มินอ่องหล่าย ยัน! จะ ‘ปราบปราม’ ผู้เห็นต่างอย่างถึงที่สุดและ ‘เลือกตั้ง’ ในภายหลัง

28 มี.ค. 2566 - 03:41

  • หัวหน้ารัฐบาลเมียนมา ประกาศท่ามกลางรถถังและเครื่องยิงขีปนาวุธที่ขนาบอยู่รอบข้างเมื่อวันจันทร์ (27 มี.ค.) ว่า จะไม่ยอมแพ้ในการ ‘ปราบปราม’ ฝ่ายตรงข้าม และยืนยันว่ากองทัพจะจัดการเลือกตั้ง หลังจากที่เขายอมรับยังครอบครองดินแดนไม่มากพอที่จะจัดการเลือกตั้ง

  • เมียนมาตกอยู่ในความวุ่นวาย นับตั้งแต่กองทัพขับไล่รัฐบาลพลเรือนของ อองซานซูจี เมื่อ 2 ปีที่แล้ว หลังจากอ้างเหตุผลว่ามีการโกงการเลือกตั้งโดยไม่มีมูลความจริง

Myanmar-junta-chief-vows-continued-crackdown-then-elections-SPACEBAR-Hero
หัวหน้ารัฐบาลเมียนมา ประกาศท่ามกลางรถถังและเครื่องยิงขีปนาวุธที่ขนาบอยู่รอบข้างเมื่อวันจันทร์ (27 มี.ค.) ว่า จะไม่ยอมแพ้ในการ ‘ปราบปราม’ ฝ่ายตรงข้าม และยืนยันว่ากองทัพจะจัดการเลือกตั้ง หลังจากที่เขายอมรับยังครอบครองดินแดนไม่มากพอที่จะจัดการเลือกตั้ง  

เมียนมาตกอยู่ในความวุ่นวาย นับตั้งแต่กองทัพขับไล่รัฐบาลพลเรือนของ อองซานซูจี เมื่อ 2 ปีที่แล้ว หลังจากอ้างเหตุผลว่ามีการโกงการเลือกตั้งโดยไม่มีมูลความจริง 

เหตุการณ์ดังกล่าวจุดชนวนให้เกิดการต่อสู้ครั้งใหม่กับกลุ่มกบฏชาติพันธุ์ และก่อให้เกิด ‘กองกำลังป้องกันประชาชน (PDF)’ ที่ต่อต้านรัฐบาลทหารหลายสิบแห่ง โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศถูกทำลายล้างจากการสู้รบและเศรษฐกิจพังพินาศ 

“กองทัพจะใช้ ‘มาตรการขั้นเด็ดขาด’ กับฝ่ายตรงข้ามและกลุ่มกบฏชาติพันธุ์ที่สนับสนุนพวกเขา” มินอ่องหล่าย ผู้นำเมียนมากล่าวกับทหารประมาณ 8,000 นายที่เข้าร่วมขบวนพาเหรดวันกองทัพประจำปีในกรุงเนปิดอว์ 

มินอ่องหล่ายกล่าวว่า การกระทำอันน่าสะพรึงกลัวของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) และลูกสมุนที่เรียกว่า PDFs จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขให้ดีทั้งหมด โดยเขามองว่า NUG เป็นองค์กรที่ครอบงำโดย ส.ส.ที่ถูกขับไล่ซึ่งทำงานเพื่อล้มล้างการรัฐประหาร จากนั้น รัฐบาลทหารจะจัด ‘การเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม’ เมื่อสิ้นสุดสถานการณ์ฉุกเฉิน  

เมื่อเดือนที่แล้ว กองทัพได้ประกาศขยายเวลาภาวะฉุกเฉินออกไปอีก 2 ปี และเลื่อนการเลือกตั้งตามที่สัญญาว่าจะจัดขึ้นภายในเดือนสิงหาคม เนื่องจากไม่ได้ควบคุมพื้นที่ของประเทศมากพอสำหรับการลงคะแนนเสียง 

“ความสงบและเสถียรภาพเป็นสิ่งสำคัญก่อนที่การเลือกตั้งใดๆ จะดำเนินต่อไป” มินอ่องหล่ายกล่าวกับขบวนพาเหรด ขณะที่เครื่องบินบินอยู่เหนือศีรษะพ่นควันเป็นสีเหลือง แดง และเขียวของธงชาติเมียนมา และเครื่องบินขับไล่ Sukoi Su-30 ที่ผลิตในรัสเซียจำนวน 5 ลำก็บินผ่านมา 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3YsquOuDZRw90yuWk7um6X/2ecf4559ab20476fee02bf598b64c9d2/Myanmar-junta-chief-vows-continued-crackdown-then-elections-SPACEBAR-Photo01
ภาพที่ปรากฏบนสื่อแสดงให้เห็นผู้หญิงเรียงรายไปตามถนนที่นำไปสู่ลานสวนสนามเพื่อวางพวงมาลัยให้แก่เหล่าทหาร วันกองทัพเป็นการรำลึกถึงการเริ่มต้นของการต่อต้านในท้องถิ่นต่อการยึดครองของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และมักจะมีการสวนสนามโดยเจ้าหน้าที่ต่างประเทศและนักการทูต 

โวลเกอร์ เติร์ก หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า 2 ปีหลังการรัฐประหาร สถานการณ์ในเมียนมาเป็น ‘หายนะที่ลุกลาม’ กองทัพปฏิบัติการโดย ‘ไม่ต้องรับโทษโดยสิ้นเชิง’  

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว สหรัฐฯ บังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อบุคคล 2 รายและอีก 6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมา โดยพวกเขาถูกกล่าวหาว่า ปล่อยให้เกิดความโหดร้ายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปล่อยผ่านการนำเข้า จัดเก็บ และจำหน่ายน้ำมันเครื่องบินให้กับกองทัพ 

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ พุ่งเป้าไปที่ซัพพลายเออร์เชื้อเพลิงการบินของกองทัพเมียนมา โดยบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรกับ Asia Sun Group, Asia Sun Trading และ Cargo Link Petroleum Logistics ในเมียนมา 

ตามการติดตามของกลุ่มท้องถิ่น ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 3,100 ราย ในการปราบปรามผู้เห็นต่างของกองทัพนับตั้งแต่การรัฐประหาร ขณะที่สหประชาชาติ ระบุว่า ผู้คนมากกว่าหนึ่งล้านคนต้องพลัดถิ่นจากการสู้รบ

ในเดือนธันวาคม รัฐบาลทหารได้สรุปการพิจารณาคดีอองซานซูจีในศาลแบบปิด โดยจำคุกเธอเป็นเวลารวม 33 ปี ในกระบวนการที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนประณามว่า ‘เป็นเรื่องหลอกลวง’

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์