ญี่ปุ่นได้เพิ่มตู้ขายของอัตโนมัติขนาดใหญ่ และหลากหลายไปด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ที่วางขายอย่าง ‘เนื้อหมีสด’ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นที่นิยม แต่มันดันเป็นที่นิยมซะอย่างนั้น!
ตู้ขายเนื้อหมีดังกล่าว ตั้งอยู่ในจังหวัดอากิตะ ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ได้ดึงดูดลูกค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มติดตั้งเมื่อปลายปีที่แล้ว เนื้อหมีซึ่งจะขายในราคา 2,200 เยน หรือราวๆ 560 บาท ต่อเนื้อ 250 กรัม เป็นที่นิยมสำหรับผู้โดยสารที่ต้องลงรถในสถานีรถไฟในเมืองเซมโบกุ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังได้รับคำสั่งซื้อให้ส่งเนื้อไปทางไปรษณีย์จากโตเกียว ซึ่งมีระยะทางราว 400 กม.
หนังสือพิมพ์ไมนิจิ ชิมบุน รายงานว่า ตู้ขายของอัตโนมัติดังกล่าว มีการโฆษณาว่า เนื้อหมีนี้เป็นสินค้าพิเศษประจำภูมิภาค ซึ่งจะเป็นเนื้อหมีที่ไม่ติดมัน และไม่มีไขมัน ในรายงานยังระบุด้วยว่า เนื้อหมีดังกล่าวมาจากหมีที่จับได้บนภูเขา โดยสมาชิกของชมรมล่าสัตว์ท้องถิ่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้สามารถฆ่าสัตว์ได้จำนวนหนึ่ง ในช่วงฤดูล่าสัตว์ประจำปี
ตู้จำหน่ายสินค้าปรากฏขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ภายหลังจากที่ร้าน โซบะโกโระ ซึ่งเป็นร้านอาหารท้องถิ่นได้มองเห็นโอกาสที่จะใช้เห็ดเป็นเมนูหลักสำหรับอาหารท้องถิ่นเพื่อแนะนำนักท่องเที่ยว
ขณะที่การบริโภคเนื้อหมีพุ่งสูงที่สุดในภาคเหนือของญี่ปุ่น โดยขายเป็นกระป๋องและแกงกะหรี่สำเร็จรูป มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย ซึ่งบางคนเปรียบเทียบกับเนื้อกวางและมักเสิร์ฟในสตูว์
ตู้ขายของอัตโนมัติที่มีอยู่ทั่วไปในญี่ปุ่นขายอาหารมากมาย ตั้งแต่อาหารหลัก เช่น เครื่องดื่มร้อนและเย็น ไปจนถึงแมลงที่กินได้และแฮมเบอร์เกอร์
ตู้ขายเนื้อหมีดังกล่าว ตั้งอยู่ในจังหวัดอากิตะ ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ได้ดึงดูดลูกค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มติดตั้งเมื่อปลายปีที่แล้ว เนื้อหมีซึ่งจะขายในราคา 2,200 เยน หรือราวๆ 560 บาท ต่อเนื้อ 250 กรัม เป็นที่นิยมสำหรับผู้โดยสารที่ต้องลงรถในสถานีรถไฟในเมืองเซมโบกุ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังได้รับคำสั่งซื้อให้ส่งเนื้อไปทางไปรษณีย์จากโตเกียว ซึ่งมีระยะทางราว 400 กม.
