ตลอดเวลา 29 ปี ตั้งแต่ปี 1976-2005 จังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซียคือหนึ่งในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งรุนแรงระหว่างคนท้องถิ่นกับรัฐบาล ทั้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารอินโดนีเซีย และการเคลื่อนไหวของกองกำลังติดอาวุธขบวนการอาเจะห์เอกราช (Gerakan Aceh Merdeka-GAM) เพื่อพยายามแบ่งแยกดินแดน ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 15,000 คน แต่ท้ายที่สุดความขัดแย้งที่ดำเนินมานานร่วม 30 ปีก็จบลงได้ด้วยการเจรจาสันติภาพ
ความขัดแย้งในอาเจะห์มีสาเหตุจากหลายปัจจัย รวมทั้งการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในอดีต ความไม่ลงรอยกันเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอิสลามที่เข้มงวด หรือชาริอะห์ ความไม่พอใจเรื่องการแบ่งความมั่งคั่งที่เกิดจากทรัพยากรธรรมชาติของอาเจะห์ ซึ่งมีทั้งน้ำมันและก๊าซ และด้วยความที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของอินโดนีเซีย จึงเกิดความรู้สึกในหมู่คนอาเจะห์ว่ารัฐบาลที่อยู่ไกลถึงกรุงจาการ์ตาไม่เข้าใจปัญหาขงอาเจะห์ แถมยังไม่เห็นอกเห็นใจความต้องการและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ทำให้ชาวอาเจะห์ทนไม่ไหวจนต้องลุกขึ้นมาต่อสู้
ความอัดอั้นที่ถาโถมนี้ก่อเกิดขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement/Gerakan Aceh Merdeka-GAM) ในปี 1976 โดยเริ่มแรกเป็นการส่งเยาวชนฝึกที่ต่างประเทศในแถบตะวันออกกลางโดยเฉพาะที่ประเทศลิเบีย มีการโจมตีขนาดเล็กซึ่งไม่ได้ส่งผลสะเทือนต่อความมั่นคงของอินโดนีเซียมากนัก
การลงมือโจมตีวิศวกรของบริษัท Mobil ของกลุ่ม GAM เมื่อปี 1977 ซึ่งมีวิศวกรชาวอเมริกันเสียชีวิต 1 ราย ทำให้รัฐบาลกลางอินโดนีเซียเริ่มจับตามองและต่อมาได้ส่งหน่วยต่อต้านการก่อความไม่สงบลงมาจัดการกับกลุ่ม GAM จน ฮาซัน ดิ ติโร หนึ่งในผู้ก่อตั้งเกือบเอาชีวิตไม่รอดและต้องหลบหนีออกจากมาเลเซียไปพำนักที่สวีเดน ในขณะที่สมาชิกคนอื่นๆ ถูกสังหารหรือไม่ก็ต้องหนีไปต่างประเทศในปี 1979
หลังจากนั้นกลุ่ม GAM เริ่มกระบวนการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยในครั้งแรกมีรัฐบาลสวีเดนเป็นตัวกลาง จากนั้นมีการจัดการเจรจากันที่กรุงโตเกียวของญี่ปุ่นอีกครั้ง แต่ครั้งนี้รัฐบาลอินโดนีเซียกลับเบี้ยวและยังจับกุมตัวตัวแทนของ GAM ที่เดินทางไปเจรจา ทำให้การเจรจาครั้งนี้ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่ไว้ใจกันและฝ่ายรัฐบาลก็ไม่มีข้อเสนอใหม่ จากนั้น GAM ก็กลับมาลงมือโจมตีฝ่ายรัฐบาลอีกครั้ง
