นครโฮจิมินห์ ในฐานะศูนย์กลางการค้า และมหานครที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามเป็นสถานที่ที่ไม่หยุดนิ่ง ถนนที่คลาคล่ำไปด้วยจิตวิญญาณของผู้ประกอบการที่ฟุ้งกระจายอย่างเห็นได้ชัด ทว่าโครงสร้างพื้นฐานของเมืองกำลังสั่นคลอนภายใต้พลวัตนี้ โดยโครงการสำคัญๆ ต้องเผชิญกับความล่าช้าอย่างไม่หยุดยั้ง
การคอร์รัปชันในเวียดนามแพร่หลายและกว้างขวาง เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายที่อ่อนแอ ความไม่แน่นอนทางการเงิน และการตัดสินใจที่ขัดแย้งกันและเป็นลบของระบบราชการ การสำรวจเผยให้เห็นว่าในขณะที่การคอร์รัปชันเล็กน้อยลดลงเล็กน้อยทั่วประเทศ แต่การคอร์รัปชันระดับสูงได้เพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งเป็นวิธีการใช้อำนาจทางการเมืองในทางที่ผิด
การคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่สำคัญมากในเวียดนาม ส่งผลกระทบต่อการบริหาร การศึกษา และการบังคับใช้กฎหมายในทุกด้าน
ยกตัวอย่างเช่น สนามบินนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (SGN) ที่ซึ่งใช้งานหนักมาเป็นเวลากว่าหลายปีแล้ว นอกเหนือจากฝูงชนจำนวนมากแล้ว ผู้โดยสารมักถูกพาขึ้นรถบัสที่คับแคบเพื่อขับออกจากอาคารผู้โดยสารไปยังเครื่องบิน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์กับทั้งนักท่องเที่ยวและพลเมือง
ขณะที่มีการเสนอวิธีแก้ปัญหานี้ในปี 2019 ในรูปแบบของอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ที่จะสร้างขึ้นบนที่ดินที่กระทรวงกลาโหมถือครอง ในเดือนมิถุนายน ฝั่มมิญจิ๊ญ นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้กำหนดเส้นตายสำหรับที่ดินนี้ที่จะโอนให้กับรัฐบาลเทศบาล เพื่อให้การก่อสร้างสามารถเริ่มต้นได้ภายในสิ้นเดือนกันยายน แต่เส้นตายนั้นขาดไปและรีเซ็ตเป็นวันที่ 30 ตุลาคม จนกระทั่งกลางเดือนพฤศจิกายน กระทรวงกลาโหมยังคงถือครองที่ดินอยู่ และไม่มีงานก่อสร้างใดๆ เกิดขึ้น
ปัญหาของรัฐบาล กระจุกไปอยู่ทั่วทุกหนแห่งมากขึ้น ทั้งการขัดขวางการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่โรงพยาบาล การเปลี่ยนแปลงนโยบายวีซ่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนพลังงานในอนาคตและอื่นๆ แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะระบุให้แน่ชัดว่าเหตุใดปัญหาเหล่านี้จึงเกิดขึ้น เนื่องจากลักษณะธรรมาภิบาลในเวียดนามที่ไม่ชัดเจน
การคอร์รัปชันในเวียดนามแพร่หลายและกว้างขวาง เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายที่อ่อนแอ ความไม่แน่นอนทางการเงิน และการตัดสินใจที่ขัดแย้งกันและเป็นลบของระบบราชการ การสำรวจเผยให้เห็นว่าในขณะที่การคอร์รัปชันเล็กน้อยลดลงเล็กน้อยทั่วประเทศ แต่การคอร์รัปชันระดับสูงได้เพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งเป็นวิธีการใช้อำนาจทางการเมืองในทางที่ผิด
การคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่สำคัญมากในเวียดนาม ส่งผลกระทบต่อการบริหาร การศึกษา และการบังคับใช้กฎหมายในทุกด้าน
ยกตัวอย่างเช่น สนามบินนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (SGN) ที่ซึ่งใช้งานหนักมาเป็นเวลากว่าหลายปีแล้ว นอกเหนือจากฝูงชนจำนวนมากแล้ว ผู้โดยสารมักถูกพาขึ้นรถบัสที่คับแคบเพื่อขับออกจากอาคารผู้โดยสารไปยังเครื่องบิน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์กับทั้งนักท่องเที่ยวและพลเมือง
