ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองอีกครั้ง ทว่าหลายๆ คนคงคาดหวังกับการเลือกตั้งที่จะถึงในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว ขณะที่แต่ละพรรคการเมืองพากันงัดไม้เด็ด อีกทั้งแคนดิเดตนายกฯ ต่างก็โน้มน้าวนโยบายเพื่อหาเสียงกันอย่างเต็มกำลัง
แต่ถึงกระนั้นนอกจากนโยบายที่น่าดึงดูด ก็มีปัจจัยด้านอายุและวุฒิภาวะที่จะมาเป็นตัวตัดสินใจของประชาชนในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน หลายคนอาจมองว่าอายุน้อยจะด้อยประสบการณ์หรือเปล่า? หรืออายุมากไปจะบริหารแบบหัวโบราณไหม? แน่นอนว่ามันไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกอย่างหรอก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่ามันก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำหรับการประกอบการตัดสินใจด้วยย
สำหรับแคนดิเดตไทยที่อายุมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อายุ 77 ปี และอายุน้อยที่สุดตกเป็นของ อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร อายุ 36 ปี
แต่หากมองออกไปในมุมต่างประเทศบ้าง เราจะเห็นว่าจริงๆ แล้วอายุมันก็แค่ตัวเลข สุดท้ายแล้วประชาชนก็เลือกที่นโยบายและผู้นำที่จะเข้ามานำพาประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงการบริหารตามนโยบายที่เคยพูดไว้ก็เท่านั้น มันจึงเกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ว่าตอนนี้โลกมีประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอายุน้อยที่สุด-มากที่สุดในโลกแล้ว
มาดูกันว่าผู้นำคนไหนบ้างที่ติดอันดับโลกเหล่านี้
แต่ถึงกระนั้นนอกจากนโยบายที่น่าดึงดูด ก็มีปัจจัยด้านอายุและวุฒิภาวะที่จะมาเป็นตัวตัดสินใจของประชาชนในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน หลายคนอาจมองว่าอายุน้อยจะด้อยประสบการณ์หรือเปล่า? หรืออายุมากไปจะบริหารแบบหัวโบราณไหม? แน่นอนว่ามันไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกอย่างหรอก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่ามันก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำหรับการประกอบการตัดสินใจด้วยย
สำหรับแคนดิเดตไทยที่อายุมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อายุ 77 ปี และอายุน้อยที่สุดตกเป็นของ อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร อายุ 36 ปี
แต่หากมองออกไปในมุมต่างประเทศบ้าง เราจะเห็นว่าจริงๆ แล้วอายุมันก็แค่ตัวเลข สุดท้ายแล้วประชาชนก็เลือกที่นโยบายและผู้นำที่จะเข้ามานำพาประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงการบริหารตามนโยบายที่เคยพูดไว้ก็เท่านั้น มันจึงเกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ว่าตอนนี้โลกมีประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอายุน้อยที่สุด-มากที่สุดในโลกแล้ว
มาดูกันว่าผู้นำคนไหนบ้างที่ติดอันดับโลกเหล่านี้
‘ผู้นำที่อายุมากที่สุดในโลก’
‘ปอล บียา’

ประธานาธิบดีแคเมอรูนวัย 90 ปี ผู้นำที่ถูกขนานนามว่ามีอายุมากที่สุดในโลก หรือที่รู้จักกันในนามว่า ‘The Sphinx / เดอะ สฟิงซ์’ ครองอำนาจมากว่า 4 ทศวรรษ (41 ปี) ตั้งแต่ปี 1982 ซึ่งขณะนั้นอายุ 49 ปี และปัจจุบันบียายังคงดำรงตำแหน่งอยู่
‘โจ ไบเดน’

ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ และคนล่าสุด ชายคนนี้ที่เรารู้จักกันดีในวัย 80 ปี เป็นประธานาธิบดีอเมริกันที่อายุมากที่สุดหลังจากสาบานตนดำรงตำแหน่งตอนอายุ 78 ปี ทั้งยังเป็นประธานาธิบดีคนเดียวที่อายุครบ 80 ปีขณะดำรงตำแหน่ง รวมถึงเป็นผู้นำประเทศที่มีอายุมากที่สุดเป็นอันดับที่ 9 ของโลกอีกด้วย และคาดว่าเลือกตั้งสมัยหน้าปี 2024 ไบเดนก็จะลงชิงชัยด้วย
‘ราอุล คาสโตร’

