ไขข้อสงสัย! นักบินอวกาศกินอะไรเวลาที่ปฏิบัติภารกิจอยู่นอกโลก?

12 เม.ย. 2566 - 09:28

  • เมื่อนักบินอวกาศต้องเผชิญกับสภาวะไร้แรงโน่มถ่วงนอกโลก พวกเขามีวิธีกินอาหารแบบไหน?

  • อาหารที่กินได้ในอวกาศมีอะไรบ้าง? และอาหารต้องห้ามคืออะไร?

What-how-Do-Astronauts-Eat-In-Space-SPACEBAR-Thumbnail
เมื่อต้องไปอยู่นอกโลกหรือในอวกาศซึ่งเป็นสภาวะที่ไร้น้ำหนักและแรงโน้มถ่วงนั้น แน่นอนว่านักบินอวกาศต้องมีทักษะและร่างกายที่พร้อมในระดับหนึ่งเลย หลายๆ คนอาจจะเคยเห็นมาบ้างแล้วกับภาพนักบินอวกาศกำลังกินอาหารอยู่บนยานภารกิจหรือสถานีอวกาศ แต่เคยสงสัยไหมว่านักบินอวกาศเหล่านั้นกินอาหารแบบไหนในอวกาศกันนะ? พวกเขากินอาหารเหมือนเราหรือเปล่า? หรืออาหารชนิดใดที่ห้ามกินเด็ดขาด? แล้วพวกเขากินอย่างไรแบบที่ไม่ให้อาหารลอยออกมา? รสชาติอร่อยไหม? 

ฟังดูแล้วอาจดูเป็นเรื่องสนุกและท้าทายสำหรับบางคน ทว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสภาวะที่ไร้น้ำหนักแบบนั้น ต่อไปนี้คือสาระเรื่องกินของนักบินอวกาศเวลาที่พวกเขาปฏิบัติภารกิจอยู่นอกโลก 

กินอาหารอย่างไรในสภาวะไร้น้ำหนัก 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/62HesTseasDSec8GHFONZT/e29dc0b461ab36651b6d012736a4acbf/What-how-Do-Astronauts-Eat-In-Space-SPACEBAR-Photo02
Photo: ลูกเรือกำลังรับประทานอาหารที่ห้องครัวในโมดูล (Unity node) ของสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) (Photo: NASA)
ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำเช่นนี้ การกินอาหารก็ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายด้วยเช่นเดียวกัน ไม่เพียงแต่ปัญหาหลักในเรื่องของการนำอาหารจากบรรจุภัณฑ์เข้าสู่ปากของนักบินอวกาศเท่านั้น แต่กระบวนการเตรียมอาหาร หรือการคุมแคลอรี่เพื่อให้ร่างกายมีความสมดุลก็ยุ่งยากไม่แพ้กัน 

โดยทั่วไปแล้วอาหารอวกาศมักจะอยู่ในรูปของบรรจุภัณฑ์พลาสติกหรือกระป๋อง เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารลอยออกไปเวลารับประทาน ซึ่งบรรจุภัณฑ์มักจะมีแถบตีนตุ๊กแก เทป สายรัด หรือแม่เหล็กเพื่อเอาไว้ติดกับถาดหรือโต๊ะได้  

นอกจากนี้ เวลารับประทานอาหารบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) นั้นยังต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมอย่างกรรไกรไว้สำหรับเปิดถุงผนึกสุญญากาศและถุงรีทอร์ตเพาซ์ที่บรรจุอาหารอวกาศ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5rxFONZbWyH1nesKAGU6pi/a4a729b31f54b3c8afe6083ef1b70713/What-how-Do-Astronauts-Eat-In-Space-SPACEBAR-Photo03
Photo: นักบินอวกาศ เซอร์เกย์ เทรชเชฟ และ เพ็กกี วิตสัน กำลังรับประทานอาหารบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) (Photo: NASA)
แน่นอนว่าหลายคนอาจคิดว่าซุปไม่ใช่ตัวเลือกสำหรับนักบินอวกาศ ทว่าอาหารที่มีปริมาณน้ำสูงก็ไม่ใช่ปัญหาที่มากเกินไป เพราะโดยทั่วไปแล้วของเหลวจะติดอยู่กับบรรจุภัณฑ์และภาชนะที่ใช้รับประทานเนื่องจากแรงตึงผิว 

