มนุษย์ต่างดาวจะอยู่ที่ดาวดวงไหนในระบบสุริยะจักรวาลได้บ้าง?

22 กุมภาพันธ์ 2566 - 10:55

belief-in-astrology-sinsae-kheng-prayut-prawit-anutin-paetongtarn-shinawatra-SPACEBAR-Thumbnail
  • เคยสงสัยไหมว่ามีร่องรอยอะไรบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเราที่พิสูจน์ว่าเคยมี ‘มนุษย์ต่างดาว’ อาศัยอยู่?

จากกระแสข่าวที่รัฐบาลสหรัฐฯ มีรายงานการพบปรากฏการณ์ทางอากาศที่ไม่สามารถอธิบายได้บนท้องฟ้ากว่า 350 ครั้งมีการคาดเดากันว่าอาจเป็นยูเอฟโอ บวกกับที่ผ่านมามักมีรายงานเกี่ยวกับวัตถุประหลาดๆ พาดผ่านฟากฟ้าเป็นจำนวนมาก แต่เคยสงสัยไหมว่ามนุษย์ต่างดาวเหล่านั้นอยู่ส่วนไหนของจักรวาล 

ย้อนกลับไปในสมัยนักปรัชญายุคกรีกโบราณที่มีการคาดการณ์ว่าอาจมีมนุษย์ต่างดาวตั้งแต่สมัยนั้น จนกระทั่งช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เมื่อจินตนาการของผู้คนเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นที่จู่ๆ ก็มีการปรากฏตัวของ ‘ชายชุดเขียวตัวน้อย’ อยู่ทั่วไปในวัฒนธรรมสมัยนิยม 

ความจริงก็คือ หากมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกอยู่ในระบบสุริยะของเราจริงๆ เราก็อาจจะพบความหลากหลายที่อาจซ่อนอยู่ในเมฆของดาวศุกร์ ใต้พื้นผิวดาวอังคาร หรือแม้แต่ในมหาสมุทรใต้ดินอันกว้างใหญ่ของดวงจันทร์น้ำแข็งดวงหนึ่งบนดาวเสาร์ 

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการคาดเดาว่ามนุษย์ต่างดาวเหล่านี้จะสามารถอยู่ที่ไหนและส่วนไหนในจักรวาลของเราได้บ้าง 

ดาวอังคาร

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3Xqn94rHh7UybX7pmc492j/ece24b53a6533d271211d68012b0fbdd/belief-in-astrology-sinsae-kheng-prayut-prawit-anutin-paetongtarn-shinawatra-SPACEBAR-Photo06
Photo: Wikipedia / Justin Cowart
นักวิทยาศาสตร์ต่างก็รู้ดีว่าครั้งหนึ่งดาวเคราะห์แดงแห่งนี้เคยอยู่อาศัยได้ เพราะเมื่อหลายพันล้านปีก่อนบนดาวอังคารมีทั้งทะเลสาบและแม่น้ำ รวมทั้งมีชั้นบรรยากาศที่หนากว่าชั้นที่เบาบางมากในปัจจุบัน 

มีการพยายามหาคำตอบมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แม้ว่าคำตอบจะยังห่างไกลจากความเป็นจริงอยู่ก็ตาม ขณะเดียวกัน NASA ก็ส่งยานไปสำรวจพื้นผิวของดาวอังคารอยู่ตลอดในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นยาน ‘Opportunity’ และ ‘Curiosity’ 

และล่าสุดกับยาน ‘Perseverance’ พร้อมด้วยเฮลิคอปเตอร์ ‘Ingenuity’ ซึ่งลงจอดบนดาวเคราะห์สีแดงในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 และสามารถเก็บตัวอย่างหินและเรโกลิธ (หินและดินที่แตกแล้ว) ได้ 18 ตัวอย่างจากปล่องภูเขาไฟเจซีโรซึ่งมีแม่น้ำไหลผ่านเมื่อหลายพันล้านปีก่อน 

โดยหลอดตัวอย่างเหล่านี้จะถูกเก็บและส่งกลับมายังโลกโดยยานอวกาศของยุโรปในช่วงทศวรรษที่ 2030 ซึ่งช่วยนักวิทยาศาสตร์ระบุได้ว่าเคยมีจุลินทรีย์หลงเหลืออยู่ในภูมิภาคนี้หรือไม่ หากว่ามีสัญญาณของสิ่งมีชีวิตในสมัยโบราณอยู่จริง ก็เป็นไปได้ว่ายังมีจุลินทรีย์ของมนุษย์ต่างดาวอยู่บนดาวอังคารในปัจจุบัน  

