จากข่าวเครื่องบินตก ครั้งเลวร้ายที่สุดของเนปาลในรอบ 30 ปีเมื่อวันอาทิตย์ (15 ม.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 68 ราย และทำให้เนปาลมีผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตกรวมแล้วถึง 350 รายนับตั้งแต่ปี 2000 จากทั้งหมด 18 เหตุการณ์
จริงๆ แล้ว อุบัติเหตุเครื่องบินตกในเนปาลนั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากจนทำให้เนปาลกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่เสี่ยงต่อการบินและมีสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลกอีกด้วย
นั่นก็คือ ‘สนามบินเทนซิง-ฮิลลารี หรือสนามบินลุคลา’ ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะประตูสู่เอเวอเรสต์ และตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สนามบินแห่งนี้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึง 7 ครั้งที่คร่าชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือไปแล้วกว่า 50 ราย
หากบินจากเมืองลุคลาไปเมืองหลวงกาฐมาณฑุจะใช้เวลาบินเพียง 30 นาทีเท่านั้น ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขาและอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลที่ 2,845 เมตร กลายเป็นหนึ่งในอุปสรรคของการขึ้นและลงสนามบินแห่งนี้ แล้วเพราะเหตุใดกันทำไมการลงจอดที่สนามบินลุคลาถึงอันตรายมากขนาดนี้?
เนื่องจากสนามบินถูกล้อมรอบไปด้วยภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงชัน ประกอบกับรันเวย์ที่แคบและสั้นอย่างมากเพียง 527 เมตรซึ่งตั้งอยู่บนภูเขา ทั้งยังเป็นเนินสูงชันลาดลงสู่หุบเขาเบื้องล่างอีกด้วย ขณะที่รันเวย์ของสนามบินนานาชาติหลายแห่งในโลกมีจะความยาวมากกว่า 10,000 ฟุตหรือ 3,048 เมตรทั้งนั้น
ด้วยระดับความสูงนี้ทำให้ความหนาแน่นของอากาศนั้นต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอย่างมาก ซึ่งส่งผลเสียต่อปริมาณพลังงานที่ผลิตโดยเครื่องยนต์ของเครื่องบินทำให้แรงยกและแรงต้านอากาศลดลงเป็นเหตุให้เครื่องบินบินช้าลงได้ยากขึ้น หมายความว่ายิ่งรันเวย์ยาวเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น อีกทั้งระยะทางของรันเวย์ที่สั้นมากจนมีความลาดเอียงขึ้น 12% เพื่อช่วยให้เครื่องบินลดความเร็วลงขณะลงจอดได้ทันเวลา
จริงๆ แล้ว อุบัติเหตุเครื่องบินตกในเนปาลนั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากจนทำให้เนปาลกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่เสี่ยงต่อการบินและมีสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลกอีกด้วย
นั่นก็คือ ‘สนามบินเทนซิง-ฮิลลารี หรือสนามบินลุคลา’ ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะประตูสู่เอเวอเรสต์ และตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สนามบินแห่งนี้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึง 7 ครั้งที่คร่าชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือไปแล้วกว่า 50 ราย
หากบินจากเมืองลุคลาไปเมืองหลวงกาฐมาณฑุจะใช้เวลาบินเพียง 30 นาทีเท่านั้น ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขาและอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลที่ 2,845 เมตร กลายเป็นหนึ่งในอุปสรรคของการขึ้นและลงสนามบินแห่งนี้ แล้วเพราะเหตุใดกันทำไมการลงจอดที่สนามบินลุคลาถึงอันตรายมากขนาดนี้?