ส่วนเวลาดื่มเครื่องดื่มชดเชยการสูญเสียน้ำจากซองนั้นจะมีหลอดที่ดัดแปลงเป็นพิเศษพร้อมตัวล็อคเพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวลอยออกจากหลอด ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างจากการรับประทานซุปจากห่อ เพราะเมื่อน้ำไหลขึ้นไปบนหลอดแล้ว จะมีพื้นผิวให้เกาะติดน้อยมากและสามารถลอยออกไปได้ 

ในส่วนของเครื่องปรุงรสอาหารด้วยเครื่องเทศพื้นๆ อย่างพริกไทยก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน จึงไม่สามารถพกไปในอวกาศได้ แต่วิธีแก้ปัญหาของเหล่านักบินอวกาศก็คือ การบรรจุเครื่องปรุงรสในรูปแบบของเหลวนั่นเอง และสำหรับรสชาติอาหารส่วนใหญ่นั้นนักบินอวกาศจะรับรสอาหารที่ค่อนข้างจืดชืด ด้วยเหตุนี้จึงมักทำให้พวกเขาชอบอาหารที่มีรสชาติเข้มข้น โดยเฉพาะรสหวาน เค็ม ขม และเผ็ดเป็นพิเศษ 

หลังจากทานอาหารเสร็จ การทำความสะอาดจะแตกต่างออกไปจากบนพื้นโลกเล็กน้อย เนื่องจากไม่มีอ่างสบู่สำหรับล้างมือและช้อนส้อม ซึ่งนักบินอวกาศจะใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อหรือค่อยๆ บีบน้ำและสบู่เหลวเจือจางลงบนผิว จากนั้นก็เช็ดน้ำส่วนเกินออก 

อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ นักบินอวกาศจำเป็นต้องกินอาหารให้หมด โดยเหตุผลส่วนหนึ่งก็เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับแคลอรีเพียงพอ และอีกนัยหนึ่งก็เพื่อรักษาความสะอาดไม่ให้แบคทีเรียแพร่กระจาย ตลอดจนป้องกันไม่ให้มีขยะส่งกลิ่นบนสถานี ISS เวลาที่ทิ้งบรรจุภัณฑ์อาหารอีกด้วย 

ชมคลิปนักบินอวกาศทานอาหาร

กระบวนการเตรียมอาหารอวกาศ

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3Ud85yDk9U3oG0uPAJs1z7/3010cab18fbf7ab956d28d695dc7d17a/What-how-Do-Astronauts-Eat-In-Space-SPACEBAR-Photo04
Photo: ตัวอย่างอาหารที่นักบินอวกาศรับประทานบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) โดยจะมีแม่เหล็ก และแถบตีนตุ๊กแกติดเพื่อยึดช้อนส้อมและซองอาหารกับถาด (Wikipedia / NASA)
ทุกวันนี้ การจัดเตรียมอาหารสำหรับนักบินอวกาศของ NASA นั้นจะเป็นไปในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หีบห่อ ซึ่งจัดโดยห้องแล็บอาหาร Space Food Systems Laboratory (SFSL) ในสถาบันวิจัย Johnson Space Center เมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส โดยนักบินอวกาศสามารถเลือกอาหารที่พวกเขาต้องการสำหรับการปฏิบัติภารกิจได้ด้วย 

