นักวิทย์ออก ‘คู่มือการอยู่รอด’ จากวิกฤตสภาพอากาศ

21 มีนาคม 2566 - 06:20

UN-climate-report-Scientists-release-survival-guide-to-avert-climate-disaster-SPACEBAR-Hero
  • ก่อนหน้านี้ รัฐบาลต่างตกลงที่จะดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่ขณะนี้โลกได้อุ่นขึ้นแล้ว 1.1 องศาเซลเซียส

  • และตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามีแนวโน้มที่อุณหภูมิจะทะลุ 1.5 องศาเซลเซียสในปี 2030

  • ขณะที่รายงานฉบับใหม่ระบุว่า พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติด้านสภาพอากาศที่เพิ่มมากขึ้นได้

อันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า รายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ออกมาใหม่นี้เป็น ‘แนวทางการอยู่รอดของมนุษยชาติ’ 

รายงานระบุว่า พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติด้านสภาพอากาศที่เพิ่มมากขึ้นได้ แต่ในการประชุมที่สวิตเซอร์แลนด์เพื่อให้การรับรองผลการค้นพบนั้น นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศเตือนว่าเราอาจพลาดเป้าหมายสำคัญด้านอุณหภูมิโลกก็เป็นได้ 

นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุด้วยว่า การลดเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างรวดเร็วนั้นสามารถป้องกันผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร  

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลต่างตกลงที่จะดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่โลกได้อุ่นขึ้นแล้ว 1.1 องศาเซลเซียส และตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามีแนวโน้มที่อุณหภูมิจะทะลุ 1.5 องศาเซลเซียสในทศวรรษ  2030 

ขณะที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรระบุว่า ประเทศต่างๆ จะต้องทำงานเพื่อบรรลุข้อผูกพันด้านสภาพอากาศที่ทะเยอทะยานมากขึ้น “สหราชอาณาจักรเป็นผู้นำระดับโลกในการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ แต่เราจำเป็นต้องก้าวไปให้ไกลกว่านั้นและเร็วกว่านี้” โฆษกกล่าว 

รายงานดังกล่าวซึ่งเป็นรายงานจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่คอยให้คำแนะนำแก่สหประชาชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้ได้รับความเห็นชอบจากทุกรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง 

การศึกษาใหม่ของพวกเขานั้นมีเป้าหมายที่จะสรุปข้อค้นพบที่สำคัญหลายประการเกี่ยวกับสาเหตุ ผลกระทบ แนวทางแก้ไขต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ และอธิบายว่าสิ่งเหล่านี้จะเลวร้ายลงกว่าเดิมมาก 

ภายในปี 2100 พบว่าอาจเกิดน้ำท่วมชายฝั่งที่รุนแรงซึ่งเคยเกิดขึ้น 1 ครั้งต่อศตวรรษ โดยมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นอย่างน้อยปีละครั้งในครึ่งหนึ่งของสถานที่วัดระดับน้ำขึ้นน้ำลงของโลก (ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการบันทึกระดับน้ำทะเล) 

ส่วนความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ร้อนขึ้นในชั้นบรรยากาศนั้นอาจสูงที่สุดในรอบ 2 ล้านปี และขณะนี้โลกก็ร้อนขึ้นกว่าครั้งใดๆ ในรอบ 125,000 ปีที่ผ่านมา โดยมีแนวโน้มที่จะอุ่นขึ้นอีกในทศวรรษหน้าด้วย 

การสังเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการปล่อย CO2 ที่คาดการณ์ไว้จากโครงสร้างพื้นฐานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่ เช่น บ่อน้ำมันและท่อส่งก๊าซ จะทำลายงบประมาณคาร์บอนที่เหลืออยู่ (ปริมาณของ CO2 ที่ยังสามารถปล่อยออกมาได้) เพื่อให้อุณหภูมิไม่สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

1.5 องศาฯ อาจไม่ใช่จุดจบของโลก 

“ไม่มีวันสิ้นสุด (สำหรับเชื้อเพลิงฟอสซิล) แต่เป็นที่ชัดเจนว่าโครงสร้างพื้นฐานของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เรามีอยู่แล้วจะทำให้งบประมาณคาร์บอนหมดไป…งบประมาณคาร์บอนที่เหลืออยู่ในการเปิดโครงสร้างพื้นฐานเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่ไม่รองรับเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียสอย่างแน่นอน”  

“และเอกสารระบุอย่างหนักแน่นว่า หากอุณหภูมิทะลุ 1.5 องศาเซลเซียสไปก็จะไม่ใช่จุดจบของโลก เนื่องจากนี่อาจเป็นเพียง ‘การเกินเป้าชั่วคราว’ ” ดร.โอลิเวอร์ เกเดน จากสถาบันเพื่อกิจการระหว่างประเทศและความมั่นคงแห่งเยอรมนีกล่าวกับ BBC News 

นอกจากนี้ในรายงานยังระบุด้วยว่า นอกจากการปล่อยมลพิษสุทธิให้เป็นศูนย์โดยเร็วที่สุดแล้ว ยังจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากอีกด้วย 

ด้านผู้สังเกตการณ์บางคนก็มีข้อสงสัยตามมาว่า “เรารู้ว่าต้องเกิดอะไรขึ้น แต่แนวคิดเรื่องการกำจัดคาร์บอนและแนวคิดในการดักจับและกักเก็บคาร์บอนเป็นสิ่งที่ทำให้ว้าวุ่นใจอย่างมาก” ลิลลี ฟูร์ จากศูนย์กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศกล่าว 

“ทุกประเทศควรนำแผนปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Plans) มาใช้ภายใน 1 ทศวรรษ เพราะเป้าหมายเหล่านี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้ชั้นบรรยากาศโลกของเราอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว” 

“ผู้นำของประเทศที่พัฒนาแล้วต้องให้คำมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ภายในปี 2040 ซึ่งเป็นขีดจำกัดที่พวกเขาทุกคนควรตั้งเป้าที่จะเคารพ” กูเตร์เรส กล่าวทิ้งท้าย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์