ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นช่วงที่วงการดาราศาสตร์มีความก้าวหน้าอย่างมาก ตั้งแต่การเปิดตัวเทคโนโลยีอวกาศอย่างกล้องโทรทรรศน์เจมส์ เวบบ์ (JWST) ที่รอคอยมานานเมื่อปลายปี 2021 ตลอดจนมีการปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศกันอย่างเฟื่องฟูทั้งของจีน รัสเซีย รวมถึงสหรัฐฯ อีกด้วย ซึ่งแต่ละประเทศก็ยังคงแข่งขันกันเพื่อสร้างประวัติการณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2022 ที่หลายๆ ประเทศต่างก็สนใจการสำรวจดวงจันทร์ ดาวอังคาร อีกทั้งยังมีการค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกอยู่หลายดวงด้วย โดยตลอดทั้งปีนี้เราต่างก็ได้เห็นภาพถ่ายอวกาศอันน่าทึ่งจากกล้องโทรทัศน์เจมส์ เวบบ์มากมาย ในขณะเดียวกัน NASA ก็ประสบความสำเร็จจากการส่งยานไปสำรวจดาวอังคารและล่าสุดช่วงเดือนพฤศจิกายน 2022 กับการส่งยานภารกิจสำรวจดวงจันทร์ Artemis-I ซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มต้นภารกิจได้ดีเลยทีเดียว
ส่วนในปีนี้ (2023) ก็มีแนวโน้มว่าจะมียานภารกิจทั้งแบบสำรวจอวกาศและแบบเชิงพาณิชย์หลายลำที่พุ่งออกจากโลกของเราไปสู่วงโคจรนอกโลก อีกทั้งการดำเนินการสานต่อภารกิจสำรวจดวงจันทร์ที่ NASA ได้เริ่มไว้อย่างดีในปีที่แล้ว (2022)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2022 ที่หลายๆ ประเทศต่างก็สนใจการสำรวจดวงจันทร์ ดาวอังคาร อีกทั้งยังมีการค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกอยู่หลายดวงด้วย โดยตลอดทั้งปีนี้เราต่างก็ได้เห็นภาพถ่ายอวกาศอันน่าทึ่งจากกล้องโทรทัศน์เจมส์ เวบบ์มากมาย ในขณะเดียวกัน NASA ก็ประสบความสำเร็จจากการส่งยานไปสำรวจดาวอังคารและล่าสุดช่วงเดือนพฤศจิกายน 2022 กับการส่งยานภารกิจสำรวจดวงจันทร์ Artemis-I ซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มต้นภารกิจได้ดีเลยทีเดียว
ส่วนในปีนี้ (2023) ก็มีแนวโน้มว่าจะมียานภารกิจทั้งแบบสำรวจอวกาศและแบบเชิงพาณิชย์หลายลำที่พุ่งออกจากโลกของเราไปสู่วงโคจรนอกโลก อีกทั้งการดำเนินการสานต่อภารกิจสำรวจดวงจันทร์ที่ NASA ได้เริ่มไว้อย่างดีในปีที่แล้ว (2022)
มุ่งหน้าสู่ ‘ดวงจันทร์’ ยังคงเป็นเป้าหมายหลัก

แน่นอนว่าในปี 2023 ทั้ง NASA และ องค์การอวกาศยุโรป (ESA) ต่างก็มีแพลนใหญ่สำหรับการศึกษาวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ห่างไกลออกไปนอกวงโคจรของโลก ซึ่งจุดหมายปลายทางส่วนใหญ่มักเป็นดาวอังคารและดวงจันทร์
‘JUpiter Icy’ ยานอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ของ ESA หรือภารกิจ JUICE จะศึกษาดวงจันทร์น้ำแข็งกาลิเลียน หรือดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี ได้แก่ ยูโรปา คัลลิสโต และแกนีมีด ซึ่งในบรรดาดวงจันทร์ทั้ง 3 ดวงนั้น ยูโรปาจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากมีมหาสมุทรขนาดใหญ่แผ่ปกคลุมไปทั่วดาวซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้