ความสูงของสนามบินและรันเวย์สั้นเป็นอุปสรรคหลัก
สนามบินแห่งนี้ไม่เพียงแค่ตั้งอยู่บนที่สูงเท่านั้น (แม้ว่าจะไม่มีที่ไหนสูงเท่าสนามบินเต้าเฉิง ย่าติง ในทิเบตที่ 4,411 เมตรเป็นสนามบินที่สูงที่สุดในโลก) แต่เทนซิง ฮิลลารี ยังขนาบข้างด้วยยอดเขาที่สูงเกือบ 7,000 เมตรอย่าง ภูเขากุสุม กังกูรูที่ 6,367 เมตรและ ภูเขาน้ำแข็งนุมบูร์ที่ 6,959 เมตร โดยจากสภาพในภูเขามักทำให้เกิดลมเฉือน (การเปลี่ยนทิศทางของลมโดยฉับพลัน) เป็นประจำ ซึ่งสร้างปัญหาให้กับนักบินและเป็นอันตรายต่อเครื่องบินอย่างมากเนื่องจากสนามบินถูกล้อมรอบไปด้วยภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงชัน ประกอบกับรันเวย์ที่แคบและสั้นอย่างมากเพียง 527 เมตรซึ่งตั้งอยู่บนภูเขา ทั้งยังเป็นเนินสูงชันลาดลงสู่หุบเขาเบื้องล่างอีกด้วย ขณะที่รันเวย์ของสนามบินนานาชาติหลายแห่งในโลกมีจะความยาวมากกว่า 10,000 ฟุตหรือ 3,048 เมตรทั้งนั้น
ด้วยระดับความสูงนี้ทำให้ความหนาแน่นของอากาศนั้นต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอย่างมาก ซึ่งส่งผลเสียต่อปริมาณพลังงานที่ผลิตโดยเครื่องยนต์ของเครื่องบินทำให้แรงยกและแรงต้านอากาศลดลงเป็นเหตุให้เครื่องบินบินช้าลงได้ยากขึ้น หมายความว่ายิ่งรันเวย์ยาวเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น อีกทั้งระยะทางของรันเวย์ที่สั้นมากจนมีความลาดเอียงขึ้น 12% เพื่อช่วยให้เครื่องบินลดความเร็วลงขณะลงจอดได้ทันเวลา

และเพราะปัจจัยเหล่านี้เองจึงทำให้สนามบินแห่งนี้จะอนุญาตเฉพาะเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินขนาดเล็กเท่านั้นสำหรับการลงจอด นอกจากนี้เครื่องบินจะไม่มีการบินอ้อมเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา จึงทำให้นักบินมุ่งหน้าที่จะลงจอดอย่างเดียวเมื่อเริ่มเข้าใกล้สนามบิน ส่วนหนึ่งก็เพราะไม่มีเรดาร์หรือระบบนำทางที่สนามบินด้วย
ถ้าในสถานการณ์เช่นนี้ เครื่องบินจะเลี้ยวกลับไปกาฐมาณฑุในทันที แน่นอนว่าในช่วงบ่ายนั้นมักจะมีเมฆมากบ่อยครั้งจนเที่ยวบินส่วนใหญ่ต้องเลื่อนมาบินในตอนเช้าแทน ซึ่งการยกเลิกเที่ยวบินไปลุคลานั้นถือเป็นเรื่องปกติมาก
เครื่องบินเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติการที่สนามบินแห่งนี้ ซึ่งจะถูกใช้เป็นเครื่องบินโดยสารที่สามารถลงจอดบนรันเวย์สั้นๆ และลาดยางได้
แต่ถึงกระนั้นในเดือนตุลาคม 2008 เยติแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 103 ซึ่งใช้เครื่งบินโดยสาร DHC-6 ก็ประสบอุบัติเหตุขณะเข้าใกล้สนามบินท่ามกลางหมอกหนาและเกิดไฟลุกไหม้ ขณะที่ผู้โดยสารและลูกเรือ 18 คนเสียชีวิต ยกเว้นกัปตันที่รอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์
โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุมจะพบว่า เที่ยวบินประมาณ 50% ต้องถูกยกเลิกไป เพราะเผชิญกับทัศนวิสัยต่ำ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องปกติมากที่สนามบินจะปิดช่วงกลางดึกเนื่องจากมีลมแรงมาก ยิ่งลมแรงมากเท่าไหร่ การลงจอดจึงอันตรายเอามากๆ
สภาพอากาศเลวร้าย = ทัศนวิสัยไม่ดี