อดีตประธานาธิบดีคิวบาดินแดนคอมมิวนิสต์ตลอดกาล หรือเป็นที่รู้จักในฐานะน้องชายของ ฟิเดล คาสโตร ผู้นำการปฏิวัติของประเทศผู้ล่วงลับ ปัจจุบันราอุลอายุ 91 ปี โดยขึ้นดำรงตำแหน่งในปี 2008 ขณะนั้นอายุได้ 76 ปี แต่ปัจจุบันเขาลงจากตำแหน่งแล้วเมื่อปี 2018
นอกจากนี้ยังมีผู้นำระดับโลกอีกหลายคนที่ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี หรือนายกฯ ตอนอายุมาก ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีผู้นำระดับโลกอีกหลายคนที่ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี หรือนายกฯ ตอนอายุมาก ได้แก่
- ‘เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา’ ประธานาธิบดีซิมบับเวคนที่ 3 และคนปัจจุบันวัย 81 ปี เข้าดำรงตำแหน่งในปี 2017 ตอนอายุ 75 ปี
- ‘อาลฟา กงเด’ อดีตประธานาธิบดีกินีคนที่ 4 วัย 85 ปี เข้าดำรงตำแหน่งตอนอายุ 72 ปีเมื่อปี 2010-2021
- ‘มูฮัมมาดู บูฮารี’ ประธานาธิบดีไนจีเรียคนปัจจุบันวัย 80 ปี เข้าดำรงตำแหน่งตอนอายุ 72 ปีตั้งแต่ปี 2015
- ‘โดนัลป์ ทรัมป์’ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 45 และแคนดิเดตพรรครีพับลิกันเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 วัย 76 ปี ซึ่งเข้าสาบานตนดำรงตำแหน่งตอนอายุ 70 ปีในปี 2017
‘ผู้นำที่อายุน้อยที่สุดในโลก’
‘จาโกโม ซิโมนชินี’

อดีตผู้นำแห่งซานมารีโนที่อายุน้อยที่สุดในโลกวัย 28 ปีและประมุขแห่งรัฐเพียงคนเดียวที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ซิโมนชินีเป็นนักการเมืองและเป็นหนึ่งในหัวหน้าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ปกครองร่วมกับฟรานเชสโก มุสโซนี (อดีตผู้สำเร็จราชการร่วม) ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2021-2022 ขณะนั้นอายุเพียง 26 ปีเท่านั้น
‘คิม จองอึน’

ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือคนปัจจุบันวัย 39 ปีที่ขึ้นดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2011 ตอนอายุ 27 ปี นอกจากนี้ยังพ่วงตำแหน่งเลขาธิการพรรคแรงงานเกาหลี ประธานกิจการรัฐแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีอีกด้วย
‘ซานนา มาริน’

นายกรัฐมนตรีหญิงและนักการเมืองฟินแลนด์คนปัจจุบันวัย 37 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2019 ในวัยเพียง 34 ปี ก่อนหน้านี้เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกรัฐสภามาตั้งแต่ปี 2015 อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีผู้นำระดับโลกอีกหลายคนที่ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี หรือนายกฯ ตอนอายุยังน้อย ได้แก่
- 22% อยู่ในวัย 50
- 18% อยู่ในวัย 40
นอกจากนี้ยังมีผู้นำระดับโลกอีกหลายคนที่ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี หรือนายกฯ ตอนอายุยังน้อย ได้แก่
- ‘ตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี’ เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์องค์ปัจจุบันวัย 42 ปี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2013-ปัจจุบัน ขณะนั้นอายุ 33 ปี
- ‘นายิบ บูเกเล’ ประธานาธิบดีเอลซัลวาดอร์คนที่ 43 วัย 41 ปี เริ่มดำรงตำแหน่งในปี 2019 ตอนอายุ 37 ปี
- ‘อิราคลี การิบาชวิลี’ นายกรัฐมนตรีของจอร์เจียคนที่ 11 และ 15 (คนล่าสุด) วัย 40 ปี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2021 ขณะนั้นอายุ 38 ปี
- ‘พันเอกอัสซีมี โกอิตา’ นายทหารแห่งมาลีดินแดนแอฟริกาตะวันตกวัย 40 ปีที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวตั้งแต่ปี 2021 ซึ่งตอนนั้นอายุ 38 ปี
ข้อสังเกตของอายุผู้นำโลก
สำนักวิจัย Pew Research Center ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุผู้นำโลกไว้ดังนี้- ผู้นำประเทศส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 30 กลางๆ ถึง 90 ปี
- ผู้นำระดับโลกในปัจจุบันมีอายุเฉลี่ย 62 ปี เมื่อแบ่งตามทศวรรษ พบว่า
- 22% อยู่ในวัย 50
- 18% อยู่ในวัย 40
- ผู้นำประเทศในประเทศที่มีอิสระน้อยกว่ามักจะแก่กว่า โดย Freedom House เผยว่าประเทศที่จัดอยู่ในประเภท ‘ไม่เสรี’ อายุเฉลี่ยของผู้นำคือ 69 ปี ขณะที่ ‘เสรีบางส่วน’ อยู่ที่ 61 ปี และ 58 ปีในประเทศ ‘เสรี’
- ผู้นำหญิงมักจะอายุน้อยกว่าผู้ชาย แม้ว่าจะมีเพียง 13 ประเทศที่มีผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งผู้นำสูงสุด แต่อายุเฉลี่ยของพวกเธอคือ 57 ปี เมื่อเทียบกับผู้นำประเทศที่เป็นชายจะอยู่ที่ 62 ปี
- ผู้นำในประเทศส่วนใหญ่มีอายุมากกว่าอายุเฉลี่ยของประชากรอย่างเห็นได้ชัด
ยกตัวอย่างในสรัฐฯ ขณะที่อายุเฉลี่ยของพลเมืองอเมริกันอยู่ที่ 38 ปี แต่ไบเดนมีอายุมากกว่า 2 เท่า และมีเพียง 4 ประเทศเท่านั้นที่มีผู้นำอายุน้อยกว่าอายุเฉลี่ย ได้แก่ อันดอร์รา มอนเตเนโกร อิตาลี และฟินแลนด์