เหตุการณ์สึนามิซัดชายฝั่งจังหวัดอาเจะห์เมื่อปี 2004 เป็นตัวกระตุ้นสำคัญให้รัฐบาลอินโดนีเซียและกลุ่ม GAM เร่งรัดกระบวนการเจรจาสันติภาพ จนในที่สุด 15 สิงหาคม 2005 ก็บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการยุติความขัดแย้งและความรุนแรง โดยได้ลงนามใน Memorandum of Understanding หรือ MoU Helsinki ตามชื่อสถานที่ที่มีการลงนามกันที่เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
MoU ฉบับนี้ทำให้การสู้รบระหว่างทหารอินโดนีเซียและ GAM ยุติลง อาเจะห์ไม่ใช่พื้นที่ปฏิบัติการทางทหารที่มีการใช้กฎหมายพิเศษอีกต่อไป แม้อาเจะห์จะไม่ได้รับเอกราชถึงขนาดตั้งรัฐใหม่แยกตัวเป็นอิสระจากอินโดนีเซีย แต่ก็ได้สิทธิในการปกครองตนเอง มีสถานะเป็นจังหวัดปกครองพิเศษ มีกฎหมายเฉพาะสำหรับจังหวัดอาเจะห์ และยังเป็นจังหวัดเดียวในประเทศอินโดนีเซียที่สามารถก่อตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่นและลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งระดับชาติได้
ในเรื่องส่วนแบ่งนั้น ตกลงกันแบ่งรายได้จากทรัพยากรให้ท้องที่ 70% รัฐบาลกลาง 30% แต่อำนาจด้านกลาโหม ความมั่นคง การต่างประเทศ และระบบเศรษฐกิจการคลังยังคงอยู่กับรัฐบาลกลาง
อย่างไรก็ตาม อดีตนักรบขบวนการ GAM ไม่ได้มีความเห็นไปในทางเดียวกันทั้งหมด มีบางส่วนที่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของอินโดนีเซีย แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังคงต้องการให้อาเจะห์เป็นเอกราชไม่ใช่จังหวัดปกครองพิเศษดังเช่นในปัจจุบัน อาทิ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติอาเจะห์สุมาตรา (Acheh-Sumatra National Liberation Front) หรือ ASNLF ซึ่งเป็นอีกชื่อของขบวนการ GAM ในปัจจุบันยังเคลื่อนไหวต่อในเวทีระหว่างประเทศเรียกร้องเอกราชของอาเจะห์ ในขณะที่ขบวนการ GAM ถูกยุบไปแล้วตามข้อตกลงใน MoU Helsinki
ความขัดแย้งในอาเจะห์มีสาเหตุจากหลายปัจจัย รวมทั้งการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในอดีต ความไม่ลงรอยกันเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอิสลามที่เข้มงวด หรือชาริอะห์ ความไม่พอใจเรื่องการแบ่งความมั่งคั่งที่เกิดจากทรัพยากรธรรมชาติของอาเจะห์ ซึ่งมีทั้งน้ำมันและก๊าซ และด้วยความที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของอินโดนีเซีย จึงเกิดความรู้สึกในหมู่คนอาเจะห์ว่ารัฐบาลที่อยู่ไกลถึงกรุงจาการ์ตาไม่เข้าใจปัญหาขงอาเจะห์ แถมยังไม่เห็นอกเห็นใจความต้องการและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ทำให้ชาวอาเจะห์ทนไม่ไหวจนต้องลุกขึ้นมาต่อสู้
ความอัดอั้นที่ถาโถมนี้ก่อเกิดขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement/Gerakan Aceh Merdeka-GAM) ในปี 1976 โดยเริ่มแรกเป็นการส่งเยาวชนฝึกที่ต่างประเทศในแถบตะวันออกกลางโดยเฉพาะที่ประเทศลิเบีย มีการโจมตีขนาดเล็กซึ่งไม่ได้ส่งผลสะเทือนต่อความมั่นคงของอินโดนีเซียมากนัก
