ร้อนยังกับอยู่ในนรก! ผู้เชี่ยวชาญคาดปี ‘2023’ จะเป็นปีที่ร้อนที่สุด

7 เมษายน 2566 - 09:59

Why-2023-will-be-hottest-year-el-nino-SPACEBAR-Thumbnail
  • เมื่อนักวิทยาศาสตร์และทีมวิจัยหลายๆ คนต่างก็ทำนายเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘ปี 2023 อาจจะเป็นปีที่ร้อนที่สุด’ มันเกิดจากอะไรกันแน่? ผลพวงจากลานีญา? หรือเพราะเอลนีโญกำลังจะกลับมา?

เข้าสู่หน้าร้อนอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับหลายๆ ประเทศทั่วโลก แต่ดูเหมือนว่าสภาพอากาศในหลายๆ พื้นที่จะเผชิญกับความสุดขั้วของอากาศ ซึ่งอาจเป็นผลพวงจากปรากฏการณ์ลานีญาในปีที่แล้ว (2022) ที่กำลังจะพาดผ่านไปและเปลี่ยนไปสู่ปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ (ENSO) และมีการคาดการณ์ด้วยว่าปี 2023 อาจเป็นปีที่ร้อนมากขึ้นกว่าเดิมเสียด้วย นอกจากที่บอกว่าเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติกันมา (อ่าน ‘มีนาคม’ ปีนี้ทุบสถิติเดือนมีนาคมที่โลกร้อนที่สุดอันดับ 2 ที่นี่)

เมื่อปีที่แล้วเป็นปีที่ร้อนที่สุดอันดับ 5 ขณะที่ปีนี้หรือปีหน้าอาจร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต่างก็กังวลว่าปี 2023 จะเป็นปีแห่งปรากฏการณ์เอลนีโญซึ่งนั่นอาจทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยเมื่อศตวรรษก่อน 

ทั้งนี้ พบว่า ปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์นั้นคือ ปี 2016 ที่อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.3 องศาฯ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยปี 1850-1900 (ช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม) โดยในปี 2016 นั้นได้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ แต่หลังจากนั้นภูมิอากาศโลกก็อยู่ภายใต้ปรากฏการณ์ลานีญาซึ่งได้สิ้นสุดสภาวะนี้ไปแล้วเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา 

นักภูมิอากาศวิทยาเตือนว่าปี 2023 อาจมีคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้น ทว่าผลกระทบจากความร้อนที่แท้จริงของเอลนีโญนั้นอาจจะเกิดขึ้นในปี 2024 ในซีกโลกเหนือ เนื่องจากปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวในทางเหนือ 

ใครๆ ต่างก็คาดการณ์ว่าปี ‘2023’ จะร้อนรุนแรงกว่าเดิม!

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4fhD8Jz2DwRJkChKCLgWNA/4f04848f2ef2dd23d6176f73f181cf0f/Why-2023-will-be-hottest-year-el-nino-SPACEBAR-Photo01
การคาดการณ์อุณหภูมิโลกประจำปีของ Met Office หน่วยงานพยากรณ์อากาศของอังกฤษในปี 2023 บ่งชี้ว่าปีนี้จะเป็นปีที่มีอากาศร้อนที่สุดปีหนึ่งของโลก 

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 2023 คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 1.08 - 1.32 องศาฯ ซึ่งเป็นปีที่ 10 ติดต่อกันที่อุณหภูมิ มีอุณหภูมิสูงถึงอย่างน้อย 1 องศาฯ เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม 

ดร.นิค ดันสโตน จาก Met Office ซึ่งเป็นผู้นำในการพยากรณ์อุณหภูมิโลกปี 2023 กล่าวว่า “อุณหภูมิโลกในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ลานีญาที่ยืดเยื้อ ซึ่งอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นกว่าค่าเฉลี่ยเกิดขึ้นในแปซิฟิกเขตร้อน โดยลานีญามีผลทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเย็นลงชั่วคราว” 

“ในปีนี้ แบบจำลองสภาพภูมิอากาศของเรากำลังบ่งชี้ถึงการสิ้นสุดของสภาวะลานีญาที่ยืดยื้อมานานถึง 3 ปีติดต่อกันด้วยการกลับคืนสู่สภาพที่ค่อนข้างอบอุ่นในบางส่วนของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีแนวโน้มที่จะทำให้อุณหภูมิโลกในปี 2023 อุ่นขึ้นกว่าปี 2022”  

ปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ กำลังจะกลับมา

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/sZNvOJn0LWpnJhA5cbGIm/7d2c6db8786a1128b71f25759eb6218e/Why-2023-will-be-hottest-year-el-nino-SPACEBAR-Photo02
ศาสตราจารย์อดัม สเคฟี หัวหน้าแผนกการคาดการณ์ระยะยาวของ Met Office กล่าวว่า “ปี 2016 เป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกสังเกตการณ์มาซึ่งเริ่มต้นในปี 1850-2016 ในปีนั้นเป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญซึ่งอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น” 