ขณะเดียวกันก็มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าดาวคัลลิสโตและแกนีมีดอาจจะมีมหาสมุทร้ำอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งยานภารกิจ JUICE มีกำหนดปล่อยจรวด Ariane 5 จากเฟรนช์เกียนาในช่วงเดือนเมษายนปีนี้ (2023) และจะถึงดาวพฤหัสบดีในปี 2031 โดยยานจะบินผ่านดวงจันทร์ทั้ง 3 ดวงเพื่อเปรียบเทียบดาวน้ำแข็งทั้งหมด
ทั้งนี้ ยานภารกิจ JUICE จะเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์แกนีมีดในปี 2034 ซึ่งมันจะเป็นครั้งแรกที่ยานอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ที่อยู่นอกโลก โดยจะใช้เวลาราว 1 ปีในการศึกษาดาว นอกจาก แกนีมีด จะมีข้อสันนิษฐานว่ามีมหาสมุทรและอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่แล้ว ยังเป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสนามแม่เหล็กในตัวเอง โดย JUICE จะศึกษาว่าสนามนี้มีปฏิสัมพันธ์กับดาวพฤหัสบดีที่มีขนาดใหญ่กว่าอย่างไร
ในขณะที่ ภารกิจ ‘Psyche หรือไซคี’ ของ NASA จะถูกปล่อยขึ้นไปไม่ช้ากว่าวันที่ 10 ตุลาคม ในภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อยไซคี 16 ซึ่งเดิมทีมีกำหนดเปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2022 แต่ล่าช้าไปเนื่องจากปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ห้องแล็บ NASA หรือ JPL
ดาวเคราะห์น้อยไซคี 16 หรือที่เรารู้จักกันว่าเป็น ‘ดาวเคราะห์น้อยทองคำ’ เนื่องจากเต็มไปด้วยแร่โลหะ โดยเฉพาะเหล็ก นิกเกิล รวมถึงทองคำ ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่าอาจเป็นแกนกลางของดาวเคราะห์ก่อกำเนิดที่ก่อตัวขึ้นในระบบสุริยะยุคแรก และหากทฤษฎีดังกล่าวเป็นเรื่องจริง ยานภารกิจ Psyche อาจเดินทางไกลหลายล้านไมล์เพื่อให้นักดาราศาสตร์ศึกษาแกนเหล็กของโลกได้ละเอียดมากขึ้น
‘JUpiter Icy’ ยานอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ของ ESA หรือภารกิจ JUICE จะศึกษาดวงจันทร์น้ำแข็งกาลิเลียน หรือดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี ได้แก่ ยูโรปา คัลลิสโต และแกนีมีด ซึ่งในบรรดาดวงจันทร์ทั้ง 3 ดวงนั้น ยูโรปาจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากมีมหาสมุทรขนาดใหญ่แผ่ปกคลุมไปทั่วดาวซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้
ขณะเดียวกันก็มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าดาวคัลลิสโตและแกนีมีดอาจจะมีมหาสมุทร้ำอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งยานภารกิจ JUICE มีกำหนดปล่อยจรวด Ariane 5 จากเฟรนช์เกียนาในช่วงเดือนเมษายนปีนี้ (2023) และจะถึงดาวพฤหัสบดีในปี 2031 โดยยานจะบินผ่านดวงจันทร์ทั้ง 3 ดวงเพื่อเปรียบเทียบดาวน้ำแข็งทั้งหมด
ทั้งนี้ ยานภารกิจ JUICE จะเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์แกนีมีดในปี 2034 ซึ่งมันจะเป็นครั้งแรกที่ยานอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ที่อยู่นอกโลก โดยจะใช้เวลาราว 1 ปีในการศึกษาดาว นอกจาก แกนีมีด จะมีข้อสันนิษฐานว่ามีมหาสมุทรและอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่แล้ว ยังเป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสนามแม่เหล็กในตัวเอง โดย JUICE จะศึกษาว่าสนามนี้มีปฏิสัมพันธ์กับดาวพฤหัสบดีที่มีขนาดใหญ่กว่าอย่างไร
