั้นแทบจะไม่พบในกระดูกมนุษย์เก่า”
ในปี 2021 ยูกะ ฮาตาโนะ และ โทชิฮิโกะ ซูซึกิ จาก Tohoku University เริ่มศึกษาซากศพของผู้หญิงและสร้างใบหน้าของเธอขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้มอบหมายให้พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์แห่งชาติในโตเกียวทำการวิเคราะห์นิวเคลียส DNA อีกด้วย
สำหรับผลการวิเคราะห์ของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์แห่งชาติระบุว่า เธอมีผมตรงสีดำ มีผิวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมดำ และดวงตามีทั้งสีดำและน้ำตาลปนกัน อย่างไรก็ดี มีบางส่วนของกะโหลกศีรษะสูญสลายไปแล้ว รวมถึงกระดูกส่วนของจมูกและบางส่วนของกะโหลกซีกขวา นอกจากนี้ นักวิจัยก็ยังสามารถจินตนาการได้ว่า หญิงโบราณนั้นกัดฟันอย่างไร ซึ่งอาจให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินของเธอ
ฮาตาโนะ กล่าวว่า “ฟันของเธอสึกและมีสัญญาณของความผิดปกติของข้อต่อขมับและขากรรไกร ซึ่งอาการดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นผลจากลักษณะการเคี้ยวและพฤติกรรมอื่นๆ ของเธอ รวมทั้งกรามของเธอก็บิดเบี้ยวไปทางซ้ายเล็กน้อยเช่นกัน”
ทั้งนี้ นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า แม้พวกเขาจะคิดว่าฮิมิโกะอาจมีต้นกำเนิดมาจากผู้คนในยุควัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผายาโยอิ (1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ค.ศ. 250) แต่เธอก็มีลักษณะเหมือนกับผู้คนในยุควัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาโจมองด้วยเช่นเดียวกัน (ราว 1,4500 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ค.ศ.1,000)