เห็นกับตาก็ยังเชื่อไม่ได้! เมื่อทั่วโลกกำลังต่อสู้กับ ‘ดีปเฟก’
ทั้งแชตบอตพ่นข้อมูลเท็จ ทั้งแอพพลิเคชันเปลี่ยนใบหน้าถูกนำมาใช้ในคลิปวิดีโอโป๊ ทั้งการโคลนเสียงที่หลอกลวงบริษัทนับล้านๆ ขณะนี้ทั่วโลกกำลังหาทางควบคุมดีปเฟกที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กลายเป็นแหล่งกระจายข้อมูลผิดๆ
AI กำลังทำให้นิยามของคำว่า ‘ต้องเห็นด้วยตาก่อนจึงจะเชื่อได้’ เปลี่ยนไป ด้วยภาพมากมายที่จู่ๆ ก็เกิดขึ้นมา และหลายคนถูกหยิบคำพูดที่พวกเขาไม่เคยพูดเลยมาใส่ปากด้วยเทคโนโลยีดีปเฟกที่ทำลายความน่าเชื่อถือของโลกออนไลน์
แม้แต่ตัวพ่ออย่าง อีลอน มัสก์ ยังเคยเจอคลิปดีปเฟกที่ตัดต่อให้เจ้าตัวโปรโมทคริปโทเคอร์เรนซีเมื่อปีที่แล้วจนมัสก์ต้องรีบออกมาทวีตบอกว่า “เย้ย ไม่ใช่ผมแน่”
เมื่อเร็วๆ นี้ทางการจีนเพิ่งจะขยายตัวบทกฎหมายเพื่อควบคุมดีปเฟก แต่ดูเหมือนว่าอีกหลายๆ ประเทศกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางความกังวลว่ากฎระเบียบอาจขัดขวางนวัตกรรม หรือถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อจำกัดเสรีภาพในการพูด
บรรดาผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การตรวจจับดีปเฟกยังตามไม่ทันคนที่สร้างซึ่งยากต่อการตามตัว เนื่องจากคนเหล่านี้ปฏิบัติการโดยไม่มีการระบุตัวตนโดยใช้ซอฟท์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็นทักษะพิเศษ แต่ตอนนี้กลับมีอยู่อย่างแพร่หลายในราคาไม่แพง
ปีที่แล้ว เมตา บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กจัดการกับวิดีโอดีปเฟกของประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ที่ถูกแอบอ้างนำมาตัดต่อให้พูดเตือนให้ชาวยูเครนวางอาวุธแล้วยอมแพ้ต่อรัสเซีย
เช่นเดียวกับ เคต ไอแซคส์ นักเคลื่อนไหวชาวอังกฤษวัย 30 ปี ที่บอกว่ารู้สึกผิดหวังเมื่อได้เห็นใบหน้าของตัวเองไปปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอโป๊ดีปเฟกหลังมีผู้ไม่หวังดีนำไปโพสต์ลงบนทวิตเตอร์
“ฉันจำได้แค่ว่าวิดีโอนั้นมันแพร่ไปทุกที่ มันน่ากลัวมาก” ไอแซคส์ซึ่งเคลื่อนไหวต่อต้านการคำคลิปวิดีโอวาบหวิวที่ปราศจากความยินยอมของผู้แสดงเผยกับ BBC เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว
เดือนต่อมารัฐบาลอังกฤษได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีดีปเฟกและเตือนว่ามีเว็บไซต์ยอดนิยมที่มักจะ ‘จับผู้หญิงมาเปลือยแบบเสมือนจริง’
Eurasia Group เตือนว่า “ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์จะบ่อนทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจของสังคม ให้อำนาจแก่กลุ่มผู้ปลุกปั่นและเผด็จการ และทำให้ธุรกิจและตลาดชะงัก ดีปเฟกที่ล้ำสมัย การจดจำใบหน้า และซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียง จะทำให้การควบคุมความเหมือนของใครคนใดคนหนึ่งกลายเป็นอดีตไป”
และเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ElevenLabs สตาร์ตอัปด้าน AI ยอมรับว่า เครื่องมือโคลนนิงเสียงของบริษัทอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด หลังจากผู้ใช้งานโพสต์วิดีโอดีปเฟกทำให้ดูเหมือนว่า เอ็มมา วัตสัน นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดังจากภาพยนตร์เรื่อง Harry Potter อ่าน ‘Mein Kampf’ อัตชีวประวัติของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ปริมาณของดีปเฟกที่เพิ่มขึ้นอาจนำมาสู่สิ่งที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติยุโรป (Europol) หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอธิบายว่าเป็น ‘หายนะของข้อมูล’ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่หลายคนไม่สามารถแยกแยะระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่ง
