เกิดขึ้นได้อย่างไร?
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 วันที่ผ่านมาของสายการบิน Asiana Airlines ที่มีผู้โดยสารคนหนึ่งเปิดประตูฉุกเฉินกลางอากาศบนเครื่องบิน A321-200 ซึ่งกำลังบินอยู่ที่ความสูง 800 ฟุต ขณะพาผู้โดยสารเกือบ 200 คนเข้าใกล้รันเวย์สนามบินนานาชาติแทกู ห่างจากกรุงโซลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 240 กม. (150 ไมล์) โชคดีที่เครื่องบินสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย แต่ผูู้โดยสารหลายคนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสแต่อย่างใดหลังเกิดเหตุการณ์นี้ทางสายการบินบอกกับสำนักข่าว AFP ว่า ที่นั่งทางออกฉุกเฉิน 31A และ 26A บนเครื่องบิน A321-200 จำนวน 14 ลำจะไม่ถูกเสนอขายอีกต่อไป “เพื่อความปลอดภัย มาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้แม้ว่าเที่ยวบินจะเต็ม” แถลงการณ์ระบุ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะห้ามผู้โดยสารที่นั่งที่อื่นบนเครื่องบินไม่ให้พยายามเปิดประตูฉุกเฉินได้อย่างไร
สำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้ระบุว่า ผู้ก่อเหตุเป็นชายวัย 30 ปีถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ในเมืองแทกูในข้อหาละเมิดกฎหมายความมั่นคงด้านการบิน และเขาอาจต้องโทษจำคุกสูงสุด 10 ปีหากถูกตัดสินว่ามีความผิด ซึ่งชายคนดังกล่าวบอกกับตำรวจแทกูว่าเขาเครียดมากหลังจากตกงานเมื่อเร็วๆ นี้ จึงตัดสินใจเปิดประตูเพราะเขาต้องการจะออกไปอย่างรวดเร็วหลังจากรู้สึกหายใจไม่ออก

จากเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น ทางบัญชี Twitter สาระการบินน่ารู้ @aviknowledge ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า
“ทำไมอยู่ดีๆ ประตูฉุกเฉินถึงเปิดกลางอากาศได้ทั้งๆ ที่มันไม่ควรไม่ใช่หรือ? โดยอธิบายไว้ว่า
“ทำไมอยู่ดีๆ ประตูฉุกเฉินถึงเปิดกลางอากาศได้ทั้งๆ ที่มันไม่ควรไม่ใช่หรือ? โดยอธิบายไว้ว่า
- ประตูเครื่องบินถูกเปิดในความสูงที่ต่ำมาก ตามปกติแล้วประตูเครื่องบินจะถูก lock และปิดตายด้วยความต่างของความดันในห้องโดยสารและความดันภายนอกเครื่องบินซึ่งเป็นแรงมหาศาลอยู่แล้วเกินกว่ามนุษย์จะสู้ได้ประกอบกับมีกลไพิเศษที่ทำงานด้วยความดันในห้องโดยสารอีกที
- แต่ในขณะที่เกิดเหตุเครื่องบินกำลังอยู่ในช่วง Final Approach ซึ่งมีความสูงเหนือพื้นแค่ 600 ฟุตเท่านั้นจึงทำให้ความต่างระหว่างความดันในห้องโดยสารและภายนอกนั้นแทบไม่ต่างกันและกลไกพิเศษนั้นก็ไม่ได้ทำงานเนื่องจากความดันในห้องโดยสารนั้นถูกปรับให้เท่ากันระหว่างในห้องโดยสารและภายนอก
- ประตูมีระบบพิเศษที่ปกติเป็นตัวช่วยลูกเรือในการขยับประตูเรียกว่า Cabin Door Power Assist ซึ่งปกติแล้วจะถูกใช้เพื่อลดแรงของลูกเรือในการเลื่อนเปิดหรือปิดประตูฉุกเฉิน แต่ในเคสดังกล่าวคาดว่าระบบนี้คงช่วยผู้โดยสารคนดังกล่าวให้ผลักประตูไปด้านหน้าได้ทั้งๆที่ต้องสู้กับแรงลมมหาศาล
จริงๆ แล้วเปิดประตูฉุกเฉินระหว่างเที่ยวบินได้ไหม?