ศาสตราจารย์ แอนดรูว์ โคตส์ จากภาควิชาฟิสิกส์อวกาศและภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจ กล่าวว่า “ดาวอังคารเป็น 3 อันดับแรกที่มีโอกาสเป็นที่อยู่อาศัยมากที่สุดในระบบสุริยะของเรา” 

“ดาวอังคารมีสภาพที่เหมาะสมซึ่งพิสูจน์ได้จากหลักฐานเมื่อ 3.8-4 พันล้านปีก่อนที่ประกอบด้วยน้ำบนพื้นผิว และสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่เรียกว่า ‘CHNOPS’ ประกอบด้วย 6 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน ซึ่งประกอบขึ้นเป็น 98 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกและพลังงาน ในขณะเดียวกันสิ่งมีชีวิตก็เริ่มต้นขึ้นบนโลกแล้ว” 

ดาวศุกร์

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4mDo4IDwBul1OnoRfawraJ/4d2806f9b48c1d1654eb4e4d57a7e6c7/belief-in-astrology-sinsae-kheng-prayut-prawit-anutin-paetongtarn-shinawatra-SPACEBAR-Photo07
Photo: Wikipedia/ Kevin M. Gill
เพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดของโลกและเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 2 จากดวงอาทิตย์ที่ชั้นบรรยากาศหนาทึบเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 

แม้จะมีสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นนี้ แต่ก็มีเรื่องน่าตื่นเต้นมากมายเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ในความเป็นจริงแล้วอาจมีสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งอาศัยอยู่ก็ได้ 

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา การศึกษาใหม่ชี้ให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่ ‘ไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเคยเห็น’ อาจอาศัยอยู่ในก้อนเมฆของ ‘แฝดปีศาจ’ ของโลก 

นักวิทยาศาสตร์อ้างว่าดาวเคราะห์อาจน่าอยู่มากขึ้น หลังจากระบุวิถีทางเคมีที่สิ่งมีชีวิตสามารถทำให้สภาพแวดล้อมที่เป็นกรดของดาวศุกร์เป็นกลาง จนทำให้เกิดกลุ่มก้อนเมฆที่สามารถอยู่อาศัยได้และดำรงอยู่ได้เอง 

“ไม่มีชีวิตใดที่เรารู้จักสามารถอยู่รอดได้ในละอองดาวศุกร์ แต่ประเด็นคือ อาจมีบางชีวิตอยู่ที่นั่น และกำลังปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเพื่อให้มันอยู่ได้” ซารา ซีเกอร์ ผู้ร่วมวิจัยจากสถาบัน MIT กล่าว 

อย่างไรก็ตาม การศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเผยแพร่เมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว อ้างว่าไม่พบหลักฐานของสิ่งมีชีวิตในเมฆของดาวเคราะห์ และไม่พบสัญญาณของสิ่งนี้ในแบบจำลองบรรยากาศ ด้วยเช่นกัน 

ดาวบริวารเอนเซลาดัส 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1w3gNK11CeDuAaQuxLybF7/4353ceb4b23ba53a24d702ecdd7fae8b/belief-in-astrology-sinsae-kheng-prayut-prawit-anutin-paetongtarn-shinawatra-SPACEBAR-Photo03
Photo: Wikipedia/ NASA/JPL/Space Science Institute
คุณคงไม่คิดว่าวัตถุที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งทั้งหมดจะเอื้อต่อการดำรงชีวิตใช่ไหม? แม้ว่าพื้นผิวของดาวบริวาร เอนเซลาดัสจะเย็นยะเยือกแข็ง แต่ก็มีกิจกรรมมากมายเกิดขึ้นใต้ผิวดาวนั้นด้วย 

นักวิทยาศาสตร์รู้เรื่องนี้ก็เพราะดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ลำดับที่ 6 ของดาวเสาร์ได้ขับน้ำ น้ำแข็ง และสารอินทรีย์ที่เป็นของเหลวออกจากแกนกลางออกไปในอวกาศ โดยโมเลกุลของสารอินทรีย์ได้รับการระบุว่าเป็นสารประกอบที่มีไนโตรเจนและออกซิเจน ซึ่งคล้ายกับปฏิกิริยาเคมีบนโลกที่ผลิตกรดอะมิโนอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของชีวิต 