รายงานของ Europol ระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าสิ่งเหล่านี้อาจนำมาสู่สถานการณ์ที่พลเมืองไม่สามารถมีความรู้สึกร่วมเกี่ยวกับโลก หรืออาจทำให้สังคมสับสนว่าแหล่งข้อมูลใดน่าเชื่อถือ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ การที่ ดามาร์ แฮมลิน นักอเมริกันฟุตบอลเอ็นเอฟแอล อัดคลิปพูดคุยกับแฟนคลับครั้งแรกหลังจากเจ้าตัวหัวใจหยุดเต้นระหว่างการแข่งขัน แฮมลินขอบคุณทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ช่วยชีวิตเขาไว้ ทว่าหลายคนที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 อยู่เบื้องหลังอาการหัวใจวายของแฮมลินพากันบอกว่าคลิปนี้เป็นดีปเฟกอย่างไร้เหตุผล
กฎใหม่ของจีนนี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลจีนเตือนว่า ดีปเฟกเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติและความสงบเรียบร้อยของสังคม
ขณะที่ในสหรัฐฯ ซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติพยายามผลักดันให้มีหน่วยงานพิเศษมาควบคุมดีปเฟก บรรดานักเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิในโลกดิจิทัลพากันกังวลว่า การใช้กฎหมายเข้มงวดเกินไปจะขัดขวางนวัตกรรมหรือจะทำให้เนื้อหาที่ถูกกฎหมายตกเป็นเป้า ส่วนในสหภาพยุโรปกำลังถกเถียงกันอย่างดุเดือดเกี่ยวกับร่างกฎหมาย AI
ร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งสหภาพยุโรปกำลังเร่งให้ผ่านภายในปีนี้กำหนดให้ผู้ใช้เปิดเผยเกี่ยวกับดีปเฟก แต่หลายคนยังกังวลว่าร่างกฎหมายอาจไร้ประโยชน์หากไม่ครอบคลุมไปถึงเนื้อหาที่มีการสียดสีหรือคอนเทนต์การตลาดออนไลน์
“คุณจะคืนสถานะความไว้วางใจทางดิจิทัลด้วยความโปร่งใสได้อย่างไร? นี่คือคำถามที่แท้จริงในขณะนี้ อุปกรณ์ตรวจจับกำลังมา และมาอย่างรวดเร็ว แต่เทคโนโลยีก้าวไปเร็วกว่า ก็เหมือนกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ เราไม่มีทางแก้ปัญหาได้ ได้แต่หวังว่าจะตามทัน” เจสัน เดวิส ศาสตราจารย์จาก Syracuse University เผยกับสำนักข่าว AFP
หลายคนยังไม่ค่อยเข้าใจความล้ำอย่าง ChatGPT แชตบอตของบริษัท OpenAI ที่สามารถพูดคุยกับมนุษย์ได้เกือบทุกเรื่อง หรือแม้แต่การทำข้อสอบยากๆ ในระดับมหาวิทยาลัย
ในรายงานของ NewsGuard หน่วยงานเฝ้าระวังเกี่ยวกับสื่อที่เรียก ChatGPT ว่า “ผู้เผยแพร่ข้อมูลแบบผิดๆ รายใหญ่รายต่อไป” ระบุว่า คำตอบส่วนใหญ่ของแชทบอทต่อข้อความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆ เช่น โควิด-19 และเหตุกราดยิงในโรงเรียนนั้น "คมคาย เป็นเท็จ และทำให้เข้าใจผิด"
“ผลลัพธ์ยืนยันความกลัว...เกี่ยวกับวิธีที่เครื่องมือจะถูกใช้เป็นอาวุธหากตกไปอยู่ในมือคนผิด” NewsGuard ระบุ
ทั้งแชตบอตพ่นข้อมูลเท็จ ทั้งแอพพลิเคชันเปลี่ยนใบหน้าถูกนำมาใช้ในคลิปวิดีโอโป๊ ทั้งการโคลนเสียงที่หลอกลวงบริษัทนับล้านๆ ขณะนี้ทั่วโลกกำลังหาทางควบคุมดีปเฟกที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กลายเป็นแหล่งกระจายข้อมูลผิดๆ