“เป็นไปได้มากว่าปรากฏการณ์เอลนีโญครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้อาจทำให้อุณหภูมิทะลุ 1.5 องศาฯ ได้…ความน่าจะเป็นที่ปีแรกจะมีอุณภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 1.5 องศาฯ ในช่วง 5 ปีข้างหน้าตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 50:50” 

“เราทราบดีว่าภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญจะรุนแรงขึ้น และคุณต้องเพิ่มผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย ซึ่งมันเพิ่มขึ้นตลอดเวลา…หากคุณนำ 2 สิ่งนี้มารวมกันก็มีแนวโน้มที่จะเห็นคลื่นความร้อนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในช่วงปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังจะมาถึงนี้” 

“ผลกระทบที่ผันผวนของวัฏจักรเอลนีโญ-ลานีญาสามารถพบเห็นได้ในหลายภูมิภาคของโลก ตอนนี้วิทยาศาสตร์สามารถบอกเราได้ว่าสิ่งเหล่านี้กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ดังนั้นเราจำเป็นต้องเตรียมพร้อมมากขึ้นตั้งแต่ความพร้อมของบริการฉุกเฉินไปจนถึงพืชผลที่จะปลูก” สเคฟีกล่าว

ด้านนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ทำนายสภาพอากาศแห่งชาติของ Oceanic and Atmospheric Administration คาดว่าเอลนีโญจะเกิดขึ้นในช่วงต้นปีนี้ โดยคาดการณ์ว่ามีโอกาสร้อยละ 82 ที่สภาวะเอลนีโญจะยังทรงตัวเป็นกลาง และค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังทราบดีว่าช่วงเวลานี้ของปีเป็นช่วงเวลาที่ยากเป็นพิเศษในการคาดการณ์ พวกเขาต้องเผชิญกับอุปสรรคที่เรียกว่า ‘อุปสรรคในการคาดการณ์ฤดูใบไม้ผลิ’ ซึ่งเป็นความไม่แน่นอนภายในแบบจำลองการคาดการณ์ เนื่องจากฤดูใบไม้ผลิเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านอย่างแท้จริงสำหรับปรากฏการณ์เอลนีโญ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นักวิทยาศาสตร์บางส่วนยังไม่แน่ใจว่าเอลนีโญจะปรากฏอย่างแน่นอนช่วงไหนนั่นเอง 

บางครั้งสภาพอากาศที่รุนแรงก็ไม่เกี่ยวกับเอลนีโญ-ลานีญา 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3IbeVcFxJxBPfvlDexIwbO/97bdf5bd3ba7973ad2ecd5c8e701ba94/Why-2023-will-be-hottest-year-el-nino-SPACEBAR-Photo03
“การมีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีสูงเป็นประวัติการณ์ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับคลื่นความร้อนที่ร้ายแรงทั่วโลกในเวลาเดียวกัน…แม้กระทั่งเกิดปรากฏการณ์ลานีญาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราก็ยังเผชิญหน้ากับคลื่นความร้อนมากมาย” แอนดรูว์ ครูซกีวิกซ์ นักวิจัยอาวุโสของสถาบันวิจัยสภาพภูมิอากาศและสังคมระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าว 

ความขัดแย้งที่คล้ายกันนี้อาจเกิดขึ้นได้กับพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก ที่เราก็ทราบกันดีว่าเอลนีโญไม่สามารถก่อตัวหรือเสริมกำลังพายุได้ อิทธิพลดังกล่าวไม่ได้หยุดยั้งพายุเฮอริเคนแอนดรู ซึ่งเป็นพายุเฮอริเคนชายฝั่งตะวันออกเพียงลูกเดียวที่พัดขึ้นฝั่งในช่วงสภาวะเอลนีโญในปี 1992 ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดของประเทศในขณะนั้น 

“และแม้แต่การเปลี่ยนจากลานีญาไปเป็นสภาวะที่เป็นกลางก็เป็นสาเหตุที่น่ากังวล…เป็นที่ทราบกันดีว่าผลกระทบของลานีญาและเอลนีโญนั้นมีผลต่อรูปแบบสภาพอากาศ แต่การไม่มีปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ด้สำหรับพยากรณ์ตามฤดูกาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากอยู่แล้ว” 

“ช่วงเวลานี้เอลนีโญยังคงอยู่ในสภาวะเป็นกลางอยู่นั่นเอง แต่ก็ยังน่าเป็นห่วงอยู่ดีนี้” ครูซกีวิกซ์กล่าวทิ้งท้าย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์