วิจัย ชี้ ‘ป่าแอมะซอน’ แล้งหนักสุดเพราะโลกร้อน

27 มกราคม 2567 - 03:30

Amazon- drought-driven-by-climate-change-study-shows-SPACEBAR-Hero.jpg
  • งานวิจัยพบว่า วิกฤตสภาพภูมิอากาศได้สร้างความแห้งแล้งให้กับป่าดิบชื้นแอมะซอนในปี 2023 สู่สถานการณ์ที่เรียกว่าหายนะ

ป่าแอมะซอน ถูกเรียกว่าเป็น ‘ปอดของโลก’ มีบทบาทสำคัญในการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ และเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์ แต่การทำลายป่าอย่างรวดเร็วได้ทำให้สภาพอากาศรุนแรงมากยิ่งขึ้น

การวิเคราะห์ครั้งนี้ พบว่า ความแห้งแล้งนี้เป็นการบันทึกที่เลวร้ายที่สุดในหลายพื้นที่ และขึ้นไปแตะระดับ “ผิดปกติสูงสุด”ในการวัดทางวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่มีการปล่อยก๊าซที่สร้างความร้อนให้กับโลก จากการเผาไหม้น้ำมัน ก๊าซและถ่านหิน ความแห้งแล้งนี้จะมีความรุนแรงน้อยลงกว่านี้มาก

งานวิจัยนี้ยังแสดงว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ทำให้เกิดความแห้งแล้งขั้นรุนแรงประมาณ 30 เท่ามากกว่าแนวโน้มที่น่าจะเป็น

สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญแต่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามีบทบาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้โหมกระหน่ำให้เกิดอากาศแปรปรวนขั้นสุดทั่วโลก แต่ความแห้งแล้งอย่างรุนแรงของป่าแอมะซอนคือที่สุดและกำลังสร้างความกังวล เพราะป่าดิบชื้นนี้เข้าใกล้จุดพลิกผันที่จะเข้าสู่สถานะที่แห้งแล้งกว่านี้ เป็นผลให้ต้นไม้มหาศาลตายในพื้นที่ที่เรียกว่าเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนบนพื้นดินที่สำคัญที่สุดของโลก ซึ่งจะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมาก และผลักดันให้อุณหภูมิโลกสูงยิ่งขึ้นไปอีก

ผู้คนหลายล้านคนบริเวณป่าแอมะซอนได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้ง เนื่องจากแม่น้ำบางสายอยู่ในระดับต่ำสุด ในช่วงเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ ทำให้ขาดแคลนน้ำดื่ม ปลูกพืชไม่ได้ และขาดพลังงาน เพราะโรงงานผลิตไฟฟ้าจากน้ำแห้งขอด นอกจากนี้ความแห้งแล้งยังทำให้เกิดไฟป่าที่รุนแรงขึ้น และอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นมีส่วนที่ทำให้สิ่งมีชีวิตในแม่น้ำตาย ซึ่งรวมถึงการตายของโลมาแม่น้ำสีชมพูมากกว่า 150 ตัวในเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์

เรจินา รอดริกส์ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยสหพันธ์ซานตา กาตารีนา ประเทศบราซิล ผู้ร่วมทีมงานวิจัยกล่าวว่า “ป่าแอมะซอนสามารถสร้างหรือหยุดการต่อสู้ของเราต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ถ้าเราปกป้องป่าแห่งนี้ มันจะยังคงเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนบนผืนดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ถ้าเราอนุญาตให้มนุษย์ปล่อยก๊าซและตัดไม้ผลักดันไปสู่จุดพลิกผัน มันก็จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาปริมาณมาก”

เราจำเป็นต้องปกป้องป่าแห่งนี้และกำจัดเชื้อเพลิงฟอสซิลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ศ.เรจินา รอดริกส์ มหาวิทยาลัยสหพันธ์ซานตา กาตารีนา

ซิมพิว สจ๊วต นักวิจัยแห่งศูนย์สภาพภูมิอากาศสภาเสี้ยววงเดือนแดง ในเนเธอร์แลนด์ และเป็นส่วนหนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “ชุมชนมากมายที่อาศัยอยู่ในป่าแอมะซอนปกติแล้วไม่เคยเห็นความแห้งแล้งแบบนี้มาก่อน ผู้คนได้พยายามในการเดินทางครั้งใหญ่ ด้วยการลากเรือไปตามแม่น้ำที่แห้งขอดเพื่อไปหาอาหาร ยา และสินค้าที่จำเป็นอื่นๆ มันมีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องเดินหน้าให้การสนับสนุนชุมชนในการเตรียมความพร้อมสำหรับความแห้งแล้งที่กำลังรุนแรงขึ้นจากสภาพภูมิอากาศร้อน

นักวิจัยได้ใช้ข้อมูลสภาพอากาศและการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อเปรียบเทียบเงื่อนไขความแห้งแล้งในสองฉากทัศน์ คือ ด้วยฝีมือมนุษย์ที่ทำให้ร้อน กับอีกหนึ่งไม่ใช่ ปรากฏว่าในโลกที่มนุษย์ไม่ได้ทำให้โลกร้อนขึ้นประมาณ 1.2 องศาเซลเซียส อย่างความแห้งแล้งที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม ซึ่งเป็นที่ที่ไม่มีฝนตก และการระเหยสูงทำให้ดินแห้ง อาจเกิดขึ้นประมาณหนึ่งครั้งในทุกๆ 1,500 ปี จากอุณหภูมิที่สูงขึ้น

พวกเขาพบว่าโลกร้อนทำให้ฝนตกน้อยลง และเพิ่มความร้อนในป่าแอมะซอน ซึ่งทำให้เกิดความแห้งแล้งตั้งแต่มิถุนายนถึงพฤศจิกายน 2023 ประมาณ 30 เท่าจากที่เป็นไปได้

ปรากฏารณ์เอลนีโญมีส่วนที่ทำให้ฝนตกลดลง แต่อุณหภูมิสูงมีผลมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นตัวการหลักของความแห้งแล้ง

การวิเคราะห์นี้ประเมินว่า ความแห้งแล้งรุนแรงในปี 2023 ถูกคาดว่าจะเกิดขึ้นหนึ่งครั้งในทุก 50 ปีในสภาพอากาศปัจจุบัน แต่ถ้าความร้อนของโลกไปถึง 2 องศาเซลเซียส ความแห้งแล้งรุนแรงก็จะเกิดขึ้นได้ในทุกๆ 13 ปี

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การตัดไม้ทำลายป่าเป็นวงกว้างในป่าดิบชื้นแห่งนี้ เพื่อทำการผลิตเนื้อวัวและถั่วเหลืองในช่วงไม่กี่ทศวรรษนี้ ได้ทำให้ความแห้งแล้งย่ำแย่ลงเพราะการกำจัดพืชพันธุ์ทำให้ผืนดินกักเก็บน้ำได้น้อยลง

ข้อมูลล่าสุด แสดงว่า ป่าดิบชื้นแอมะซอนเข้าใกล้จุดพลิกผัน หลังป่าดิบชื้นแห่งนี้ได้สูญเสียสิ่งที่มีความหมายต่อสภาพภูมิอากาศโลกและความหลากหลายทางชีวภาพ

งานวิจัยยังเผยว่า มากกว่า 75% ของป่าแห่งนี้ได้สูญเสียความมั่นคง ตั้งแต่ทศวรรษ 2000 ซึ่งหมายความว่าต้องใช้เวลาที่นานกว่าในการฟื้นฟู หลังเกิดความแห้งแล้ง และไฟป่า

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์