ในขณะที่ ภารกิจ ‘Psyche หรือไซคี’ ของ NASA จะถูกปล่อยขึ้นไปไม่ช้ากว่าวันที่ 10 ตุลาคม ในภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อยไซคี 16 ซึ่งเดิมทีมีกำหนดเปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2022 แต่ล่าช้าไปเนื่องจากปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ห้องแล็บ NASA หรือ JPL
ดาวเคราะห์น้อยไซคี 16 หรือที่เรารู้จักกันว่าเป็น ‘ดาวเคราะห์น้อยทองคำ’ เนื่องจากเต็มไปด้วยแร่โลหะ โดยเฉพาะเหล็ก นิกเกิล รวมถึงทองคำ ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่าอาจเป็นแกนกลางของดาวเคราะห์ก่อกำเนิดที่ก่อตัวขึ้นในระบบสุริยะยุคแรก และหากทฤษฎีดังกล่าวเป็นเรื่องจริง ยานภารกิจ Psyche อาจเดินทางไกลหลายล้านไมล์เพื่อให้นักดาราศาสตร์ศึกษาแกนเหล็กของโลกได้ละเอียดมากขึ้น
‘อินเดีย’ พุ่งเป้าเดินทางกลับสู่ดวงจันทร์อีกครั้ง

องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) ตั้งเป้าหมายที่จะเดินทางกลับไปยังดวงจันทร์ด้วยยานภารกิจ ‘Chandrayaan-3 หรือจันทรายาน’ ซึ่งมีกำหนดเปิดตัวในช่วงฤดูร้อนนี้ หลังจากยานภารกิจ Chandrayaan-2 ประสบความล้มเหลวในปี 2019 เนื่องจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ทำให้ยานภารกิจตกลงบนพื้นผิวดวงจันทร์
ยานภารกิจ Chandrayaan-3 จึงออกแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปบางส่วนทั้งตัวยานและโรเวอร์ (อุปกรณ์สำรวจอวกาศภาคพื้น) ซึ่งมีไว้เพื่อสำรวจขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ นอกจากนี้ ตัวยานภารกิจและโรเวอร์จะมีเครื่องวัดแผ่นดินไหวและกล้องโทรทรรศน์ รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและธรณีวิทยาบริเวณขั้วโลกอีกด้วย
ยานภารกิจ Chandrayaan-3 จึงออกแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปบางส่วนทั้งตัวยานและโรเวอร์ (อุปกรณ์สำรวจอวกาศภาคพื้น) ซึ่งมีไว้เพื่อสำรวจขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ นอกจากนี้ ตัวยานภารกิจและโรเวอร์จะมีเครื่องวัดแผ่นดินไหวและกล้องโทรทรรศน์ รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและธรณีวิทยาบริเวณขั้วโลกอีกด้วย
ตามล่าหาสสารมืดในโลกจักรวาล

นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์เชื่อว่าสสารมืดและพลังงานมืดอาจเป็นตัวกำหนดโครงสร้างของเอกภพทั้งหมดและขับเคลื่อนการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ลึกลับเหล่านี้มากนัก
ขณะที่ ESA จะมีกำหนดเปิดตัว ‘Euclid’ กล้องโทรทรรศน์อวกาศอินฟาเรดระยะใกล้ในช่วงปี 2023 เพื่อตรวจวัดผลกระทบของพลังมืดเหล่านี้ที่มีต่อเอกภพในช่วงเวลาหนึ่ง โดยมีความพยายามที่จะแยกแยะคุณสมบัติของสสารมืดเหล่านั้น
Euclid จะเดินทางไปยังตำแหน่งปฏิบัติการเดียวกันกับกล้องโทรทัศน์เจมส์ เวบบ์ (JWST) โดยเข้าสู่วงโคจรรอบ Lagrangian Point 2 หรือจุดลากรางจ์ ซึ่งมียานอวกาศโคจรอยู่หลายลำและอยู่ห่างจากโลกประมาณ 1 ล้านไมล์ จากนั้น Euclid จะใช้กระจกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 4 ฟุต โดยระบบจะสร้างภาพด้วยแสงที่มองเห็นได้ และใช้สเปกโตรมิเตอร์อินฟราเรดใกล้ (เครื่องมือวัดเชิงแสง) เพื่อสำรวจวัตถุในอวกาศที่อยู่ห่างจากโลกออกไปเป็นระยะทางประมาณ 1.5 หมื่นล้านปีแสง