แน่นอนว่าในความเป็นจริงเรา ‘ไม่สามารถเปิดประตูได้หรอก’
เว็บไซต์ Ask The Pilot ของแพทริก สมิธ ซึ่งเป็นนักบินระบุว่า “คุณไม่สามารถเปิดประตูหรือช่องเปิดฉุกเฉินของเครื่องบินที่กำลังบินอยู่ได้ คุณไม่สามารถเปิดได้ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ความดันในห้องโดยสารไม่อนุญาต”เมื่อเครื่องบินขึ้นสู่อากาศแล้ว ประตูของเครื่องบินที่มีแรงดันจะไม่สามารถเปิดได้ นี่เป็นเรื่องจริงสำหรับนักบิน ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่แรงดันในห้องโดยสารไม่เอื้ออำนวยนั่นเอง
เนื่องจากแรงดันในห้องโดยสารแรงเกินกว่าที่ใครจะเปิดได้ที่ระดับความสูงปกติ ซึ่งมีแรงดันมากถึง 8 ปอนด์ที่จะกดทับทุกตารางนิ้วภายในตัวเครื่อง และมากกว่า 1,100 ปอนด์ต่อตารางฟุตของประตู แม้ในระดับความสูงที่ต่ำกว่าก็ยังมากเกินกว่าที่ใครจะเปิดมันได้
ประตูห้องโดยสารนั้นมีรูปทรงเรียวซึ่งจะปิดผนึกเมื่อมีแรงกดคล้ายกับปลั๊ก โดยประตูบางบานจะดึงขึ้นไปบนเพดาน ขณะที่ประตูอื่นจะแกว่งออกไปด้านนอกซึ่งต้องเปิดเข้าด้านในก่อน
สมิธเผยอีกว่า เราไม่แนะนำให้คุณทำอย่างนั้น อย่างกรณีเครื่องบิน 19-passenger turboprop ที่เราเคยบิน ประตูห้องโดยสารหลักมีซีลเป่าลมรอบธรณีประตูด้านใน ซึ่งในระหว่างการบินซีลเป่าลมตัวนี้จะพองตัวขึ้นเพื่อช่วยล็อคแรงดันในห้องโดยสาร
การสูญเสียแรงดันที่ตามมานั้นจะได้รับการแก้ไขอย่างง่ายดายและไม่เป็นอันตรายในท้ายที่สุด แต่เสียงที่ดังกะทันหันขึ้นมา ซึ่งเป็นเสียงดูดขนาดใหญ่หลายร้อยเดซิเบลพร้อมกับเสียงเครื่องยนต์ 1,100 แรงม้า 2 เครื่องที่อยู่ห่างออกไปเพียงไม่กี่ฟุตจะทำให้ทุกคนบนเครื่องบินตกใจ
เมื่อเครื่องบินเข้าใกล้ประตูขึ้นเครื่อง บางครั้งคุณอาจได้ยินพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินร้องว่า ‘ประตูหยุดทำงาน (disarm doors)’ ซึ่งสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการแทนที่ฟังก์ชันการปรับใช้อัตโนมัติของสไลด์ โดยสไลด์เหล่านั้นสามารถคลี่ออกด้วยแรงที่มากพอที่จะฆ่าคนได้ และคุณคงไม่ต้องการให้สไลด์ปลิวไปบนสะพานเจ็ท
ทว่าการเปิดประตูจะทำให้เกิดความไม่สมดุลของความกดดันอากาศภายในและภายนอกตัวเครื่อง ซึ่งจะทำให้ห้องโดยสารเครื่องบินมีความดันลดลงภายในเวลาไม่กี่วินาที ทำให้เกิดแรงดูดที่รุนแรง โดยแรงดูดที่รุนแรงนี้จะทำให้วัสดุที่ไม่ได้ถูกยึดอย่างเหนียวแน่นทั้งหมดถูกดูดออกไปนอกเครื่องบิน รวมถึงคนที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยด้วย
นอกจากนี้ อุณหภูมิในห้องโดยสารและระดับออกซิเจนจะเริ่มลดลง ทำให้ผู้โดยสารที่ไม่ได้สวมหน้ากากออกซิเจนเกิดภาวะขาดออกซิเจน
สำหรับกรณีสายการบิน Asiana Airlines นั้น มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 12 คน โดยมีอาการแตกต่างกัน อาทิ ปัญหาการหายใจและอาการปวดหูร่วมด้วย