สำหรับการเตรียมอาหารนั้นต้องคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ และประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับลูกเรือด้วย ในส่วนของภารกิจที่ยาวนานเป็นปีๆ ก็ต้องทำให้อาหารอวกาศมีอายุการเก็บรักษานาน ซึ่งหมายความว่าอาหารเหล่านั้นจะต้องปลอดภัยที่จะรับประทานหลังจากผ่านไปหลายเดือนหรือหลายปีที่อุณหภูมิแวดล้อมหรืออุณหภูมิห้อง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7gcliqd4M1DSQHyRmimlPe/4e19404ffdb6948b356de931f5d19763/What-how-Do-Astronauts-Eat-In-Space-SPACEBAR-Photo05
Photo: ‘ไอศกรีมนักบินอวกาศ’ (Wikipedia)
และเมื่อพูดถึงอาหารในอวกาศ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง ‘ไอศกรีมนักบินอวกาศ’ (สันนิษฐานว่าเคยถูกนำไปเป็นอาหารอวกาศในภารกิจ Apollo 7) ซึ่งเป็นไอศกรีมที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารที่เรียกว่า ‘การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze drying)’ ซึ่งสอดคล้องกับการแช่แข็งอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วที่อุณหภูมิประมาณ -40 องศาฟาเรนไฮต์  

จากนั้น อาหารจะถูกใส่เข้าไปในห้องสุญญากาศและให้ความร้อนเพื่อให้ปริมาณน้ำในอาหารระเหิด หรือเปลี่ยนสถานะโดยตรงจากของแข็ง (น้ำแข็ง) เป็นก๊าซ (ไอน้ำ) ซึ่งไอน้ำจะถูกดูดออกจากห้องสุญญากาศ โดยทำซ้ำหลายๆ ครั้งเท่าที่จำเป็นเพื่อกำจัดปริมาณน้ำในอาหารเกือบทั้งหมด
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/VQLfNYOPx72rN6nAdz2Jb/f4cf5470d25c14b0f64716faab8533e2/What-how-Do-Astronauts-Eat-In-Space-SPACEBAR-Photo06
Photo: นักบินอวกาศ NASA เทอร์รี เวิร์ตส์ นำเสนอเมนู ‘ชีสเบอร์เกอร์อวกาศ’ (Photo: NASA)
กระบวนการนี้ฆ่าแบคทีเรียบางส่วนไม่ให้เพิ่มจำนวนได้แต่ไม่ใช่ทั้งหมด และทำให้อาหารไม่เน่าเสียเท่านั้น นอกจากนี้ การทำแห้งแบบเยือกแข็งยังช่วยลดน้ำหนักบรรทุกของอาหารได้อย่างมาก และรักษาสารอาหารไว้ได้มากที่สุด อีกทั้งยังสกัดน้ำออกได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการถนอมอาหารแบบอื่นๆ อีกด้วย 

ส่วนกระบวนการทั่วไปอื่นๆ ที่ทำให้อาหารในอวกาศมีอายุยืนยาว ได้แก่ การคงสภาพของอาหารในอวกาศด้วยการทำให้กระป๋องหรือถุงบรรจุภัณฑ์ได้รับความร้อนและความดันสูง ตลอดจนการฉายรังสี ซึ่งทำให้อาหารและบรรจุภัณฑ์ได้รับรังสีไอออไนซ์ (Ionizing radiation) 

ทั้งสองกระบวนการนี้ช่วยกำจัดแบคทีเรียที่อาจทำให้อาหารเน่าเสีย ลดอายุการเก็บรักษาและทำให้บริโภคไม่ได้ นอกจากนี้ นักบินอวกาศยังสามารถรับประทานอาหารในตู้เก็บอาหารตามปกติในรูปแบบธรรมชาติ เช่น ถั่ว กราโนลาแท่ง ลูกกวาด คุกกี้ และอื่นๆ ที่บรรจุใหม่ในห้องปฏิบัติการระบบอาหารอวกาศ 

นักบินอวกาศทานอาหารแบบไหน?

