หรือจะเป็นแบบ ‘The Last of Us’ พบชายอินเดียติดเชื้อราก่อโรคพืชรายแรกของโลก!

30 มีนาคม 2566 - 10:04

Killer-plant-fungus-Chondrostereum-purpureum-infects-man-in-India-world-first-case-SPACEBAR-Thumbnail
  • จากรายงานการแพทย์ระบุว่าพบผู้ป่วยรายแรกของโลกเป็นชายในอินเดียวัย 61 ปีเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในนครโกลกาตา โดยมีอาการไอ อ่อนเพลีย กลืนลำบาก และเสียงแหบเป็นเวลา 3 เดือน

  • ในเบื้องต้นพบว่าเขาเป็นผู้ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อราและเห็ด นั่นหมายความว่า เขาต้องอยู่กับเห็ดและราตลอดเวลานั่นเอง

เมื่อการติดเชื้อจากพืชเพชฌฆาตอย่างในซีรีย์ ‘The Last of Us’ กำลังกลายเป็นเรื่องจริงแล้ว หลังพบการติดเชื้อในมนุษย์จากเชื้อราที่ก่อโรคเฉพาะของต้นไม้และทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัด ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าเป็นกรณีแรกของโลก 
 
‘Chondrostereum purpureum หรือเห็ดรา’ ก่อให้เกิดโรคใบเงินในพืช โดยพบมากที่สุดในสายพันธุ์กุหลาบ แต่ไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อในมนุษย์ด้วย 
 
จนกระทั่งแพทย์ในอินเดียรายงานว่าพวกเขาพบผู้ป่วยรายแรกของโลกที่ติดเชื้อรานี้แล้วเป็นชายวัย 61 ปีซึ่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล Consultant Apollo Multispecialty นครโกลกาตา โดยมีอาการไอ อ่อนเพลีย กลืนลำบาก และเสียงแหบเป็นเวลา 3 เดือน ในเบื้องต้นพบว่าเขาเป็นผู้ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อราและเห็ด นั่นหมายความว่า เขาต้องอยู่กับเห็ดและราตลอดเวลานั่นเอง 
 
จากผลสแกนที่โรงพยาบาลเผยให้เห็นว่าการติดเชื้อทำให้เกิดฝีในหลอดลมที่คอของชายคนนั้น ซึ่งอุดกั้นทางเดินหายใจบางส่วน ทั้งนี้ แพทย์ได้ระบายหนองออกและชายคนนั้นก็ได้รับยาต้านเชื้อราทุกวันเป็นเวลา 2 เดือน และ 2 ปีต่อมาก็พบว่าชายผู้นั้นหายกลับมาเป็นปกติและไม่กลับมาติดเชื้ออีก  
 
ทว่าการเขียนรายงานกรณีศึกษาเห็ดราทางการแพทย์ในวารสารระบุว่า กรณีที่น่าแปลกใจของชายผู้นี้ทำให้เกิดคำถามร้ายแรงเกี่ยวกับความสามารถของเชื้อก่อโรคในพืชที่สามารถก่อโรคในคนและสัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรงได้ด้วย
 
“หากเชื้อราสามารถหลบหนีจากกระบวนการฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) ที่คอยตรวจจับสิ่งแปลกปลอมและสามารถหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ พวกมันก็อาจจะกลายพันธุ์เป็นเชื้อโรคในมนุษย์ได้” รายงานระบุ 

ทำไมเชื้อราสามารถติดเชื้อในคนได้? 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4x2khja4Ii1ulXl5a7hiIe/436b038faf2521b767e78ffb2b8b935e/Killer-plant-fungus-Chondrostereum-purpureum-infects-man-in-India-world-first-case-SPACEBAR-Photo01
Photo: AFP
ปัจจุบันมีเชื้อราอยู่หลายล้านสปีชีส์ และเราทราบเพียงแค่ 150,000 ชนิดเท่านั้น ซึ่งมีเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้  
 
ศาสตราจารย์เอเลน บิกเนลล์ จากสถาบันวิจัย MRC Center for Medical Mycology กล่าวกับสำนักข่าว Sky News ว่า “ชายในเคสโกลกาตาอาจมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องทางพันธุกรรมบางอย่างที่เราไม่ทราบ ผู้ป่วยรายนี้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจนสำหรับโรคเชื้อราที่เราคาดว่าจะพบ” 
 
“เราไม่สามารถแยกแยะเงื่อนไขที่ไม่รู้จักได้…เขากำลังศึกษาเชื้อราอย่างชัดเจนในสถานการณ์ทดลองหรือสถานการณ์ทางพฤกษศาสตร์ และเขาอาจได้รับสปอร์จำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง” 
 
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์บิกเนลล์ได้ย้ำว่า ‘ไม่มีเหตุให้ต้องตื่นตระหนก’ 

เราควรกังวลไหม? 

เป็นที่ทราบกันดีว่าในขณะที่โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เชื้อราทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จักอาจกลายเป็นภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่พวกมันเรียนรู้ที่จะอยู่รอดบนโลกที่ร้อนกว่า 
 
ศาสตราจารย์บิกเนลล์ กล่าวว่า นักเห็ดวิทยาพูดถึงความเป็นไปได้ของเชื้อโรคซึ่งรอที่จะแพร่เชื้อในสิ่งแวดล้อมและอาจก่อให้เกิดโรคในคนภายใต้สภาวะที่เหมาะสม 
 
เมื่อปีที่แล้ว (2022) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกให้เชื้อราจากเห็ดเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนเป็นอันดับที่ 19 นอกจากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่ามีการติดเชื้อราเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วย 

เชื้อราที่รู้จักกันดีสำหรับการติดเชื้อในมนุษย์ 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/278rbzsMsFjsD8Xn5u9tQU/697943a8681adc0e08a613a632793f4c/Killer-plant-fungus-Chondrostereum-purpureum-infects-man-in-India-world-first-case-SPACEBAR-Photo02
Photo: เชื้อรา ‘คริพโตค็อกคัส นิโอฟอร์แมนส์ (Cryptococcosis neoformans)’ Wikipedia / Dr. Graham Beards
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ทางการสหรัฐฯ เปิดเผยว่าเชื้อราชนิดนี้เป็นยีสต์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘Candida auris หรือ C. auris’ ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในสถานพยาบาล 
 
ในเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อมักจะมีผื่นที่ผิวหนัง และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อในกระแสเลือดสำหรับผู้ป่วยหนักด้วย 
 
ส่วนเชื้อราอีกชนิดหนึ่งก็คือ ‘คริพโตค็อกคัส นิโอฟอร์แมนส์ (Cryptococcosis neoformans)’ ที่หากติดเชื้อไปแล้วอาจทำให้เกิดปอดบวมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วมากกว่า 100,000 คน / ปีในแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา 
 
และสุดท้ายคือ ‘แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส (Aspergillus fumigatus)’ ซึ่งเป็นเชื้อราที่พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้านและนอกบ้าน โดยสามารถทำให้เกิดโรคปอดเรื้อรังเฉียบพลันและอาจถึงตายได้ 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์