สำนักข่าว CBS News รายงานว่า สถาบันสมุทรศาสตร์ได้เผยแพร่วิดีโอดำน้ำสำรวจซากเรือ อาร์เอ็มเอส ไททานิค (R.M.S.Titanic) ในปี 1986 ความยาวกว่า 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นวิดีโอที่ไม่เคยปรากฏต่อสาธารณชนมาก่อน
วิดีโอดังกล่าวเผยแพร่เมื่อค่ำวันพุธ (15 ก.พ.) ที่ผ่านมา โดยสถาบันสมุทรศาสตร์วูดสโฮล (Woods Hole Oceanic Institution / WHOI) เพื่อเป็นเกียรติแก่การครบรอบ 25 ปีของภาพยนตร์เรื่อง ‘Titanic’ ของ เจมส์ แคเมรอน ที่ได้รับรางวัลออสการ์ และได้รับการฉายซ้ำในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ
ตามรายงานของสถาบัน ระบุว่า ซากเรือไททานิคถูกพบครั้งแรกโดยนักวิจัยจาก WHOI ซึ่งทำงานร่วมกับสถาบันในฝรั่งเศสปี 1985 การสำรวจครั้งนั้นนำโดย ดร.โรเบิร์ต บาลลาร์ด โดยในเดือนมิถุนายน 1986 ทีมงานได้กลับไปที่ซากเรือพร้อมกับยานดำน้ำที่มีคนควบคุมอยู่ชื่อว่า ‘อัลวิน (Alvin)’ และยานควบคุมระยะไกล (ROV) ชื่อ ‘เจสัน จูเนียร์ (Jason Junior)’ ภารกิจดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกที่มนุษย์ตั้งหน้าตั้งตามองเรือเคราะห์ร้ายลำนี้นับตั้งแต่มันจมลงในปี 1912
ฟุตเทจหายากนี้ไม่ได้ตัดต่อ และส่วนใหญ่ไม่มีคำบรรยายซึ่งถูกอัปโหลดไปยังช่อง YouTube ของ WHOI เมื่อวันพุธ โดยวิดีโอประกอบด้วยภาพของเรือดำน้ำ Alvin ที่กำลังเข้าใกล้ซากไททานิคและลงจอดบนดาดฟ้าของเรือ นอกจากนี้ วิดีโอยังแสดงให้เห็นภาพภายในของซากเรือ รวมถึงภาพภายในห้องโดยสารของกัปตันเรือ และภาพเศษซากบนพื้นมหาสมุทร
ชมคลิป
วิดีโอดังกล่าวเผยแพร่เมื่อค่ำวันพุธ (15 ก.พ.) ที่ผ่านมา โดยสถาบันสมุทรศาสตร์วูดสโฮล (Woods Hole Oceanic Institution / WHOI) เพื่อเป็นเกียรติแก่การครบรอบ 25 ปีของภาพยนตร์เรื่อง ‘Titanic’ ของ เจมส์ แคเมรอน ที่ได้รับรางวัลออสการ์ และได้รับการฉายซ้ำในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ
ตามรายงานของสถาบัน ระบุว่า ซากเรือไททานิคถูกพบครั้งแรกโดยนักวิจัยจาก WHOI ซึ่งทำงานร่วมกับสถาบันในฝรั่งเศสปี 1985 การสำรวจครั้งนั้นนำโดย ดร.โรเบิร์ต บาลลาร์ด โดยในเดือนมิถุนายน 1986 ทีมงานได้กลับไปที่ซากเรือพร้อมกับยานดำน้ำที่มีคนควบคุมอยู่ชื่อว่า ‘อัลวิน (Alvin)’ และยานควบคุมระยะไกล (ROV) ชื่อ ‘เจสัน จูเนียร์ (Jason Junior)’ ภารกิจดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกที่มนุษย์ตั้งหน้าตั้งตามองเรือเคราะห์ร้ายลำนี้นับตั้งแต่มันจมลงในปี 1912
ฟุตเทจหายากนี้ไม่ได้ตัดต่อ และส่วนใหญ่ไม่มีคำบรรยายซึ่งถูกอัปโหลดไปยังช่อง YouTube ของ WHOI เมื่อวันพุธ โดยวิดีโอประกอบด้วยภาพของเรือดำน้ำ Alvin ที่กำลังเข้าใกล้ซากไททานิคและลงจอดบนดาดฟ้าของเรือ นอกจากนี้ วิดีโอยังแสดงให้เห็นภาพภายในของซากเรือ รวมถึงภาพภายในห้องโดยสารของกัปตันเรือ และภาพเศษซากบนพื้นมหาสมุทร
ชมคลิป
“กว่าหนึ่งศตวรรษหลังจากการจมใต้มหาสมุทรของไททานิค เรื่องราวของมนุษย์ที่แฝงอยู่ในเรือลำใหญ่ยังคงดังก้องอยู่…เช่นเดียวกับหลายๆ คน ผมรู้สึกตะลึงเมื่อเรือดำน้ำ Alvin และ Jason Jr. ดำดิ่งลงไปในซากเรือ…สำหรับการปล่อยฟุตเทจนี้ WHOI กำลังช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่วนสำคัญของเรื่องราวที่ขยายไปสู่รุ่นต่อๆ ไปและหมุนวนไปทั่วโลก”