หนังสือพิมพ์ไมนิจิ ชิมบุน รายงานว่า ตู้ขายของอัตโนมัติดังกล่าว มีการโฆษณาว่า เนื้อหมีนี้เป็นสินค้าพิเศษประจำภูมิภาค ซึ่งจะเป็นเนื้อหมีที่ไม่ติดมัน และไม่มีไขมัน ในรายงานยังระบุด้วยว่า เนื้อหมีดังกล่าวมาจากหมีที่จับได้บนภูเขา โดยสมาชิกของชมรมล่าสัตว์ท้องถิ่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้สามารถฆ่าสัตว์ได้จำนวนหนึ่ง ในช่วงฤดูล่าสัตว์ประจำปี
ตู้จำหน่ายสินค้าปรากฏขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ภายหลังจากที่ร้าน โซบะโกโระ ซึ่งเป็นร้านอาหารท้องถิ่นได้มองเห็นโอกาสที่จะใช้เห็ดเป็นเมนูหลักสำหรับอาหารท้องถิ่นเพื่อแนะนำนักท่องเที่ยว
ขณะที่การบริโภคเนื้อหมีพุ่งสูงที่สุดในภาคเหนือของญี่ปุ่น โดยขายเป็นกระป๋องและแกงกะหรี่สำเร็จรูป มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย ซึ่งบางคนเปรียบเทียบกับเนื้อกวางและมักเสิร์ฟในสตูว์
ตู้ขายของอัตโนมัติที่มีอยู่ทั่วไปในญี่ปุ่นขายอาหารมากมาย ตั้งแต่อาหารหลัก เช่น เครื่องดื่มร้อนและเย็น ไปจนถึงแมลงที่กินได้และแฮมเบอร์เกอร์

จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตระบบหยอดเหรียญของญี่ปุ่น จำนวนตู้ขายของอัตโนมัติมีจำนวนสูงสุดที่ 5.6 ล้านเครื่องในปี 2000 หรือ 1 เครื่องต่อ 23 คน ซึ่งลดลงเหลือเพียง 4 ล้านเครื่องภายในปี 2020 แต่ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่มีเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติต่อหัวจำนวนมากที่สุดในโลก
ขณะที่ Kyodo Senpaku บริษัทล่าวาฬที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นเพิ่งเริ่มขายเนื้อวาฬจากตู้ขายอัตโนมัติเพื่อพยายามกระตุ้นการบริโภค ซึ่งบริษัทวางแผนที่จะติดตั้งใน 100 แห่งทั่วประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า
กระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น ระบุว่า การสัมผัสของมนุษย์กับหมีในญี่ปุ่นไม่ได้จำกัดอยู่แค่บนโต๊ะอาหารเท่านั้น จำนวนการเผชิญหน้าหมีเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากประมาณ 4,800 ตัวในปี 2009 เป็นมากกว่า 20,000 ตัวในปี 2020 ขณะที่มีผู้เสียชีวิต 2 รายและบาดเจ็บ 158 ราย
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การขาดแคลนลูกโอ๊กที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติหมายความว่าสัตว์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะสัมผัสกับมนุษย์มากขึ้นเมื่อพวกมันหาอาหาร ประมาณ 40% ของการเผชิญหน้าในปี 2020 เกิดขึ้นในเขตที่อยู่อาศัยและเขตเมือง หรือในพื้นที่เกษตรกรรม
ในการโจมตีของหมีที่อันตรายที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งเรียกโดยรวมว่าเหตุการณ์ ‘ซังเคเบตสึ’ หมีสีน้ำตาลขนาด 8.85 ฟุต (ราว 2.7 เมตร) และมีน้ำหนักกว่า 300 กิโลกรัม ได้สังหารชาวบ้าน 7 รายและบาดเจ็บอีก 3 ราย บนเกาะหลักทางตอนเหนือของเกาะฮอกไกโดในปี 1915 ซึ่งท้ายที่สุดแล้วหมีถูกติดตามและถูกยิงตายโดยนักล่า
ขณะที่ Kyodo Senpaku บริษัทล่าวาฬที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นเพิ่งเริ่มขายเนื้อวาฬจากตู้ขายอัตโนมัติเพื่อพยายามกระตุ้นการบริโภค ซึ่งบริษัทวางแผนที่จะติดตั้งใน 100 แห่งทั่วประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า
กระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น ระบุว่า การสัมผัสของมนุษย์กับหมีในญี่ปุ่นไม่ได้จำกัดอยู่แค่บนโต๊ะอาหารเท่านั้น จำนวนการเผชิญหน้าหมีเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากประมาณ 4,800 ตัวในปี 2009 เป็นมากกว่า 20,000 ตัวในปี 2020 ขณะที่มีผู้เสียชีวิต 2 รายและบาดเจ็บ 158 ราย
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การขาดแคลนลูกโอ๊กที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติหมายความว่าสัตว์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะสัมผัสกับมนุษย์มากขึ้นเมื่อพวกมันหาอาหาร ประมาณ 40% ของการเผชิญหน้าในปี 2020 เกิดขึ้นในเขตที่อยู่อาศัยและเขตเมือง หรือในพื้นที่เกษตรกรรม
ในการโจมตีของหมีที่อันตรายที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งเรียกโดยรวมว่าเหตุการณ์ ‘ซังเคเบตสึ’ หมีสีน้ำตาลขนาด 8.85 ฟุต (ราว 2.7 เมตร) และมีน้ำหนักกว่า 300 กิโลกรัม ได้สังหารชาวบ้าน 7 รายและบาดเจ็บอีก 3 ราย บนเกาะหลักทางตอนเหนือของเกาะฮอกไกโดในปี 1915 ซึ่งท้ายที่สุดแล้วหมีถูกติดตามและถูกยิงตายโดยนักล่า