“เรายังไม่ทราบว่ากรดอะมิโนจำเป็นต่อชีวิตนอกโลกหรือไม่ แต่การค้นหาโมเลกุลที่สร้างกรดอะมิโนเป็นชิ้นส่วนสำคัญของปริศนา” โนแซร์ คาวาจา ของมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลิน กล่าว 

ศาสตราจารย์ เดวิด รอธิรี แห่งมหาวิทยาลัย Open University กล่าวว่า เขาเชื่อว่า ดาวบริวารเอนเซลาดัส เป็นหนึ่งในดาวบริวารในระบบสุริยะของเราที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกอาศัยอยู่ 

ดาวบริวารยูโรปา 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/15YzhdxxYIUhDhuL6vGZnR/d50dc5520dad2721235448b0b6ddb2fa/belief-in-astrology-sinsae-kheng-prayut-prawit-anutin-paetongtarn-shinawatra-SPACEBAR-Photo04
Photo: Wikipedia / NASA/JPL-Caltech/SwRI/MSSS/Kevin M. Gill
ยูโรปาเป็นดวงจันทร์กาลิเลียนที่เล็กที่สุดในจำนวน 4 ดวงของดาวพฤหัสบดี แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มองว่าดวงจันทร์ดวงนี้น่าจะมีส่วนประกอบของดาวที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิต 

เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากใต้ผิวดินขนาดใหญ่และมหาสมุทรที่มีความเค็มซึ่งอาจถูกทำให้ร้อนขึ้นจากแรงน้ำขึ้นน้ำลง โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าสิ่งนี้จะสร้างระบบการไหลเวียนภายในซึ่งช่วยให้น้ำเคลื่อนไหวและเติมพื้นผิวน้ำแข็งเป็นประจำ 

ทฤษฎีดังกล่าวมีความสำคัญเพราะมันหมายความว่านักวิทยาศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเจาะลึกลงไปในมหาสมุทรใต้ดินเพื่อค้นหาหลักฐานของสิ่งมีชีวิต  

“ในบรรดาดาวเทียมกาลิเลียน ยูโรปามีแนวโน้มที่จะมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวมากที่สุด เนื่องจากมหาสมุทรมีแนวโน้มที่จะสัมผัสกับทราย/หินตามแบบจำลอง ในขณะที่ที่แกนีมีดและคาลิสโตนั้น พบว่า พื้นมหาสมุทรจะเป็นน้ำแข็ง เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลง” ศาสตราจารย์ แอนดรูว์ โคตส์ กล่าว 

“เนื่องจากยูโรปาถูกอาบด้วยแถบรังสีพลังของดาวพฤหัสบดี จึงมีประโยชน์สำหรับสิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่เช่นกัน  เพราะอาจส่งผลให้ออกซิเจนหาทางเข้าสู่มหาสมุทรใต้ผิวดินได้” โคตส์ กล่าวเสริม 

ดาวบริวารไทรทัน 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/37xQAw48orRgK5dMxrw4dS/a9702ed4e1deed426367d2c3271a14a5/belief-in-astrology-sinsae-kheng-prayut-prawit-anutin-paetongtarn-shinawatra-SPACEBAR-Photo08
Photo: Wikipedia/ NASA / Jet Propulsion Lab / U.S. Geological Survey
ไทรทันเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเนปจูนและเป็นหนึ่งในดาวเทียมธรรมชาติเพียง 5 ดวงในระบบสุริยะของเราที่ได้รับการยืนยันว่ามีความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยา 

นักวิทยาศาสตร์รู้เรื่องนี้เพราะมีน้ำพุร้อนกีย์เซอร์ซึ่งพ่นก๊าซไนโตรเจนและมันระเหิดออกมา โดยพื้นผิวของมันเป็นไนโตรเจนเยือกแข็งซะส่วนใหญ่  