AI กำลังทำให้นิยามของคำว่า ‘ต้องเห็นด้วยตาก่อนจึงจะเชื่อได้’ เปลี่ยนไป ด้วยภาพมากมายที่จู่ๆ ก็เกิดขึ้นมา และหลายคนถูกหยิบคำพูดที่พวกเขาไม่เคยพูดเลยมาใส่ปากด้วยเทคโนโลยีดีปเฟกที่ทำลายความน่าเชื่อถือของโลกออนไลน์
แม้แต่ตัวพ่ออย่าง อีลอน มัสก์ ยังเคยเจอคลิปดีปเฟกที่ตัดต่อให้เจ้าตัวโปรโมทคริปโทเคอร์เรนซีเมื่อปีที่แล้วจนมัสก์ต้องรีบออกมาทวีตบอกว่า “เย้ย ไม่ใช่ผมแน่”
เมื่อเร็วๆ นี้ทางการจีนเพิ่งจะขยายตัวบทกฎหมายเพื่อควบคุมดีปเฟก แต่ดูเหมือนว่าอีกหลายๆ ประเทศกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางความกังวลว่ากฎระเบียบอาจขัดขวางนวัตกรรม หรือถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อจำกัดเสรีภาพในการพูด
บรรดาผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การตรวจจับดีปเฟกยังตามไม่ทันคนที่สร้างซึ่งยากต่อการตามตัว เนื่องจากคนเหล่านี้ปฏิบัติการโดยไม่มีการระบุตัวตนโดยใช้ซอฟท์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็นทักษะพิเศษ แต่ตอนนี้กลับมีอยู่อย่างแพร่หลายในราคาไม่แพง
ปีที่แล้ว เมตา บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กจัดการกับวิดีโอดีปเฟกของประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ที่ถูกแอบอ้างนำมาตัดต่อให้พูดเตือนให้ชาวยูเครนวางอาวุธแล้วยอมแพ้ต่อรัสเซีย
เช่นเดียวกับ เคต ไอแซคส์ นักเคลื่อนไหวชาวอังกฤษวัย 30 ปี ที่บอกว่ารู้สึกผิดหวังเมื่อได้เห็นใบหน้าของตัวเองไปปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอโป๊ดีปเฟกหลังมีผู้ไม่หวังดีนำไปโพสต์ลงบนทวิตเตอร์
“ฉันจำได้แค่ว่าวิดีโอนั้นมันแพร่ไปทุกที่ มันน่ากลัวมาก” ไอแซคส์ซึ่งเคลื่อนไหวต่อต้านการคำคลิปวิดีโอวาบหวิวที่ปราศจากความยินยอมของผู้แสดงเผยกับ BBC เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว
เดือนต่อมารัฐบาลอังกฤษได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีดีปเฟกและเตือนว่ามีเว็บไซต์ยอดนิยมที่มักจะ ‘จับผู้หญิงมาเปลือยแบบเสมือนจริง’
หายนะของข้อมูล
ด้วยความที่ไม่มีอุปสรรคในการสร้างข้อความ เสียง และวิดีโอที่สังเคราะห์ด้วย AI ศักยภาพของการใช้งานในทางที่ผิดในการโจรกรรมข้อมูลประจำตัว การฉ้อโกงทางการเงิน และชื่อเสียงที่เสื่อมเสียได้จุดประกายความตื่นตระหนกไปทั่วโลก ถึงขนาดที่ Eurasia Group ที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองถึงกับเรียกเครื่องมือ AI ว่า ‘อาวุธแห่งการทำลายล้าง’Eurasia Group เตือนว่า “ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์จะบ่อนทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจของสังคม ให้อำนาจแก่กลุ่มผู้ปลุกปั่นและเผด็จการ และทำให้ธุรกิจและตลาดชะงัก ดีปเฟกที่ล้ำสมัย การจดจำใบหน้า และซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียง จะทำให้การควบคุมความเหมือนของใครคนใดคนหนึ่งกลายเป็นอดีตไป”
และเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ElevenLabs สตาร์ตอัปด้าน AI ยอมรับว่า เครื่องมือโคลนนิงเสียงของบริษัทอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด หลังจากผู้ใช้งานโพสต์วิดีโอดีปเฟกทำให้ดูเหมือนว่า เอ็มมา วัตสัน นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดังจากภาพยนตร์เรื่อง Harry Potter อ่าน ‘Mein Kampf’ อัตชีวประวัติของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ปริมาณของดีปเฟกที่เพิ่มขึ้นอาจนำมาสู่สิ่งที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติยุโรป (Europol) หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอธิบายว่าเป็น ‘หายนะของข้อมูล’ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่หลายคนไม่สามารถแยกแยะระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่ง