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/UTvmUe3k8C4u3jbYMwkar/e07c053ce96d1aacd50a8a08ee41dcd1/What-how-Do-Astronauts-Eat-In-Space-SPACEBAR-Photo07
Photo: Wikipedia / NASA
  • อาหารสด อย่างผลิตผลที่มีอายุการเก็บ 2 วัน เช่น ผักผลไม้จะถูกแช่เย็นบนยานอวกาศและบริโภคอย่างรวดเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงการเน่าเสีย  
  • อาหารฉายรังสี เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมจะต้องมีการฉายรังสีไอออไนซ์ก่อนบรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยเพิ่มอายุการเก็บรักษาและลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ เช่น สเต็กเนื้อ 
  • อาหารกึ่งแห้ง / อาหารที่มีความชื้นต่ำ อาหารที่ไม่เสียเร็วเหมือนอาหารสด มักจะมีน้ำในปริมาณเล็กน้อย (ต่ำพอที่จะจำกัดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์) และมักมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม เช่น ลูกพรุน ลูกกวาด เค้กผลไม้ และขนมอบ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/9YN7ocDGPgsJqVv0SW4Tj/694aa2f7736a10c1f69aef1018d16dc0/What-how-Do-Astronauts-Eat-In-Space-SPACEBAR-Photo08
Photo: Wikipedia/ RadioFan
  • อาหารในรูปแบบธรรมชาติ เช่น ถั่ว บิสกิต กราโนลา ช็อกโกแลตแท่งพร้อมรับประทาน ตอร์ติญา เป็นต้น 
  • อาหารและเครื่องดื่มแบบ ‘Rehydratable’ การนำน้ำออกจากอาหารหรือเครื่องดื่มทำให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนได้ยาก ยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ และลดโอกาสการเน่าเสียได้ เช่น มันบดสำเร็จรูป ไข่คน ค็อกเทลกุ้ง 
  • อาหารที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (Thermostabilized) หรือเรียกง่ายๆ ว่า 'อาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน' เป็นกระบวนการที่ฆ่าแบคทีเรียโดยใช้ความร้อนแล้วปิดผนึกผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็วในบรรจุภัณฑ์ที่กันอากาศเข้าไม่ได้ เช่น เค้กพุดดิงช็อกโกแลต ไก่งวง 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/64fMW9RZpIKrGr7U63YEmy/518e0b5e1cc104cc8bb154ec2358bfb2/_________________________

อาหารต้องห้าม ‘เด็ดขาด’

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/MXuusNCBhnlRt5bnpfVw1/711ddfcea142a0a26797dec69d6204ba/What-how-Do-Astronauts-Eat-In-Space-SPACEBAR-Photo09
Photo: NASA
  • ขนมปัง ขนมปังขาดกระบวนการถนอมอาหารในอวกาศและอายุการเก็บรักษานานๆ นอกจากนี้ ขนมปังอาจทิ้งเศษที่สามารถลอยออกไปและอุดตันช่องระบายอากาศได้ 
  • แอลกอฮอล์ อาจส่งผลต่อสมองและพฤติกรรมของนักบินอวกาศ ทำให้พวกเขาไม่มีความชัดเจนทางจิตใจในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด 
  • เกลือ พริกไทย เครื่องเทศและเครื่องปรุงรสอื่นๆ ซึ่งเป็นอันตรายอาจไปอุดตันช่องระบายอากาศ ปนเปื้อนอุปกรณ์ หรือติดอยู่ในตา ปาก หรือจมูกของนักบินอวกาศได้ 
  • เครื่องดื่มอัดลม เช่น โซดาและโค้กนั้น หากว่านำขึ้นไปบนอวกาศ มันจะมีความแตกต่างจากบนโลกตรงที่ฟองคาร์บอนไดออกไซด์ไม่หลุดออกจากเครื่องดื่มและยังคงอยู่ในของเหลว ซึ่งสิ่งนี้อาจทำให้ระบบย่อยอาหารของนักบินอวกาศไม่ดี 
  • ไอศกรีมนักบินอวกาศ เนื่องจากมันขาดน้ำและร่วน ซึ่งอาจรบกวนอุปกรณ์และสร้างสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นในสภาวะไร้น้ำหนักได้ 
  • ปลาที่มีกลิ่นแรง อาจทำให้ยานมีกลิ่นเหม็นอบอวลหลายวัน ประกอบกับปลาไม่สามารถเก็บไว้ได้นานด้วย 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์