และนั่นจะทำให้เราเห็นมุมมองของดาราจักรประมาณ 10 พันล้านปีในอดีต ด้วยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของดาราจักรและกระจุกดาราจักรตลอดหลายยุคและทั่วท้องฟ้า ทำให้นักดาราศาสตร์มีความหวังว่าเทคโนโลยีอวกาศเหล่านี้จะช่วยพวกเขาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อตัวขึ้นเป็นดาราจักรของสสารมืดและพลังงานมืดรวมถึงเรียนรู้วิวัฒนาการของเอกภพทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร
ขณะที่ ESA จะมีกำหนดเปิดตัว ‘Euclid’ กล้องโทรทรรศน์อวกาศอินฟาเรดระยะใกล้ในช่วงปี 2023 เพื่อตรวจวัดผลกระทบของพลังมืดเหล่านี้ที่มีต่อเอกภพในช่วงเวลาหนึ่ง โดยมีความพยายามที่จะแยกแยะคุณสมบัติของสสารมืดเหล่านั้น
Euclid จะเดินทางไปยังตำแหน่งปฏิบัติการเดียวกันกับกล้องโทรทัศน์เจมส์ เวบบ์ (JWST) โดยเข้าสู่วงโคจรรอบ Lagrangian Point 2 หรือจุดลากรางจ์ ซึ่งมียานอวกาศโคจรอยู่หลายลำและอยู่ห่างจากโลกประมาณ 1 ล้านไมล์ จากนั้น Euclid จะใช้กระจกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 4 ฟุต โดยระบบจะสร้างภาพด้วยแสงที่มองเห็นได้ และใช้สเปกโตรมิเตอร์อินฟราเรดใกล้ (เครื่องมือวัดเชิงแสง) เพื่อสำรวจวัตถุในอวกาศที่อยู่ห่างจากโลกออกไปเป็นระยะทางประมาณ 1.5 หมื่นล้านปีแสง
และนั่นจะทำให้เราเห็นมุมมองของดาราจักรประมาณ 10 พันล้านปีในอดีต ด้วยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของดาราจักรและกระจุกดาราจักรตลอดหลายยุคและทั่วท้องฟ้า ทำให้นักดาราศาสตร์มีความหวังว่าเทคโนโลยีอวกาศเหล่านี้จะช่วยพวกเขาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อตัวขึ้นเป็นดาราจักรของสสารมืดและพลังงานมืดรวมถึงเรียนรู้วิวัฒนาการของเอกภพทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร
Boeing กำลังตามทัน SpaceX

Boeing บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์กำลังจะเปิดตัวเที่ยวบินทดสอบที่มีลูกเรือของยานอวกาศ ‘Starliner’ ในช่วงเดือนเมษายน 2023 ซึ่งยาน Starliner ดังกล่าวเป็นแคปซูลที่จุคนได้สูงสุด 7 คน ทั้งยังเป็นคู่แข่งกับยานอวกาศ ‘SpaceX Crew Dragon’ อีกด้วย
นอกจากนี้ ทั้งยาน Dragon และ Starliner มีเป้าหมายที่จะขนส่งนักบินอวกาศและบรรทุกสินค้าไปและกลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘Commercial Crew’ บริการขนส่งลูกเรือเชิงพาณิชย์ของ NASA
ที่ผ่านมายาน SpaceX Crew Dragon เริ่มบริการขนส่งนักบินอวกาศไปยัง ISS แล้วในเดือนพฤศจิกายน 2020 แต่ขณะเดียวกันยาน Starliner กลับประสบปัญหาซอฟต์แวร์หลายอย่างที่ทำให้เกิดความล่าช้าทำให้ยานอวกาศไม่สามารถบินไปถึง ISS ได้ระหว่างที่บินทดสอบโดยไม่มีลูกเรือในเดือนธันวาคม 2020
แต่ถึงกระนั้น สำหรับความพยายามครั้งที่ 2 ในการบินไปยัง ISS แบบไร้ลูกเรือก็เสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม 2022 ซึ่งเป็นการปูทางสำหรับเที่ยวบินทดสอบแบบมีลูกเรือที่กำลังจะมาถึงเร็วๆ นี้
หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี NASA จะรวมเที่ยวบิน Starliner ควบคู่ไปกับการเปิดตัวยาน Crew Dragon ภายใต้โครงการ Commercial Crew เพื่อให้หน่วยงานมียานสำรองไว้ในกรณีที่เกิดปัญหากับยานอวกาศประเภทใดประเภทหนึ่ง
นอกจากนี้ ทั้งยาน Dragon และ Starliner มีเป้าหมายที่จะขนส่งนักบินอวกาศและบรรทุกสินค้าไปและกลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘Commercial Crew’ บริการขนส่งลูกเรือเชิงพาณิชย์ของ NASA
ที่ผ่านมายาน SpaceX Crew Dragon เริ่มบริการขนส่งนักบินอวกาศไปยัง ISS แล้วในเดือนพฤศจิกายน 2020 แต่ขณะเดียวกันยาน Starliner กลับประสบปัญหาซอฟต์แวร์หลายอย่างที่ทำให้เกิดความล่าช้าทำให้ยานอวกาศไม่สามารถบินไปถึง ISS ได้ระหว่างที่บินทดสอบโดยไม่มีลูกเรือในเดือนธันวาคม 2020
แต่ถึงกระนั้น สำหรับความพยายามครั้งที่ 2 ในการบินไปยัง ISS แบบไร้ลูกเรือก็เสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม 2022 ซึ่งเป็นการปูทางสำหรับเที่ยวบินทดสอบแบบมีลูกเรือที่กำลังจะมาถึงเร็วๆ นี้
หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี NASA จะรวมเที่ยวบิน Starliner ควบคู่ไปกับการเปิดตัวยาน Crew Dragon ภายใต้โครงการ Commercial Crew เพื่อให้หน่วยงานมียานสำรองไว้ในกรณีที่เกิดปัญหากับยานอวกาศประเภทใดประเภทหนึ่ง
ต่อไปนี้จะมียานอวกาศเชิงพาณิชย์มากขึ้น

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ NASA ต่างก็พึ่งพาบริษัทเอกชนเชิงพาณิชยั้ง Boeing, SpaceX และผู้รับเหมารายอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเที่ยวบินที่เดินทางไปยัง ISS ซึ่งในปีนี้ (2023) หลายๆ บริษัทต่างก็มีแพลนใหญ่ๆ มากมายเช่นกัน
ด้าน ‘Axiom Space’ บริษัทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอวกาศก็ประกาศวางแผนที่จะส่งลูกเรือที่เป็นพลเมืองส่วนตัวขึ้นไปประจำอยู่ที่ ISS เป็นเวลา 2 สัปดาห์ในช่วงฤดูร้อน หลังจากภารกิจแรกของบริษัทได้เคยส่งนักบินอวกาศส่วนตัว 4 คนขึ้นไปบนสถานีอวกาศแล้วเป็นเวลา 2 สัปดาห์เมื่อช่วงเดือนเมษายน 2022
อย่างไรก็ดี Axiom Space วางแผนที่จะสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ โดยเริ่มแรกจะเชื่อมต่อกับ ISS จากนั้นจะแยกตัวออกมาเพื่อสร้างสถานีอวกาศที่บินได้อย่างอิสระภายในปี 2031 หลังจากที่ NASA ปลดระวางภารกิจของ ISS ที่ถูกส่งขึ้นไปยังอวกาศตั้งแต่ปี 1998
ขณะเดียวกันนี้ก็มีมหาเศรษฐีมากมายที่สนใจและให้ทุนสนับสนุนเทคโนโลยีอวกาศ อย่าง จาเร็ด ไอแซคแมน ผู้ให้ทุนสนับสนุนการบินอวกาศในวงโคจรที่เป็นส่วนตัวทั้งหมดเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2021 กับภารกิจ ‘Inspiration 4’ ที่มีแต่พลเมืองล้วนซึ่งจะกลับมาในปี 2023
และล่าสุดกับภารกิจ ‘Dear Moon’ ของ ยูซากุ มาเอซาวา มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่นพร้อมศิลปินอีก 8 คนที่จะร่วมเดินทางรอบดวงจันทร์โดยยานอวกาศ ‘Starship’ ของ SpaceX ซึ่งมีกำหนดเดินทางในปีนี้
