‘การดักจับคาร์บอน’ คืออะไร? ช่วยแก้ภาวะโลกร้อนได้จริงหรือ?

1 มีนาคม 2566 - 10:22

What-is-Carbon-capture-how-does-fight-climate-change_-SPACEBAR-Hero
  • ‘Carbon Capture’ กระบวนการดักจับคาร์บอน เทคโนโลยีอีกทางเลือกหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

จากกระแสข่าวที่สหราชอาณาจักรเตรียมวางแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าดักจับคาร์บอนขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกซึ่งได้รับอนุญาตแล้ว 

เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน (Carbon Capture) เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลสำหรับการอนุญาตให้มีเหมืองถ่านหินแห่งใหม่ ซึ่ง ไมเคิล โกฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเคหะ ชุมชน และรัฐบาลท้องถิ่นแห่งสหราชอาณาจักร อ้างว่าจะทำให้เป็น ‘Net Zero’ (การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น 0) แต่นักวิจารณ์โต้แย้งว่า เทคโนโลยีที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์นั้นไม่ได้ใช้งานเชิงพาณิชย์ในสหราชอาณาจักร 

โรงงานดักจับคาร์บอนได้รับการออกแบบให้หยุดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ส่วนใหญ่ที่ผลิตขึ้น และปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ 

แล้วเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนที่ว่านี้สามารถต่อสู้กับโลกร้อนได้จริงๆ หรือ? 

การดักจับคาร์บอนคืออะไร? 

การดักจับคาร์บอนเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน เนื่องจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ในชั้นบรรยากาศทำให้โลกของเราร้อนขึ้นตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม  

ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมพบว่า ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศของอยู่ที่ 280 ส่วนต่อล้าน (PPM) แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 415 PPM ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตรา 2.5 PPM ในแต่ละปีที่ผ่านมา 

ด้วยระดับคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น การดักจับคาร์บอนทำให้เรามีเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายหลักของข้อตกลงปารีส นั่นคือ การจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส (2.7 องศาฟาเรนไฮต์) ทั้งนี้ พบว่า การดักจับก๊าซที่โรงไฟฟ้าก่อนที่จะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศจะช่วยลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย 

การดักจับคาร์บอนทำงานอย่างไร?

การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่าง น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้นจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

กระบวนการดักจับคาร์บอนจะหยุดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมา และนำกลับมาใช้ใหม่หรือเก็บไว้ใต้ดิน 

รัฐบาลสหราชอาณาจักรต้องการโรงไฟฟ้าใหม่ที่ดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้ทะเลเหนือ หรือเก็บไว้ในแหล่งกักเก็บน้ำมันและก๊าซเก่า หรือหินที่ซึมผ่านได้ที่เรียกว่า ‘ชั้นหินอุ้มน้ำเค็ม’ 

เหตุใดจึงต้องมีการดักจับคาร์บอน? 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/10Ub5SsasOJEH65tm3SCYY/431496fe75aefd1a32bd05beba522742/What-is-Carbon-capture-how-does-fight-climate-change_-SPACEBAR-Photo02
โรงไฟฟ้าดักจับคาร์บอนเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะกำจัดคาร์บอนออกจากการผลิตไฟฟ้าของสหราชอาณาจักรภายในปี 2035 โดยหวังว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย 1 แห่งภายในกลางปี 2020 แม้ว่าเส้นตายดังกล่าวจะดูเป็นไปไม่ได้ก็ตาม 

ปัจจุบันมีการขยายตัวอย่างมากด้านพลังงานหมุนเวียนในทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ลมนอกชายฝั่ง อย่างไรก็ดี โรงไฟฟ้าดักจับคาร์บอนถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาควบคู่กับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่เพิ่มขึ้น และเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วอื่นๆ เช่น ไฮโดรเจน 

โรงไฟฟ้าแห่งใหม่จะสร้างที่ไหน? 

ในตอนนี้มีอยู่หลายข้อเสนอที่อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าดักจับคาร์บอนที่ไหน? ข้อเสนอแรก คือ สร้างแถวหมูบ้าน Keadby ในเขตนอร์ทลินคอล์นเชอร์ และข้อเสนอที่ 2 ใกล้กับเมือง Redcar เขตนอร์ทยอกเชอร์ ซึ่งโรงไฟฟ้าจะต้องมีการสร้างท่อเพื่อขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จับได้ไปไว้ใต้ทะเลเหนือเพื่อจัดเก็บ 

จากความคืบหน้าล่าสุดคาดว่า โรงงาน Keadby 3 เขตนอร์ทลินคอล์นเชอร์นั้นเป็นโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) แห่งแรกที่รัฐบาลเปิดไฟเขียว 

โรงไฟฟ้าจะกำจัด CO2 ได้ประมาณเท่าใด? 