รายงานของ Europol ระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าสิ่งเหล่านี้อาจนำมาสู่สถานการณ์ที่พลเมืองไม่สามารถมีความรู้สึกร่วมเกี่ยวกับโลก หรืออาจทำให้สังคมสับสนว่าแหล่งข้อมูลใดน่าเชื่อถือ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ การที่ ดามาร์ แฮมลิน นักอเมริกันฟุตบอลเอ็นเอฟแอล อัดคลิปพูดคุยกับแฟนคลับครั้งแรกหลังจากเจ้าตัวหัวใจหยุดเต้นระหว่างการแข่งขัน แฮมลินขอบคุณทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ช่วยชีวิตเขาไว้ ทว่าหลายคนที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 อยู่เบื้องหลังอาการหัวใจวายของแฮมลินพากันบอกว่าคลิปนี้เป็นดีปเฟกอย่างไร้เหตุผล
ซูเปอร์สเปรดเดอร์
ทางการจีนบังคับใช้กฎหมายใหม่เมื่อเดือนมกราคมซึ่งกำหนดให้ธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับดีปเฟกขอประวัติส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ รวมทั้งยังกำหนดให้เนื้อหาดีปเฟกต้องติดแท็กอย่างเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยง ‘ความสับสน’กฎใหม่ของจีนนี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลจีนเตือนว่า ดีปเฟกเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติและความสงบเรียบร้อยของสังคม
ขณะที่ในสหรัฐฯ ซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติพยายามผลักดันให้มีหน่วยงานพิเศษมาควบคุมดีปเฟก บรรดานักเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิในโลกดิจิทัลพากันกังวลว่า การใช้กฎหมายเข้มงวดเกินไปจะขัดขวางนวัตกรรมหรือจะทำให้เนื้อหาที่ถูกกฎหมายตกเป็นเป้า ส่วนในสหภาพยุโรปกำลังถกเถียงกันอย่างดุเดือดเกี่ยวกับร่างกฎหมาย AI
ร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งสหภาพยุโรปกำลังเร่งให้ผ่านภายในปีนี้กำหนดให้ผู้ใช้เปิดเผยเกี่ยวกับดีปเฟก แต่หลายคนยังกังวลว่าร่างกฎหมายอาจไร้ประโยชน์หากไม่ครอบคลุมไปถึงเนื้อหาที่มีการสียดสีหรือคอนเทนต์การตลาดออนไลน์
“คุณจะคืนสถานะความไว้วางใจทางดิจิทัลด้วยความโปร่งใสได้อย่างไร? นี่คือคำถามที่แท้จริงในขณะนี้ อุปกรณ์ตรวจจับกำลังมา และมาอย่างรวดเร็ว แต่เทคโนโลยีก้าวไปเร็วกว่า ก็เหมือนกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ เราไม่มีทางแก้ปัญหาได้ ได้แต่หวังว่าจะตามทัน” เจสัน เดวิส ศาสตราจารย์จาก Syracuse University เผยกับสำนักข่าว AFP
หลายคนยังไม่ค่อยเข้าใจความล้ำอย่าง ChatGPT แชตบอตของบริษัท OpenAI ที่สามารถพูดคุยกับมนุษย์ได้เกือบทุกเรื่อง หรือแม้แต่การทำข้อสอบยากๆ ในระดับมหาวิทยาลัย
ในรายงานของ NewsGuard หน่วยงานเฝ้าระวังเกี่ยวกับสื่อที่เรียก ChatGPT ว่า “ผู้เผยแพร่ข้อมูลแบบผิดๆ รายใหญ่รายต่อไป” ระบุว่า คำตอบส่วนใหญ่ของแชทบอทต่อข้อความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆ เช่น โควิด-19 และเหตุกราดยิงในโรงเรียนนั้น "คมคาย เป็นเท็จ และทำให้เข้าใจผิด"
“ผลลัพธ์ยืนยันความกลัว...เกี่ยวกับวิธีที่เครื่องมือจะถูกใช้เป็นอาวุธหากตกไปอยู่ในมือคนผิด” NewsGuard ระบุ