วงการดาราศาสตร์สุดประหลาดใจ! พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 2 ดวงคล้ายโลก

16 ธ.ค. 2565 - 07:07

  • ดาวเคราะห์นอกระบบ 2 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์นอกระบบสุริยะนั้นส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำ ได้แก่ Kepler-138 c และ Kepler-138 d ซึ่งอยู่ห่างออกไป 218 ปีแสงใน ‘กลุ่มดาว Lyra หรือดาวพิณ’

  • แต่มนุษย์จะไปไม่ถึงดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเหล่านี้ได้เนื่องจากมีระยะห่างจากโลกของเรามาก

NASA-discovered-two-possible-water-world-exoplanets-by-Hubble-Spitzer- telescopes-SPACEBAR-Hero
สำนักข่าว ABC รายงานว่า นักดาราศาสตร์ของ NASA ใช้กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลและกล้องสปิตเซอร์ค้นพบดาวเคราะห์ที่อยู่นอกโลกของเราที่อาจมีมหาสมุทรคล้ายโลกด้วย 

ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมอนทรีออลค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ 2 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์นอกระบบสุริยะ ซึ่งเชื่อว่าส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำ ได้แก่ Kepler-138 c และ Kepler-138 d  

แม้ว่าน้ำจะไม่ถูกตรวจพบโดยตรงบนดาวเคราะห์นอกระบบทั้ง 2 ดวง เมื่อเปรียบเทียบขนาดและมวลของน้ำกับแบบจำลองแล้ว นักดาราศาสตร์ก็สรุปว่าสัดส่วนที่มีนัยสำคัญของปริมาตรน้ำนั้นมีมากถึงครึ่งหนึ่ง ซึ่งพบมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีวัสดุที่เบากว่าหิน แต่หนักกว่าไฮโดรเจนหรือฮีเลียม  

เมื่อพิจารณาว่า Kepler-138 c และ Kepler-138 d อยู่ห่างออกไป 218 ปีแสงใน ‘กลุ่มดาว Lyra หรือดาวพิณ’ ก็พบว่า พวกมันจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์นอกระบบอย่างแน่นอน
 

ทำไมการค้นพบนี้จึงสำคัญ

ในขณะที่มีการสังเกตเห็นน้ำที่กลายเป็นน้ำแข็งบนดวงจันทร์หลายดวงในระบบสุริยะชั้นนอกของเรานั้น นักวิทยาศาสตร์ยังคงไม่ประสบความสำเร็จในการค้นหาดาวเคราะห์ที่มีมหาสมุทรเขียวชอุ่มในแบบฉบับของตัวเอง ดังนั้น การค้นพบ ‘ดาวเคราะห์นอกระบบที่เต็มไปด้วยน้ำ’ ทั้ง 2 ดวงนี้อาจสร้างความหวังเล็กๆ ให้กับวงการวิทยาศาสตร์ในการศึกษาอีกครั้ง 

บียอร์น เบนเนเก ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมอนทรีออลอธิบายว่า "ก่อนหน้านี้ เราคิดว่าดาวเคราะห์ที่ใหญ่กว่าโลกเล็กน้อยเป็นลูกบอลโลหะและหินขนาดใหญ่ เหมือนกับโลกที่ขยายขนาดขึ้น และนั่นคือเหตุผลที่เราเรียกมันว่า ‘ซุูเปอร์เอิร์ธ’ "  

“อย่างไรก็ดี ตอนนี้เราได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ดาวเคราะห์ทั้ง 2 ดวงนี้ ‘Kepler-138 c และ d’ ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก และส่วนใหญ่ของปริมาตรทั้งหมดน่าจะประกอบด้วยน้ำ…มันเป็นหลักฐานที่ดีที่สุดสำหรับ ‘ดาวเคราะห์น้ำ’ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ประเภทหนึ่งที่นักดาราศาสตร์ตั้งทฤษฎีว่ามีอยู่เป็นเวลานาน” 

“แม้จะมีปริมาตรเป็น 3 เท่าและมีมวลมากกว่าโลกถึง 2 เท่า แต่ Kepler-138 c และ d ก็มีความหนาแน่นต่ำกว่าโลกมาก” เบนเนเก กล่าว
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7aWhfg7fmAElEwP9lG7mDi/44a6f1e9aa54d68454ce991cb802101a/NASA-discovered-two-possible-water-world-exoplanets-by-Hubble-Spitzer-_telescopes-SPACEBAR-Photo01
Photo: Benoit Gougeon (University of Montreal)
นักวิจัยรู้สึกประหลาดใจกับการค้นพบครั้งนี้ เพราะดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ใหญ่กว่าโลกเล็กน้อยนั้น ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดมาจนถึงตอนนี้ ล้วนดูเหมือนเป็น ‘ดาวเคราะห์หิน’ เช่นเดียวกับโลกของเรา 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังกล่าวว่า การเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็นดวงจันทร์น้ำแข็งบางส่วนในระบบสุริยะชั้นนอกที่ประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ล้อมรอบแกนกลางที่เป็นหิน 

“ลองนึกภาพดวงจันทร์บริวาร ‘ยูโรปาหรือเอนเซลาดัส’ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นดวงจันทร์ที่เต็มไปด้วยน้ำซึ่งโคจรรอบดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ แต่กลับเข้าใกล้ดาวฤกษ์ของพวกมันมากขึ้น” แคโรไลน์ ปิโอเล็ต หัวหน้าทีมวิจัยอธิบาย
 

มนุษย์สามารถอยู่รอดบน Kepler-138 c และ d ได้หรือไม่?

แต่น่าเสียดายที่เป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษย์จะไปถึงดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเหล่านี้ได้เนื่องจากมีระยะห่างจากโลกของเรามาก และถึงแม้ว่าเราจะสามารถเดินทางไปหาพวกมันได้ มหาสมุทรที่นั่นก็อาจไม่เหมือนมหาสมุทรที่เราคุ้นเคยก็ได้ 

นั่นเป็นเพราะดาวเคราะห์น้ำทั้ง 2 ดวงนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยได้ ซึ่งเป็นพื้นที่รอบดาวฤกษ์ที่อุณหภูมิจะเอื้อให้สสารสถานะของเหลวอย่างน้ำอยู่บนพื้นผิวดาวเคราะห์หินได้ 

“อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศของ Kepler-138 d นั้นน่าจะสูงกว่าจุดเดือดของน้ำ และเราคาดว่าจะมีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นซึ่งเกิดจากไอน้ำบนโลกใบนี้…และเฉพาะภายใต้บรรยากาศไอน้ำเท่านั้นที่อาจมีน้ำของเหลวที่ความดันสูง ซึ่งเรียกว่า ‘ของไหลวิกฤตยิ่งยวด’” ปิโอเล็ต กล่าว  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์