ในปี 2021 สหราชอาณาจักรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 425 ล้านตัน ซึ่งลดลงเกือบ 50% ตั้งแต่ปี 1990  

ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่จะดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ระหว่าง 20-30 ล้านตันต่อปีภายในปี 2030 ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นเดียวกับการผลิตกระแสไฟฟ้า

การดักจับคาร์บอนมีค่าใช้จ่ายเท่าไร? 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/KAutS0vmSeSnvjshYVuLL/aa366fc79be785d75e240160aa340579/What-is-Carbon-capture-how-does-fight-climate-change_-SPACEBAR-Photo03
เทคโนโลยีนี้มีมานานหลายทศวรรษแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมที่จับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสามารถนำมาใช้ใหม่ได้  

เมื่อถามถึงค่าใช้จ่ายของโรงไฟฟ้าก๊าซแห่งใหม่ที่ Keadby ซึ่งจ่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเกือบล้านหลังจะอยู่ที่ 350 ล้านปอนด์ (ราว 1.4 หมื่นล้านบาท) 

แคทเธอรีน รอว์ จากบริษัทพลังงาน SSE กล่าวกับ BBC ว่า “การสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซที่มีขนาดใกล้เคียงกันโดยมีการดักจับคาร์บอนจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า” ความหวังก็คือ ราคาอาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายของพลังงานหมุนเวียนอาจจะลดลงในทศวรรษที่ผ่านมา 

มีหลายคนที่มองว่าการดักจับคาร์บอนมีราคาแพงเกินไป และเชื่อว่าควรนำเงินไปใช้กับพลังงานหมุนเวียนและแหล่งกักเก็บพลังงาน (เช่น แบตเตอรี่) จะดีกว่า 

“โรงไฟฟ้าเหล่านี้ดูเหมือนเป็นข้อแก้ตัวอีกประการหนึ่งสำหรับรัฐบาลในการแสดงความได้เปรียบในวงการอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ทำให้พลังงานมีราคาแพงขึ้นจนเป็นข้อเสียของคนอื่นๆ” ดร.ดั๊ก พาร์ จากกลุ่มรณรงค์กรีนพีซแห่งสหราชอาณาจักรกล่าว 

ประเทศอื่นมีการดักจับคาร์บอนหรือไม่? 

ตามรายงานของ Global CCS Institute พบว่า ในเดือนกันยายน 2022 มีโรงงานดักจับคาร์บอนเพียง 30 แห่งทั่วโลก และเกือบทั้งหมดติดกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การแปรรูปก๊าซธรรมชาติหรือการผลิตปุ๋ย 

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พวกเขาก็หวังว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ จะใช้ท่อส่งของโรงไฟฟ้าในสหราชอาณาจักรเพื่อกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้ทะเลเหนือ 

และปัจจุบันมีโรงไฟฟ้ากักเก็บคาร์บอนเพียงแห่งเดียวที่ดำเนินการอยู่ก็คือ โรงไฟฟ้าถ่านหินที่เขื่อน Boundary Dam ทางตะวันตกของแคนาดา 

นอกจากนี้ พบว่าโรงไฟฟ้าก๊าซดักจับคาร์บอนหลายแห่งที่คล้ายกับที่เสนอในสหราชอาณาจักรนั้นกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ 

การดักจับคาร์บอนสามารถสู้กับโลกร้อนได้จริงหรือไม่? 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1uTqt4f8ZTpNFlIMUTirxL/42f452fdee0c7f1ab080adce286b5189/What-is-Carbon-capture-how-does-fight-climate-change_-SPACEBAR-Photo04
Photo: SAUL LOEB / AFP
การดักจับคาร์บอนมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องต่อสู้ด้วยกลยุทธ์ต่างๆ มากมาย เพราะ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวการหลักที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนซึ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยิ่งคาร์บอนถูกกำจัดและป้องกันออกจากชั้นบรรยากาศมากเท่าไหร่ โลกก็จะยิ่งอบอุ่นน้อยลงและสัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ 

เมื่อเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนดีขึ้น เราก็จะเห็นอุตสาหกรรมต่างๆ ลดปริมาณคาร์บอนในชั้นบรรยากาศด้วย ในขณะที่เรารอการปรับปรุงเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนโดยตรง สำหรับตอนนี้โอกาสที่ดีที่สุดของเราก็คือการสนับสนุนโครงการเพื่อความยั่งยืนร่วมด้วย 

หากถามว่าการดักจับคาร์บอนต่อสู้กับโลกร้อนได้จริงหรือไม่? คำตอบที่ได้ก็คือ ได้ แต่ว่ากระบวนการของมันอาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย 

แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนที่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีเครื่องมือมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ การจับคาร์บอนจากโรงงานไฟฟ้าได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมาก และการดักจับคาร์บอนโดยตรงจากอากาศถือเป็นโอกาสที่ดีในการลดระดับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์