ในขณะที่ยานภารกิจ ‘Polaris Dawn’ ของ SpaceX จะมีกำหนดเปิดตัวในไม่ช้าช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งเราจะได้เห็นไอแซคแมนบินบนยานอวกาศ SpaceX Crew Dragon พร้อมกับเพื่อนร่วมทีมอีก 3 คน ซึ่งแตกต่างจากภารกิจ Inspiration 4 ตรงที่ลูกเรือของ Polaris Dawn อย่างน้อย 2 คนวางแผนที่จะเดินทางไปสำรวจอวกาศส่วนตัวเป็นครั้งแรกนอกยานอวกาศ
ส่วน Blue Origin บริษัทผู้บริการการบินอวกาศที่ก่อตั้งโดย เจฟฟ์ เบโซส ก็พยายามที่จะเปิดตัวเที่ยวบินทดสอบครั้งแรกของจรวดวงโคจรที่เรียกว่า ‘New Glenn’ ในช่วงปี 2023 ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงเป้าหมายบางส่วนเท่านั้น ในปีนี้ 2023 คงจะมีปรากฏการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจให้เราได้ชื่นชมอยู่ไม่น้อย แต่ที่แน่นอนก็คือ วิทยาการและเทคโนโลยีอวกาศนั้นจะยังคงพัฒนาไปข้างหน้าแบบไม่มีวันหยุดพักและล้ำหน้ามากกว่าเดิมด้วย
ด้าน ‘Axiom Space’ บริษัทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอวกาศก็ประกาศวางแผนที่จะส่งลูกเรือที่เป็นพลเมืองส่วนตัวขึ้นไปประจำอยู่ที่ ISS เป็นเวลา 2 สัปดาห์ในช่วงฤดูร้อน หลังจากภารกิจแรกของบริษัทได้เคยส่งนักบินอวกาศส่วนตัว 4 คนขึ้นไปบนสถานีอวกาศแล้วเป็นเวลา 2 สัปดาห์เมื่อช่วงเดือนเมษายน 2022
อย่างไรก็ดี Axiom Space วางแผนที่จะสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ โดยเริ่มแรกจะเชื่อมต่อกับ ISS จากนั้นจะแยกตัวออกมาเพื่อสร้างสถานีอวกาศที่บินได้อย่างอิสระภายในปี 2031 หลังจากที่ NASA ปลดระวางภารกิจของ ISS ที่ถูกส่งขึ้นไปยังอวกาศตั้งแต่ปี 1998
ขณะเดียวกันนี้ก็มีมหาเศรษฐีมากมายที่สนใจและให้ทุนสนับสนุนเทคโนโลยีอวกาศ อย่าง จาเร็ด ไอแซคแมน ผู้ให้ทุนสนับสนุนการบินอวกาศในวงโคจรที่เป็นส่วนตัวทั้งหมดเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2021 กับภารกิจ ‘Inspiration 4’ ที่มีแต่พลเมืองล้วนซึ่งจะกลับมาในปี 2023
และล่าสุดกับภารกิจ ‘Dear Moon’ ของ ยูซากุ มาเอซาวา มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่นพร้อมศิลปินอีก 8 คนที่จะร่วมเดินทางรอบดวงจันทร์โดยยานอวกาศ ‘Starship’ ของ SpaceX ซึ่งมีกำหนดเดินทางในปีนี้
ในขณะที่ยานภารกิจ ‘Polaris Dawn’ ของ SpaceX จะมีกำหนดเปิดตัวในไม่ช้าช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งเราจะได้เห็นไอแซคแมนบินบนยานอวกาศ SpaceX Crew Dragon พร้อมกับเพื่อนร่วมทีมอีก 3 คน ซึ่งแตกต่างจากภารกิจ Inspiration 4 ตรงที่ลูกเรือของ Polaris Dawn อย่างน้อย 2 คนวางแผนที่จะเดินทางไปสำรวจอวกาศส่วนตัวเป็นครั้งแรกนอกยานอวกาศ
ส่วน Blue Origin บริษัทผู้บริการการบินอวกาศที่ก่อตั้งโดย เจฟฟ์ เบโซส ก็พยายามที่จะเปิดตัวเที่ยวบินทดสอบครั้งแรกของจรวดวงโคจรที่เรียกว่า ‘New Glenn’ ในช่วงปี 2023 ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงเป้าหมายบางส่วนเท่านั้น ในปีนี้ 2023 คงจะมีปรากฏการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจให้เราได้ชื่นชมอยู่ไม่น้อย แต่ที่แน่นอนก็คือ วิทยาการและเทคโนโลยีอวกาศนั้นจะยังคงพัฒนาไปข้างหน้าแบบไม่มีวันหยุดพักและล้ำหน้ามากกว่าเดิมด้วย