ขณะที่มีการเสนอวิธีแก้ปัญหานี้ในปี 2019 ในรูปแบบของอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ที่จะสร้างขึ้นบนที่ดินที่กระทรวงกลาโหมถือครอง ในเดือนมิถุนายน ฝั่มมิญจิ๊ญ นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้กำหนดเส้นตายสำหรับที่ดินนี้ที่จะโอนให้กับรัฐบาลเทศบาล เพื่อให้การก่อสร้างสามารถเริ่มต้นได้ภายในสิ้นเดือนกันยายน แต่เส้นตายนั้นขาดไปและรีเซ็ตเป็นวันที่ 30 ตุลาคม จนกระทั่งกลางเดือนพฤศจิกายน กระทรวงกลาโหมยังคงถือครองที่ดินอยู่ และไม่มีงานก่อสร้างใดๆ เกิดขึ้น
ปัญหาของรัฐบาล กระจุกไปอยู่ทั่วทุกหนแห่งมากขึ้น ทั้งการขัดขวางการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่โรงพยาบาล การเปลี่ยนแปลงนโยบายวีซ่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนพลังงานในอนาคตและอื่นๆ แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะระบุให้แน่ชัดว่าเหตุใดปัญหาเหล่านี้จึงเกิดขึ้น เนื่องจากลักษณะธรรมาภิบาลในเวียดนามที่ไม่ชัดเจน

‘ล้างผลาญการทุจริต’
เหงียนฟู่จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม วัย 78 ปี ได้เริ่มการรณรงค์ต่อต้านการคอร์รัปชันหรือที่เรียกว่า ‘Blazing Furnace’ ซึ่งเป็นการล้างผลาญทุจริต เมื่อหลายปีก่อน ทว่าความเคลื่อนไหวและความตื่นตัวเรื่องนี่้มันทวีคูณขึ้นอย่างมากในปีนี้ด้วยเรื่องอื้อฉาวครั้งใหญ่เกี่ยวกับราคาสินค้าต่างๆ ที่มีการยัดเงินใต้โต๊ะสำหรับสิ่งของที่จำเป็นต่อประชาชนอย่างมาก นั่นก็คือ ‘ชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19’ และยังมีการติดสินบนสำหรับที่นั่งบนเที่ยวบิน เพื่อส่งชาวเวียดนามกลับประเทศในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
นอกจากนี้เวียดนามยังเป็นประเทศที่หนึ่งในอัตราที่สูงที่สุดในแง่ของการปฏิบัติในการติดสินบน – อัตราที่พลเมืองจ่ายสินบนให้กับสถาบันของรัฐที่สำคัญในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมีอัตราอยู่ที่ 65% เป็นรองเพียงอินเดียที่ 69% การทุจริตถือเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจในเวียดนาม และการใช้จ่ายเงินอำนวยความสะดวกก็แพร่หลายเมื่อติดต่อกับข้าราชการแนวหน้าในทุกระดับของสังคม
ขณะที่การรณรงค์มีความจำเป็นอย่างมากในระบบที่การคอร์รัปชันเกิดขึ้นเฉพาะถิ่น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการรณรงค์ดังกล่าวได้ส่งผลเสียต่อการทำงานของรัฐบาลด้วย
“เห็นได้ชัดว่าการปราบปรามทำให้เจ้าหน้าที่รัฐและผู้มีอำนาจตัดสินใจบางคนหวาดกลัว เพราะพวกเขาเห็นเพื่อนร่วมงานหลายคนถูกจับกุม บางคนแย้งว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่เหล่านี้ทั้งหมดจงใจทำการทุจริต แต่เนื่องจากระเบียบข้อบังคับที่ซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ บางทีพวกเขาอาจทำผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ” เลฮงเฮียบ นักวิชาการอาวุโสในโครงการเวียดนามศึกษาของสถาบัน ISEAS-Yusof Ishak ในสิงคโปร์กล่าว
บางทีสัญญาณที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุดของสิ่งนี้คือความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องในระดับต่างๆ ของรัฐบาลในการเบิกจ่ายเงินทุนสาธารณะ ซึ่งหมายความว่าเงินที่ถูกกันไว้ไม่ได้ถูกนำไปใช้