สภาพอากาศบนเทือกเขาหิมาลัยเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้อย่างมาก บางครั้งอาจเกิดหมอกหนา หมอกเบาบาง พายุฝน หรือเกิดหิมะฉับพลันได้เสมอ แม้ระยะทางและเวลาบินจากกาฐมาณฑุจะสั้น แต่สภาพอากาศในลุคลามักจะแตกต่างจากกาฐมาณฑุอย่างสิ้นเชิง และมันมักจะเปลี่ยนแปลงในขณะที่เครื่องบินกำลังเดินทางเสียอีกด้วยถ้าในสถานการณ์เช่นนี้ เครื่องบินจะเลี้ยวกลับไปกาฐมาณฑุในทันที แน่นอนว่าในช่วงบ่ายนั้นมักจะมีเมฆมากบ่อยครั้งจนเที่ยวบินส่วนใหญ่ต้องเลื่อนมาบินในตอนเช้าแทน ซึ่งการยกเลิกเที่ยวบินไปลุคลานั้นถือเป็นเรื่องปกติมาก
ขอบเขตจำกัดของเครื่องบิน
ภายใต้เงื่อนไขทางภูมิประเทศและสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทางสนามบินจึงอนุญาตเฉพาะเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบิน turboprop planes ขนาดเล็กและระยะสั้นสำหรับบินขึ้นและลง เช่น เดอฮาวิลแลนด์แคนาดา (De Havilland DHC-6 Twin Otters), Pilatus PC-6 Porters, Dornier Do-228s และ L-410 Turboletsเครื่องบินเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติการที่สนามบินแห่งนี้ ซึ่งจะถูกใช้เป็นเครื่องบินโดยสารที่สามารถลงจอดบนรันเวย์สั้นๆ และลาดยางได้
แต่ถึงกระนั้นในเดือนตุลาคม 2008 เยติแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 103 ซึ่งใช้เครื่งบินโดยสาร DHC-6 ก็ประสบอุบัติเหตุขณะเข้าใกล้สนามบินท่ามกลางหมอกหนาและเกิดไฟลุกไหม้ ขณะที่ผู้โดยสารและลูกเรือ 18 คนเสียชีวิต ยกเว้นกัปตันที่รอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์
เที่ยวบินมากกว่า 50% ถูกยกเลิก
ใครก็ตามที่เคยไปบนเทือกเขาหิมาลัยจะทราบดีว่าสภาพอากาศในพื้นที่นั้นเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้อย่างมากๆ ทำให้นักบินต้องยกเลิกการลงจอดและต้องบินกลับกาฐมาณฑุอยู่บ่อยครั้ง นั่นหมายความว่าเที่ยวบินจากกาฐมาณฑุมักจะบินกลับตลอด หากว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศอย่างกะทันหันที่เมืองลุคลาโดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุมจะพบว่า เที่ยวบินประมาณ 50% ต้องถูกยกเลิกไป เพราะเผชิญกับทัศนวิสัยต่ำ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องปกติมากที่สนามบินจะปิดช่วงกลางดึกเนื่องจากมีลมแรงมาก ยิ่งลมแรงมากเท่าไหร่ การลงจอดจึงอันตรายเอามากๆ
อุบัติเหตุที่สนามบินเป็นอุทาหรณ์ในการกำหนดมาตรฐานนักบิน
สนามบินเทนซิง-ฮิลลารีหรือลุคลาถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งและอันตรายมากสำหรับนักบินและผู้โดยสารเพราะอย่างที่หลายคนทราบกันดีว่าสนามบินแห่งนี้เป็นที่เลื่องชื่อว่าเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
โดยเฉพาะอุบัติเหตุเครื่องบินตกในเดือนตุลาคม 2008 ที่กล่าวไปแล้วข้างต้นของสายการบินเยติแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 103 ซึ่งชนเข้ากับภูเขาที่อยู่ต่ำกว่ารันเวย์เพียงไม่กี่ฟุต ประกอบกับนักบินสูญเสียการมองเห็นท่ามกลางหมอกหนาระหว่างการลงจอด ทำให้ผู้โดยสารทั้งหมด 16 คนและลูกเรือ 2 ใน 3 คนเสียชีวิต โดยมีนักบินที่รอดชีวิตเพียงคนเดียว
ดูคลิปนักบินกำลังลงจอดที่สนามบินเทนซิง-ฮิลลารีหรือลุคลาที่นี่
ดูคลิปนักบินกำลังลงจอดที่สนามบินเทนซิง-ฮิลลารีหรือลุคลาที่นี่
ทั้งนี้ ทางสำนักงานการบินพลเรือนแห่งเนปาลได้กำหนดมาตรฐานสูงสำหรับนักบินไว้ หากต้องการลงจอดที่สนามบินลุคลา นักบินต้องทำการบินขึ้นและลงระยะสั้นให้ครบ 100 ครั้งและจะต้องมีประสบการณ์การบินในเนปาลอย่างน้อย 1 ปี นอกจากนี้พวกเขาจะต้องประสบความสำเร็จในการบินสู่สนามบินลุคลา 10 ครั้งพร้อมประกาศนียบัตรรับรองการบิน
