นักวิทย์พบ ‘ไวรัส’ ตัวใหม่แฝงอยู่ในค้างคาว ชี้! สามารถคร่าชีวิต 1 ใน 3

24 พ.ย. 2565 - 06:52

  • ไวรัส ‘กีวีรา’ ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มไวรัส ‘ฮันตา’ ชนิดหนึ่งถูกพบในค้างคาวหางอิสระในแทนซาเนียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

  • แม้ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าไวรัสกีวีราอาจเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ แต่นักวิจัยกำลังดำเนินการศึกษาติดตามผล

Scientists-discover-new-virus-lurking-in-bats-SPACEBAR-Hero
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบไวรัสตัวใหม่ที่แฝงตัวอยู่ในค้างคาว 

ไวรัส ‘กีวีรา’ ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มไวรัส ‘ฮันตา’ ชนิดหนึ่งถูกพบในค้างคาวหางอิสระในแทนซาเนียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แม้ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าไวรัสกีวีราอาจเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ แต่นักวิจัยกำลังดำเนินการศึกษาติดตามผล 

ไวรัสฮันตามักพบในสัตว์ฟันแทะและแพร่เชื้อสู่คนผ่านการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยหากเป็นโรคี้เชื้อไวรัสนี้สามารถฆ่าคนได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อ นอกจากนี้ไวรัสกลุ่มนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัด เลือดออกมากเกินไปและไตวายด้วย 

นักวิจัยนำโดย ซาบรินา ไวส์ หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขของศูนย์ปกป้องสุขภาพนานาชาติในกรุงเบอร์ลินระบุรายละเอียดของไวรัสตัวใหม่นี้ไว้ใน วารสาร Viruses ว่า ค้างคาวหางอิสระอยู่เต็มพื้นที่แอฟริกา และเป็นที่รู้กันว่าสายพันธุ์นี้อาศัยอยู่ในและรอบๆ ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึงศักยภาพในการแพร่ระบาดของไวรัสกีวีราสู่มนุษย์ 

การวิจัยจะต้องดำเนินการกับค้างคาวในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจส่วนประกอบของพวกมันให้ดียิ่งขึ้นและดูว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ไวรัสจะแพร่กระจายไปยังมนุษย์ แม้ว่าจะยังไม่มีการพบผู้ป่วยในคน 

อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานมากนักที่บ่งชี้ว่าไวรัสกีวีราก่อปัญหาสำคัญต่อค้างคาวเช่นกัน  โดยมีค้างคาวเพียง 6 จาก 334 ตัวจากแทนซาเนีย และค้างคาว 1 ใน 49 ตัวจาก DRC ที่พบว่ามีพาหะนำโรค ด้านนักวิจัยกล่าวว่า โรคไวรัสฮันตามักแสดงอาการเป็นไข้ที่มีอาการไม่เฉพาะเจาะจงและอาจถูกมองข้ามได้ง่าย 

ไวรัสส่วนใหญ่แพร่กระจายสู่มนุษย์ผ่านการสัมผัสกับปัสสาวะ อุจจาระ และน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ และในบางกรณี ไวรัสสามารถแพร่กระจายระหว่างมนุษย์ได้ 

เชลซี วู้ด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านนิเวศวิทยาปรสิตแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวถึงความเสี่ยงว่า สิ่งที่น่ากลัวเกี่ยวกับไวรัสจากสัตว์สู่คนเหล่านี้คือกระบวนการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งโควิด-19 เป็นตัวอย่างที่ดี 

แม้ว่าการระบาดใหญ่ของโควิดจะแสดงให้เห็นว่าไวรัสที่มาจากสัตว์สามารถทำให้โลกเข้าสู่ความโกลาหลได้ง่ายเพียงใด ในเดือนมิ.ย. องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับโควิด-19 โดยระบุว่าค้างคาวมีโอกาสแพร่เชื้อไวรัสสู่มนุษย์ได้มากที่สุด  

มีรายงานผู้ป่วยรายแรกในเดือนธันวาคม ปี 2019 ในเมืองอู่ฮั่นทางตอนกลางของจีน อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่าไม่มีการระบุแหล่งที่มาของสัตว์หรือช่วงเวลาที่ไวรัสแพร่เข้าสู่มนุษย์ สาเหตุหลักเป็นเพราะข้อมูลจำนวนมากขาดหายไปโดยเฉพาะจากประเทศจีน 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์