‘เนื้อหมี’ ของแปลกที่คนญี่ปุ่นเลิฟ รสชาติใหม่ที่เปลี่ยนแปลงได้ตามฤดูกาล

4 เม.ย. 2566 - 09:08

  • เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์เชิงพาณิชย์ เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อไก่ เนื้อสัตว์ป่ามักถูกดูถูกเหยียดหยาม หรือบางคนคิดว่ามันแปลกเกินไปที่จะทาน

  • แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจที่ ‘เนื้อหมี’ ค่อนข้างเป็นที่นิยมในครัวเรือนในอเมริกาเหนือ และล่าสุดมันถูกนำมาวางขายในตู้ขายของอัตโนมัติในญี่ปุ่น แล้วดันเป็นที่นิยมขายดิบขายดีซะงั้น

What-Does-Bear-Meat-Taste-Like-SPACEBAR-Thumbnail
เนื้อหมีอาจไม่ใช่อาหารอันโอชะยอดนิยมในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบเนื้อสัตว์ทั่วไป แต่ในโลกของเหล่านักล่าสัตว์มันเหมือนเนื้อที่ส่งลงมาจากสวรรค์เลยแหละ!  

เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์เชิงพาณิชย์ เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อไก่ เนื้อสัตว์ป่ามักถูกดูถูกเหยียดหยาม หรือบางคนคิดว่ามันแปลกเกินไปที่จะทาน 

แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจที่ ‘เนื้อหมี’ ค่อนข้างเป็นที่นิยมในครัวเรือนในอเมริกาเหนือ และล่าสุดมันถูกนำมาวางขายในตู้ขายของอัตโนมัติในญี่ปุ่น แล้วดันเป็นที่นิยมขายดิบขายดีซะงั้น อ่านเพิ่มเติม

ทำความรู้จักกับ ‘เนื้อหมี’ กันก่อน

เนื้อหมีนี้ก็มาจากหมี ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่มีอยู่ทั่วซีกโลกใต้และเหนือ เราสามารถพบเห็นหมีได้หลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลก หมีเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีจมูกใช้สำหรับดมกลิ่นที่เป็นเลิศ และออกหากินทั้งเวลากลางวันและกลางคืน  

พฤติกรรมการกินของพวกมันอาจแตกต่างกันไปตามการกินผลเบอร์รี่และพืช ในขณะที่บางตัวกินปลาและสัตว์อื่นๆ ซึ่งเราอาจพูดได้ว่ามันเป็น ‘สัตว์ที่กินไม่เลือก’  

เนื้อหมี จัดอยู่ในประเภทเนื้อแดงที่มีเนื้อสัมผัสคล้ายกับเนื้อวัว ซึ่งเนื้อหมีอาจจะไม่มีสีแดงเท่ากับเนื้อวัว แต่จะมีสีที่เข้มกว่า เช่น สีม่วง-ดำ  

เนื้อหมีมีแคลลอรีต่ำกว่าเนื้อวัวและยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีอีกด้วย แม้ว่าจะยังไม่ใช่ทางเลือกในการบริโภคที่เป็นที่นิยมนัก แต่ในอเมริกาเหนือมีการบริโภคกันเป็น ‘อาหารหลัก’ เลยทีเดียว

รสชาติที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล

ผู้คนส่วนใหญ่ที่เคยชิมเนื้อหมี มักจะบอกว่ามันมีรสชาติคล้ายเนื้อวัว รสชาติจะเหมือนกับเนื้อกวางแต่หวานกว่า และมีสัมผัสคล้ายกับเนื้อหมู ซึ่งลักษณะเฉพาะของเนื้อหมีคือรสชาติที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล 

หมีในฤดูใบไม้ร่วงที่กำลังเตรียมตัวจำศีลจะตัวอ้วนขึ้นและอร่อยขึ้นหากพวกมันกินผลไม้ เช่น บลูเบอร์รี่ หมีฤดูใบไม้ผลิมักจะมีไขมันน้อยกว่าและมีรสชาติอ่อน และข้อที่ควรทราบเลยคือ เนื้อหมีบางตัวอาจมีกลิ่นฉุน และรสชาติไม่ดี หากมันกินปลา หรือสัตว์ที่ตายแล้ว 

ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อรสชาติของเนื้อหมีคือ ‘อายุ’ ของมัน 

เนื้อของหมีที่อายุน้อยกว่าจะนุ่มและอ่อนกว่าของหมีที่มีอายุมาก เมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ เหล่านี้แล้ว การกำหนดรสชาติของเนื้อหมีจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย ดังนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถเลือกเนื้อหมีตามใจชอบได้ 

โดยรวมแล้ว เนื้อหมีมีคุณค่าทางโภชนาการและอร่อยหากปรุงอย่างเหมาะสมโดยใช้ส่วนผสมที่เหมาะสม เป็นแหล่งวิตามินี B ธาตุเหล็ก และโปรตีนที่ดี ซึ่งแตกต่างจากเนื้อสัตว์เชิงพาณิชย์ตรงที่หาเนื้อสัตว์ป่าไม่ได้ง่ายๆ ในตลาด เว้นแต่เราจะชอบล่าสัตว์ นอกจากนี้ บางประเทศสั่งห้ามให้มีการล่าหมี เนื่องจากการสูญพันธุ์หรือมีกฎและข้อบังคับเฉพาะ 

เมนูจากเนื้อหมีของดีที่น่าลอง(?) 

แม้ว่าเนื้อหมีจะกินได้ แต่ก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของมัน โดยทั่วๆ ไปเนื้อของสัตว์ป่า จะมีข้อสงสัยว่ามีปรสิตและแบคทีเรียอื่นๆ ในตัว ซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วว่าเนื้อหมี เป็นพาหะนำโรคต่างๆ ถึงกระนั้นก็ยังป้องกันได้ 

เราอาจจะเคยได้ยินโรคทริคิโนซิสในเนื้อหมูที่เกิดจากพยาธิตัวกลม ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ด้วยการปรุงให้สุกทั้งหมด ซึ่งวิธีการนี้สามารถใช้ได้กับเนื้อหมีเช่นกัน  

ซึ่งเนื้อหมีนี้สามารถนำไปทำได้หลากหลายเมนูเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอก สเต็ก เนื้อเจอร์กี้ เบคอน ทาโก้ และสตูว์

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์