เมื่อวันอังคาร (28 มี.ค.) ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารเปิดตัว ‘มีทบอลขนาดยักษ์’ ทำจากเนื้อแมมมอธขนปุยที่สูญพันธุ์ไปแล้วที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ โดยกล่าวว่า โปรตีนจากอดีตเป็นหนทางสำหรับอาหารในอนาคต
มีทบอลถูกจัดแสดงไว้ในโหลแก้วโดยบริษัท Vow ซึ่งเป็นบริษัทเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ในออสเตรเลีย ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ NEMO ในกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์
ทว่าเนื้อดังกล่าวยังไม่พร้อมที่จะรับประทาน เนื่องจากโปรตีนอายุหลายพันปีนี้จำเป็นต้องผ่านการทดสอบความปลอดภัยก่อนที่มนุษย์ยุคใหม่จะเข้าไปรับประทานได้
“เราเลือกเนื้อแมมมอธที่มีขนหนานุ่มเพราะเป็นสัญลักษณ์ของการสูญเสีย ซึ่งถูกกำจัดโดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ทิม โนเคสมิธ ผู้ร่วมก่อตั้ง Vow กล่าวกับ AFP พร้อมเสริมว่า เรากำลังเผชิญกับชะตากรรมเดียวกัน หากเราไม่ทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป ซึ่งรวมถึงแนวทางปฏิบัติที่เปลี่ยนไป เช่น การทำฟาร์มขนาดใหญ่และวิธีที่เรากิน
เนื้อสัตว์เหล่านี้ที่เติบโตมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ถูกเพาะเลี้ยงโดยนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ระบุลำดับ DNA ของไมโอโกลบินของแมมมอธ ซึ่งเป็นโปรตีนหลักที่ทำให้เนื้อมีรสชาติ โดยการเติมช่องว่างในไมโอโกลบินของแมมมอธ โดยใช้ยีนจากช้างแอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดที่สุดของแมมมอธ จากนั้นจึงใส่เข้าไปในเซลล์แกะโดยใช้ประจุไฟฟ้า
คริสโตเฟอร์ ไบรอันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรตีนทางเลือกจากอังกฤษบอกกับ AFP ว่า มันไม่เหมือนกับเนื้อสัตว์ทั่วไป ซึ่งมาจากสัตว์ที่สกปรกและคาดเดาไม่ได้ เนื้อเพาะเลี้ยงถูกผลิตด้วยความแม่นยำสูงสุดในโรงงานผลิตอาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อ
“ด้วยเหตุนี้ เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงจึงสามารถหลีกเลี่ยงเชื้อโรคในอาหาร ยาปฏิชีวนะ และสารปนเปื้อนอื่นๆ ที่พบได้บ่อยในเนื้อสัตว์จากสัตว์” เขาบอกกับ AFP
มีทบอลถูกจัดแสดงไว้ในโหลแก้วโดยบริษัท Vow ซึ่งเป็นบริษัทเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ในออสเตรเลีย ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ NEMO ในกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์
ทว่าเนื้อดังกล่าวยังไม่พร้อมที่จะรับประทาน เนื่องจากโปรตีนอายุหลายพันปีนี้จำเป็นต้องผ่านการทดสอบความปลอดภัยก่อนที่มนุษย์ยุคใหม่จะเข้าไปรับประทานได้
“เราเลือกเนื้อแมมมอธที่มีขนหนานุ่มเพราะเป็นสัญลักษณ์ของการสูญเสีย ซึ่งถูกกำจัดโดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ทิม โนเคสมิธ ผู้ร่วมก่อตั้ง Vow กล่าวกับ AFP พร้อมเสริมว่า เรากำลังเผชิญกับชะตากรรมเดียวกัน หากเราไม่ทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป ซึ่งรวมถึงแนวทางปฏิบัติที่เปลี่ยนไป เช่น การทำฟาร์มขนาดใหญ่และวิธีที่เรากิน
เนื้อสัตว์เหล่านี้ที่เติบโตมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ถูกเพาะเลี้ยงโดยนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ระบุลำดับ DNA ของไมโอโกลบินของแมมมอธ ซึ่งเป็นโปรตีนหลักที่ทำให้เนื้อมีรสชาติ โดยการเติมช่องว่างในไมโอโกลบินของแมมมอธ โดยใช้ยีนจากช้างแอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดที่สุดของแมมมอธ จากนั้นจึงใส่เข้าไปในเซลล์แกะโดยใช้ประจุไฟฟ้า
รสชาติเหมือนไก่?
“มันมีกลิ่นเหมือนเวลาเราปรุงเนื้อจระเข้” เจมส์ ไรอัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ของ Vow บอกกับผู้สื่อข่าวคริสโตเฟอร์ ไบรอันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรตีนทางเลือกจากอังกฤษบอกกับ AFP ว่า มันไม่เหมือนกับเนื้อสัตว์ทั่วไป ซึ่งมาจากสัตว์ที่สกปรกและคาดเดาไม่ได้ เนื้อเพาะเลี้ยงถูกผลิตด้วยความแม่นยำสูงสุดในโรงงานผลิตอาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อ
“ด้วยเหตุนี้ เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงจึงสามารถหลีกเลี่ยงเชื้อโรคในอาหาร ยาปฏิชีวนะ และสารปนเปื้อนอื่นๆ ที่พบได้บ่อยในเนื้อสัตว์จากสัตว์” เขาบอกกับ AFP