ปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงอาจทำอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาฯ เป็นครั้งแรก

17 ม.ค. 2566 - 06:43

  • “หากเราอยู่ในสภาวะเอลนีโญช่วงสิ้นปี 2023 สถิติใหม่จะถูกบันทึกอย่างแน่นอนในปี 2024”

  • ในปี 2021 อุณหภูมิ (เทียบกับค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1850–1900) อยู่ที่ 1.2 องศาเซลเซียส ในขณะที่ในปี 2019 อุณหภูมิจะสูงจนน่าเป็นห่วงที่ 1.36 องศาเซลเซียส

  • แต่ถ้าเมื่อความร้อนก่อตัวขึ้นอีกครั้งในปี 2023 ก็มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าอุณหภูมิอาจจะแตะหรือสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรก

Strong-El-Niño-could-make-2024-the-first-year-1.5C-of-warming-SPACEBAR-Thumbnail

เมื่อโลกกำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านจาก ‘ลานีญา’ สู่ ‘เอลนีโญ’

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร UK Met Office เตือนว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลกอาจนำไปสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงในปลายปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรกในปี 2024 

การสร้างแบบจำลองใหม่จากหน่วยงานบ่งชี้ว่าระยะเวลา 3 ปีของปรากฏการณ์ลานีญาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนั้นจะสิ้นสุดลงในเดือนมีนาคมนี้ และมีแนวโน้มว่าจะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญตามมาด้วยในช่วงปลายปีนี้ (2023) 

ตามการบันทึกของ NASA และศูนย์บริการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโคเปอร์นิคัส ระบุว่า ปี 2022 ยังคงเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับที่ 5 “หากเราอยู่ในสภาวะเอลนีโญในช่วงสิ้นปี 2023 สถิติใหม่จะถูกบันทึกอย่างแน่นอนในปี 2024" เกวิน ชมิดต์ นักภูมิอากาศวิทยา ผู้สร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ และผู้อำนวยการสถาบัน NASA Goddard Institute for Space Studies กล่าว 

จากข้อมูลของ NASA พบว่า ปี 2020 และ 2016 นั้นเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยปี 2016 เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญครั้งใหญ่อีกด้วย 

การศึกษาล่าสุด ระบุว่า ภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2022 อันมาเนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญานั้น ทำให้เกิดสภาพอากาศสุดขั้วในส่วนต่างๆ ของโลก เกิดคลื่นความร้อน ไฟป่า ปริมาณความร้อนในมหาสมุทรพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ธารน้ำแข็งยังคงหดตัว ระดับน้ำทะเลยังคงเพิ่มสูงขึ้น และสภาพอากาศที่รุนแรงยังคงส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ ยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงนั้นเกิดจากฝีมือมนุษย์ 

แต่ทว่า สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือ ลานีญากำลังจะสิ้นสุดลงและเปลี่ยนไปสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งดูเหมือนว่าในปีนี้อากาศจะอบอุ่นขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านๆ มา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญว่าจะเป็นอย่างไร จากนั้นในปี 2024 ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการสร้างสถิติใหม่จากอุณหภูมิที่สูงขึ้น  

เอลนีโญจะทำให้โลกร้อนขึ้นกว่าเดิม? 

Met Office ของสหราชอาณาจักรได้คาดการณ์ไว้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2024 จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมอย่างน้อย 1.2 องศาเซลเซียส ขณะที่ข้อตกลงปารีสก็พยายามจำกัดไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคอุตสาหกรรม เพราะหากเกินกว่านั้น สภาพอากาศอาจรุนแรงขึ้น 

ในปี 2021 อุณหภูมิ (เทียบกับค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1850–1900) อยู่ที่ 1.2 องศาเซลเซียส ในขณะที่ในปี 2019 อุณหภูมิสูงจนน่าเป็นห่วงที่ 1.36 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเมื่อความร้อนก่อตัวขึ้นอีกครั้งในปี 2023 ก็มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าอุณหภูมิอาจจะแตะหรือสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรก 

หากว่าอุณหภูมิสูงกว่าที่กำหนดไว้ การศึกษายังแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจทำลายล้างเพิ่มขึ้นด้วย เช่น การละลายของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกมากขึ้นและการสูญเสียแนวปะการังเขตร้อน 

เซเก โฮส์ฟาเทอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยสภาพภูมิอากาศของบริษัท Stripe กล่าวว่า “ปี 2023 จะดูอบอุ่นกว่าช่วงปีที่ผ่านๆ มา…เนื่องจากความล่าช้าในการตอบสนองต่ออุณหภูมิพื้นผิว ดังนั้น การเปลี่ยนไปสู่สภาวะเอลนีโญในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 นั้นจะส่งผลกระทบหนักในปี 2024”
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1o3tPrx7T3mOBjctNZvOVH/061fbc0888240041005178ba31a74f42/Strong-El-Nin_o-could-make-2024-the-first-year-1.5C-of-warming-SPACEBAR-Photo01
Photo: ทะเลสาบมี้ดจากเขื่อนฮูเวอร์ในแม่น้ำโคโลราโด (Photo: Frederic J. BROWN / AFP)
ทั้งนี้ หนึ่งในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดก็คือ ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ ซึ่งพบว่าที่นี่ประสบภัยแล้งมาอย่างยาวนานที่สุดในรอบอย่างน้อย 1,200 ปีและยังคงดำเนินต่อไปเป็นเวลา 22 ปีจนถึงตอนนี้ ทำให้ระดับของทะเลสาบมี้ดจากเขื่อนฮูเวอร์ในแม่น้ำโคโลราโดลดลงมากจนกำลังการผลิตไฟฟ้าลดลงเกือบครึ่ง  

ขณะเดียวกันที่ต้นทางน้ำก็คือ เขื่อนเกลนแคนยอนในทะเลสาบพาวเวลล์กำลังหดตัวอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะหยุดผลิตกระแสไฟฟ้าในปี 2023 ซึ่งหากภัยแล้งยังคงดำเนินต่อไป เขื่อนฮูเวอร์ก็อาจจะหยุดผลิตกระแสไฟฟ้าตามมาในปี 2024 ด้วยเช่นกัน  

เนื่องด้วยทะเลสาบและเขื่อนเหล่านี้เป็นแหล่งจัดหาน้ำและพลังงานสำคัญให้กับผู้คนนับล้านใน 7 รัฐ รวมถึงแคลิฟอร์เนีย ดังนั้น การสูญเสียอุปทานนี้จะสร้างความหายนะสำหรับการเกษตร อุตสาหกรรม และประชากรทั่วทั้งภูมิภาคอย่างมากด้วย 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์