และจากอัปเดตในปี 2019 ทางสำนักการบินพลเรือนได้ศึกษาเทคนิคซึ่งกำลังดำเนินการอยู่เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการขยายรันเวย์แม้ว่าจะจำกัดเพียง 100 ฟุตหรือ 30.48 เมตรก็ตาม โดยกำลังดำเนินการก่อสร้างลานลงจอดเฮลิคอปเตอร์ใหม่เพื่อเพิ่มความจุผู้โดยสารด้วย
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 ลานจอดเฮลิคอปเตอร์แห่งใหม่ก็เปิดให้บริการในสนามบินลุคลา ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของรันเวย์ 06 หลังจากงานล่าช้าเล็กน้อยเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
จากข้อมูลของ มูเคช ดาฮาล ผู้จัดการสนามบินลุคลา ระบุว่า ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ในปัจจุบันค่อนข้างเรียบง่าย และจำนวนเฮลิคอปเตอร์ที่ให้บริการในสนามบินก็เพิ่มขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเฮลิคอปเตอร์สามารถประจำการได้เพียงครั้งละ 5 ลำเท่านั้น อย่างไรก็ดี การสร้างลานลงจอดเฮลิคอปเตอร์ใหม่นี้จะช่วยให้การสัญจรด้วยเฮลิคอปเตอร์สะดวกขึ้นบ้างเล็กน้อย
ทั้งนี้ สำหรับปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นว่า ‘สภาพภูมิประเทศ’ ‘สภาพอากาศ’ และ ‘รันเวย์สั้น’ นั้นเป็นสาเหตุหลักที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการลงจอดที่สนามบิน แม้ปัจจุบันจะมีการขยายลานลงจอดของเฮลิคอปเตอร์ใหม่ก็ตาม แต่สภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้ก็เป็นเรื่องที่สร้างความหนักใจแก่นักบินไม่น้อยเลยทีเดียว ด้วยสภาวะเหล่านี้สนามบินเทนซิง-ฮิลลารีจึงได้รับสมญานามว่าเป็น ‘สนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก’
และจากอัปเดตในปี 2019 ทางสำนักการบินพลเรือนได้ศึกษาเทคนิคซึ่งกำลังดำเนินการอยู่เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการขยายรันเวย์แม้ว่าจะจำกัดเพียง 100 ฟุตหรือ 30.48 เมตรก็ตาม โดยกำลังดำเนินการก่อสร้างลานลงจอดเฮลิคอปเตอร์ใหม่เพื่อเพิ่มความจุผู้โดยสารด้วย
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 ลานจอดเฮลิคอปเตอร์แห่งใหม่ก็เปิดให้บริการในสนามบินลุคลา ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของรันเวย์ 06 หลังจากงานล่าช้าเล็กน้อยเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
จากข้อมูลของ มูเคช ดาฮาล ผู้จัดการสนามบินลุคลา ระบุว่า ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ในปัจจุบันค่อนข้างเรียบง่าย และจำนวนเฮลิคอปเตอร์ที่ให้บริการในสนามบินก็เพิ่มขึ้นทุกวัน ปัจจุบันเฮลิคอปเตอร์สามารถประจำการได้เพียงครั้งละ 5 ลำเท่านั้น อย่างไรก็ดี การสร้างลานลงจอดเฮลิคอปเตอร์ใหม่นี้จะช่วยให้การสัญจรด้วยเฮลิคอปเตอร์สะดวกขึ้นบ้างเล็กน้อย
ทั้งนี้ สำหรับปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นว่า ‘สภาพภูมิประเทศ’ ‘สภาพอากาศ’ และ ‘รันเวย์สั้น’ นั้นเป็นสาเหตุหลักที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการลงจอดที่สนามบิน แม้ปัจจุบันจะมีการขยายลานลงจอดของเฮลิคอปเตอร์ใหม่ก็ตาม แต่สภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้ก็เป็นเรื่องที่สร้างความหนักใจแก่นักบินไม่น้อยเลยทีเดียว ด้วยสภาวะเหล่านี้สนามบินเทนซิง-ฮิลลารีจึงได้รับสมญานามว่าเป็น ‘สนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก’