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปรากฏการณ์แรงโน้มถ่วงที่เรียกว่า ความร้อนจากน้ำขึ้นน้ำลง นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อกันว่าดาวได้รับความร้อนบางส่วนจากดาวเนปจูนที่สามารถช่วยให้น้ำอุ่นและสร้างเงื่อนไขที่เป็นไปได้สำหรับสิ่งมีชีวิต แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าดวงจันทร์บริวารดวงนี้เย็นจัดจนทำให้ไม่น่าจะมีสิ่งใดที่อาศัยอยู่นานพอที่จะดำรงอยู่ได้ 

ดาวบริวารแกนีมีด 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7pnJ4SAKWH3tI3D65VuPJ3/8a1ce37381d57c01e352d524ff9a2b37/belief-in-astrology-sinsae-kheng-prayut-prawit-anutin-paetongtarn-shinawatra-SPACEBAR-Photo05
Photo: Wikipedia / NASA/JPL
ดาวดวงนี้ไม่เพียงแต่เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีแกนีมีดเท่านั้น แต่ยังเป็นดาวเทียมธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะทั้งหมดของเราอีกด้วย 

เป็นอีกครั้งที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าบนดาวดวงนี้มีน้ำมากกว่ามหาสมุทรทั้งหมดในโลกรวมกัน ซึ่งคิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต 

แต่ปัญหาก็คือแกนีมีดเย็นกว่าโลกมาก โดยมีอุณหภูมิพื้นผิวในเวลากลางวันอยู่ระหว่าง 90 ถึง 160 เคลวิน (หรือ -297 ถึง -171 องศาฟาเรนไฮต์) ไม่เพียงแค่นั้น ดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์บริวารยังได้รับแสงอาทิตย์น้อยกว่า 1 ใน 30 ของปริมาณแสงอาทิตย์ที่โลกได้รับ จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ 

ดาวบริวารคัลลิสโต

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/76kzF2zJqoSsdslFPlXpuu/43719a29094df6095f334f3559938552/belief-in-astrology-sinsae-kheng-prayut-prawit-anutin-paetongtarn-shinawatra-SPACEBAR-Photo01
Photo: Wikipedia / Kevin Gill from Los Angeles, CA, United States
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับดวงจันทร์คัลลิสโตก็คือว่า มันมีพื้นผิวที่เก่าแก่ที่สุดในโลกในระบบสุริยะของเรา โดยมีอายุประมาณ 4 พันล้านปี ซึ่งไม่มีผลต่อศักยภาพในการดำรงชีวิตอย่างแท้จริง  

ชั้นบรรยากาศของมันนั้นเบาบาง และเหมือนโลกมากกว่าดวงจันทร์ดวงอื่นส่วนใหญ่ในระบบสุริยะซะอีก เนื่องจากมีออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ 

ในอดีต นักวิทยาศาสตร์มักคิดว่าคัลลิสโตเป็น ‘ดวงจันทร์ลูกเป็ดขี้เหร่’ และเป็น ‘ก้อนน้ำแข็งและหินก้อนใหญ่’ เพราะมันเป็นดาวที่มีปล่องภูเขาไฟปกคลุม ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากนักในทางธรณีวิทยา 

ดังนั้น โอกาสที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่จริงๆ นั้นถือว่าน้อยกว่าดาวเคราะห์และดวงจันทร์อื่นๆ บางดวงด้วย 

ดาวเคราะห์แคระเซเรส 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3KXucTcwwpKNiR20KNi2tq/15a4f5024a77ac9a01b8ae87e9a8c7a6/belief-in-astrology-sinsae-kheng-prayut-prawit-anutin-paetongtarn-shinawatra-SPACEBAR-Photo02
Photo: Wikipedia / Justin Cowart-Ceres-RC3-Haulani Crater
เซเรสนั้นตั้งอยู่ระหว่างดาวอังคารและจูปิเตอร์ ซึ่งมีทั้งน้ำใต้ดินที่อยู่ใต้พื้นผิวประมาณ 25 ไมล์ ในกรณีนี้น้ำเหล่านั้นก็เข้าขั้นเกือบจะเค็มมากด้วยซ้ำ 

นอกจากนี้ NASA ยังพบหลักฐานของสารประกอบอินทรีย์ในเซเรสในขณะที่โคจรรอบโลกระหว่างปี 2015-2018 แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้เจอหลักฐานที่ระบุได้อย่างแน่ชัดว่า ดาวเคราะห์แคระดวงนี้เอื้อต่อการดำรงชีวิตอยู่ได้ 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์