การลงมือโจมตีวิศวกรของบริษัท Mobil ของกลุ่ม GAM เมื่อปี 1977 ซึ่งมีวิศวกรชาวอเมริกันเสียชีวิต 1 ราย ทำให้รัฐบาลกลางอินโดนีเซียเริ่มจับตามองและต่อมาได้ส่งหน่วยต่อต้านการก่อความไม่สงบลงมาจัดการกับกลุ่ม GAM จน ฮาซัน ดิ ติโร หนึ่งในผู้ก่อตั้งเกือบเอาชีวิตไม่รอดและต้องหลบหนีออกจากมาเลเซียไปพำนักที่สวีเดน ในขณะที่สมาชิกคนอื่นๆ ถูกสังหารหรือไม่ก็ต้องหนีไปต่างประเทศในปี 1979
หลังจากนั้นกลุ่ม GAM เริ่มกระบวนการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยในครั้งแรกมีรัฐบาลสวีเดนเป็นตัวกลาง จากนั้นมีการจัดการเจรจากันที่กรุงโตเกียวของญี่ปุ่นอีกครั้ง แต่ครั้งนี้รัฐบาลอินโดนีเซียกลับเบี้ยวและยังจับกุมตัวตัวแทนของ GAM ที่เดินทางไปเจรจา ทำให้การเจรจาครั้งนี้ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่ไว้ใจกันและฝ่ายรัฐบาลก็ไม่มีข้อเสนอใหม่ จากนั้น GAM ก็กลับมาลงมือโจมตีฝ่ายรัฐบาลอีกครั้ง
เหตุการณ์สึนามิซัดชายฝั่งจังหวัดอาเจะห์เมื่อปี 2004 เป็นตัวกระตุ้นสำคัญให้รัฐบาลอินโดนีเซียและกลุ่ม GAM เร่งรัดกระบวนการเจรจาสันติภาพ จนในที่สุด 15 สิงหาคม 2005 ก็บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการยุติความขัดแย้งและความรุนแรง โดยได้ลงนามใน Memorandum of Understanding หรือ MoU Helsinki ตามชื่อสถานที่ที่มีการลงนามกันที่เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
MoU ฉบับนี้ทำให้การสู้รบระหว่างทหารอินโดนีเซียและ GAM ยุติลง อาเจะห์ไม่ใช่พื้นที่ปฏิบัติการทางทหารที่มีการใช้กฎหมายพิเศษอีกต่อไป แม้อาเจะห์จะไม่ได้รับเอกราชถึงขนาดตั้งรัฐใหม่แยกตัวเป็นอิสระจากอินโดนีเซีย แต่ก็ได้สิทธิในการปกครองตนเอง มีสถานะเป็นจังหวัดปกครองพิเศษ มีกฎหมายเฉพาะสำหรับจังหวัดอาเจะห์ และยังเป็นจังหวัดเดียวในประเทศอินโดนีเซียที่สามารถก่อตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่นและลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งระดับชาติได้
ในเรื่องส่วนแบ่งนั้น ตกลงกันแบ่งรายได้จากทรัพยากรให้ท้องที่ 70% รัฐบาลกลาง 30% แต่อำนาจด้านกลาโหม ความมั่นคง การต่างประเทศ และระบบเศรษฐกิจการคลังยังคงอยู่กับรัฐบาลกลาง
อย่างไรก็ตาม อดีตนักรบขบวนการ GAM ไม่ได้มีความเห็นไปในทางเดียวกันทั้งหมด มีบางส่วนที่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของอินโดนีเซีย แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังคงต้องการให้อาเจะห์เป็นเอกราชไม่ใช่จังหวัดปกครองพิเศษดังเช่นในปัจจุบัน อาทิ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติอาเจะห์สุมาตรา (Acheh-Sumatra National Liberation Front) หรือ ASNLF ซึ่งเป็นอีกชื่อของขบวนการ GAM ในปัจจุบันยังเคลื่อนไหวต่อในเวทีระหว่างประเทศเรียกร้องเอกราชของอาเจะห์ ในขณะที่ขบวนการ GAM ถูกยุบไปแล้วตามข้อตกลงใน MoU Helsinki