ในเวลานั้นบนเรือซึ่งได้รับการขนานนามว่า ‘ไม่มีวันจม’ และได้รับการออกแบบให้เป็นเรือที่หรูหราที่สุด มีผู้โดยสารประมาณ 2,200 คน ทว่าเรือเมื่อออกเดินทางครั้งแรกในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือก็เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นหลังเรือพุ่งชนภูเขาน้ำแข็งและจมลงในช่วงเช้ามืดของวันที่ 15 เมษายน 1912 มีผู้เสียชีวิตราว 1,500 ราย โดยมีเพียงผู้โดยสารและลูกเรือประมาณ 700 คนเท่านั้นที่รอดชีวิตและได้รับการช่วยเหลือจากเรือเดินสมุทร อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย (R.M.S. Carpathia)
ทั้งนี้ ซากเรือไททานิคยังคงจมอยู่ใต้พื้นผิวมหาสมุทรประมาณ 12,600 ฟุตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
WHOI ระบุอีกว่า ความพยายามในการค้นหาและกอบกู้เรือลำนี้เริ่มขึ้นเกือบจะทันทีหลังการจม แต่ข้อจำกัดทางเทคนิคทำให้ซากเรือถูกปกปิดไว้เกือบ 75 ปี และในปี 1985 เทคโนโลยีการถ่ายภาพใหม่ก็สามารถจับภาพเรือและช่วยให้นักวิจัยค้นหาซากเรือได้
แดนา เยอร์เกอร์ วิศวกรของ WHOI และสมาชิกภารกิจในปี 1985 และ 1986 กล่าวว่า “การสำรวจในปี 1986 เปลี่ยนวิธีที่เราสำรวจมหาสมุทรลึก”
“เรือดำน้ำ Alvin ที่มนุษย์ควบคุมอยู่ได้นำนักวิจัยลงไปถึง 12,500 ฟุตและไปยังเรือไททานิค…เราใช้ยานหุ่นยนต์ Jason Jr. ผ่านเข้าไปในซากเรือไททานิคและถ่ายภาพภายในเรือในขณะที่ผู้คนยังอยู่อย่างปลอดภัยนอกซากเรือ…ความก้าวหน้าเหล่านี้ถือเป็นรากฐานสำคัญสำหรับเทคโนโลยีการสำรวจทะเลลึกสมัยใหม่” เยอร์เกอร์ กล่าวทิ้งท้าย
ในเวลานั้นบนเรือซึ่งได้รับการขนานนามว่า ‘ไม่มีวันจม’ และได้รับการออกแบบให้เป็นเรือที่หรูหราที่สุด มีผู้โดยสารประมาณ 2,200 คน ทว่าเรือเมื่อออกเดินทางครั้งแรกในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือก็เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นหลังเรือพุ่งชนภูเขาน้ำแข็งและจมลงในช่วงเช้ามืดของวันที่ 15 เมษายน 1912 มีผู้เสียชีวิตราว 1,500 ราย โดยมีเพียงผู้โดยสารและลูกเรือประมาณ 700 คนเท่านั้นที่รอดชีวิตและได้รับการช่วยเหลือจากเรือเดินสมุทร อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย (R.M.S. Carpathia)
ทั้งนี้ ซากเรือไททานิคยังคงจมอยู่ใต้พื้นผิวมหาสมุทรประมาณ 12,600 ฟุตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
WHOI ระบุอีกว่า ความพยายามในการค้นหาและกอบกู้เรือลำนี้เริ่มขึ้นเกือบจะทันทีหลังการจม แต่ข้อจำกัดทางเทคนิคทำให้ซากเรือถูกปกปิดไว้เกือบ 75 ปี และในปี 1985 เทคโนโลยีการถ่ายภาพใหม่ก็สามารถจับภาพเรือและช่วยให้นักวิจัยค้นหาซากเรือได้
แดนา เยอร์เกอร์ วิศวกรของ WHOI และสมาชิกภารกิจในปี 1985 และ 1986 กล่าวว่า “การสำรวจในปี 1986 เปลี่ยนวิธีที่เราสำรวจมหาสมุทรลึก”
“เรือดำน้ำ Alvin ที่มนุษย์ควบคุมอยู่ได้นำนักวิจัยลงไปถึง 12,500 ฟุตและไปยังเรือไททานิค…เราใช้ยานหุ่นยนต์ Jason Jr. ผ่านเข้าไปในซากเรือไททานิคและถ่ายภาพภายในเรือในขณะที่ผู้คนยังอยู่อย่างปลอดภัยนอกซากเรือ…ความก้าวหน้าเหล่านี้ถือเป็นรากฐานสำคัญสำหรับเทคโนโลยีการสำรวจทะเลลึกสมัยใหม่” เยอร์เกอร์ กล่าวทิ้งท้าย