วิจัยสหรัฐฯ ชี้เป็นโควิดซ้ำเสี่ยงเสียชีวิต 2 เท่า นักไวรัสวิทยาโต้กลับไม่ต้องกังวล!

22 พ.ย. 2565 - 06:43

  • นักวิจัยเตือนว่า ‘การติดเชื้อซ้ำทุกครั้งก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มเติม’ และกล่าวว่าผู้คนควรให้ความสำคัญกับการป้องกันการเจ็บป่วย

  • จิน ตงเหยียน นักไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวว่า “การติดเชื้อซ้ำไม่ใช่ปรากฏการณ์ทั่วไป และผู้คนไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก”

US-study-getting-Covid-19-more-than-once-raises-risk-heart-lung-physical-problems-SPACEBAR-Thumbnail
งานวิจัยใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Nature Medicine เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เผยว่า การติดโควิด-19 ซ้ำจะทำให้เกิดปัญหาและความเสี่ยงต่อสุขภาพร้ายแรงตามมาหลายประการ  

ซิยาด อัล-อาลี หัวหน้างานวิจัยขององค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเซ็นหลุยส์ และนักระบาดวิทยาที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันในรัฐมิสซูรี กล่าวว่า ผู้คนต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันการติดเชื้อและการติดเชื้อซ้ำ 

“การติดเชื้อซ้ำไม่ได้เป็นพิษเป็นภัยอะไร แต่ผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัส Sars-CoV-2 มาก่อนและกลับเป็นซ้ำ (ติดเชื้อซ้ำ) จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อภาวะแทรกซ้อน (การเข้าโรงพยาบาล การเสียชีวิต และการบาดเจ็บของอวัยวะ) ทั้งในระยะเฉียบพลันและหลังระยะเฉียบพลันของโควิด” อัล-อาลี กล่าว 

นักวิจัยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพแห่งชาติของกระทรวงการทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ และเปรียบเทียบผลลัพธ์สำหรับประชากร 5.3 ล้านคนที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งพบว่า มากกว่า 443,000 คนที่ได้รับการยืนยันการติดโควิด-19 และอีกกลุ่มเกือบ 41,000 คนที่ติดเชื้อ 2 ครั้งขึ้นไป 

นักวิจัยพบว่า ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำมีโอกาสเสียชีวิตถึง 2 เท่าและมีโอกาสเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่าถึง 3 เท่า ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำอาจมีความเสี่ยงต่อปอดและไตเพิ่มขึ้นถึง 3.5 เท่า โดยเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3 เท่าต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าต่อระบบประสาท เมื่อเทียบกับผู้ที่เคยติดเชื้อเพียงครั้งเดียว 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่า การติดโควิดซ้ำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพมากขึ้นในการติดเชื้อแต่ละครั้งเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่เคยไม่ติดเชื้อ 

“การติดเชื้อซ้ำทุกครั้งก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และการติดเชื้อ 3 ครั้งแย่กว่า 2 ครั้ง การติดเชื้อ 2 ครั้งแย่กว่า 1 ครั้ง การติดเชื้อ 1 ครั้งเลวร้ายกว่าการไม่ติดเลย” อัล-อาลี โพสต์บน Twitter 

งานวิจัย ระบุเพิ่มเติมว่า การติดเชื้อซ้ำก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพเพิ่มเติมในระยะเฉียบพลัน กล่าวคือ 30 วันแรกหลังการติดเชื้อซ้ำและระยะหลังเฉียบพลัน ซึ่งครอบคลุมถึง 6 เดือนถัดไป 

อย่างไรก็ดี อัล-อาลี กล่าวกับนิตยสาร Time ว่า งานวิจัยไม่ได้บอกว่าการติดเชื้อครั้งที่ 2 นั้นจะเลวร้ายกว่าการติดเชื้อครั้งแรก “สิ่งที่รายงานแสดงให้เห็นจริงๆ ก็คือ การติดเชื้อเพิ่มเติมมาพร้อมกับความเสี่ยงเพิ่มเติม อาจมีผลกระทบน้อยกว่าการติดเชื้อครั้งแรก แต่สามารถสะสมได้เมื่อเวลาผ่านไป”  

“ถ้าความเสี่ยงของคุณคือ X” จากการติดเชื้อครั้งแรก แต่หลังจากการติดเชื้อครั้งที่ 2  “มันคือ X บวก Y…เราต้องการวัคซีน 2.0 ที่สกัดกั้นการแพร่เชื้อ เช่น วัคซีนทางจมูกที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของเยื่อเมือกที่แข็งแรง [เรายังต้องการ] วัคซีนที่พิสูจน์ความแปรปรวนและวัคซีนที่ทนทานกว่า ซึ่งตามหลักการแล้ว มีอายุ 1 ปีเต็ม” อัล-อาลีกล่าว 

อย่างไรก็ตาม จิน ตงเหยียน นักไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวว่า การติดเชื้อซ้ำไม่ใช่ปรากฏการณ์ทั่วไป และผู้คนไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก 

“อัตราการติดเชื้อซ้ำค่อนข้างต่ำและไม่ใช่ปรากฏการณ์ทั่วไป แม้ว่าผู้คนจะติดเชื้อซ้ำ แต่ส่วนใหญ่อาการของพวกเขาไม่รุนแรง”  

“การพัฒนาอาการรุนแรงในการติดเชื้อซ้ำเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย … และต้องมีการศึกษาเป็นกรณีๆ ไป” จิน กล่าวทิ้งท้าย 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์