ในนครโฮจิมินห์ โครงการสาธารณะ 100 โครงการไม่ได้รับเงินทุนตามแผน ณ กลางปี เนื่องจากความล่าช้าที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าที่ดินและการชดเชย ที่ดินเป็นปัญหาที่ซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อในเวียดนาม และเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ตั้งแต่รถไฟใต้ดินและสะพานไปจนถึงสนามบินและโรงพยาบาลหยุดชะงักทั่วประเทศเนื่องจากความท้าทายในการซื้อที่ดิน
เฮียบกล่าวว่า เมื่อโครงการเหล่านี้ล่าช้า ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมของเวียดนามจะได้รับผลกระทบ และเราสามารถเห็นสถานการณ์ที่คล้ายกันนี้ในภาครัฐอื่นๆ เช่น สถานพยาบาล ที่เจ้าหน้าที่หลายคนถูกจับกุม และโรงพยาบาลหลายแห่งไม่ต้องการดำเนินการจัดซื้อตามปกติ
“ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่จึงอยู่ในโหมดรักษาตัวเอง และกำลังชะลอการตัดสินใจที่สำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในอนาคต หากเกิดความผิดพลาดขึ้น” เฮียบกล่าว
ขณะที่เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้รับการรายงานข่าวจากสื่อในประเทศอย่างหนักและสร้างความลำบากใจให้กับรัฐบาล ผลที่อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นคือเจ้าหน้าที่จะดำเนินการช้ากว่าด้วยนโยบายที่อาจไม่เป็นที่นิยมของสาธารณชน อย่างไรก็ตามหน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ (EIU) ไม่คาดหวังว่าจะมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ใดๆ ที่จะช่วยลดการทุจริตได้ในระยะกลาง
อันดับการรับรู้เรื่องการทุจริตประจำปี 2021 โดย Transparency International จัดอันดับเวียดนามไว้ที่ 87 จาก 180 ประเทศด้วยคะแนน 39/100 ซึ่งคะแนนที่ต่ำนั้นสอดคล้องกับการรับรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ โดยคะแนนของเวียดนามต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของภูมิภาค
‘ก้าวต่อไป’
จากข้อมูลของเฮียบแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลกลางตระหนักดีถึงปัญหาเหล่านี้ แต่แนวทางแก้ไขอาจสร้างความท้าทายเพิ่มเติมให้กับพวกเขาเอง ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่อาจถูกลงโทษหากโครงการสาธารณะไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา หรือหากพวกเขาไม่สามารถเบิกจ่ายเงินทุนสาธารณะที่จัดสรรในปีที่กำหนด“ผมคิดว่าตอนนี้เจ้าหน้าที่กำลังเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” เขาอธิบายและเสริมว่า พวกเขาต้องส่งมอบงานหากพวกเขาต้องการรักษางานไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาด
นอกจากนี้ สิ่งนี้ยังเชื่อมโยงกับปัญหาเชิงระบบอื่นๆ เช่น เงินเดือนที่ต่ำมากที่ข้าราชการได้รับ เงินเดือนพื้นฐานสำหรับพนักงานของรัฐอยู่ที่ประมาณ 60 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,977 บาทต่อเดือน และแม้ว่าคนงานจะมีประสบการณ์และทำเงินได้มากขึ้น รายได้นี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ๆ ส่งผลให้ผู้ตรวจสอบการต่อต้านการทุจริตต้องเผชิญกับความจริงอันโหดร้าย
เฮียบกล่าวว่า หากเจ้าหน้าที่ไม่ขโมยเงิน พวกเขาก็ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน เพราะเงินเดือนของพวกเขาต่ำมาก ดังนั้นหากพวกเขาส่งมอบและทำโครงการให้สำเร็จ พวกเขาคาดหวังที่จะได้รับรางวัล แต่ถ้าพวกเขาไม่สามารถรับเงินใต้โต๊ะได้และเงินเดือนของพวกเขาต่ำมาก พวกเขาจะไม่รู้สึกว่าคุ้มค่ากับความพยายาม