สายดื่มระวัง! วิจัย ชี้ หญิงเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้ชายเท่าตัว

4 เมษายน 2567 - 09:37

Binge-drinking-may-increase-heart-disease-risk-especially-women-study-finds-SPACEBAR-Hero.jpg
  • งานวิจัยล่าสุดเผยว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจอาจเพิ่มขึ้นตามปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม

  • การค้นพบนี้เตือนว่าผู้หญิงที่ดื่มหนักมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 68% ที่จะเป็นโรคหัวใจ มากกว่าผู้ชายที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 33%

จากข้อมูลของนักวิจัยหลายคนอ้างว่า โรคหลอดเลือดหัวใจกำลังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนผู้เสียชีวิต 17.8 ล้านคนต่อปี โดยโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นชนิดหนึ่งของโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด จะปรากฏขึ้นเมื่อคอเลสเตอรอลเกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือดเกิดเป็นตะกรันที่ทำให้เลือดไหลเข้าสู่หัวใจได้ยาก

เพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าเพศชายในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยความต่างของขนาดและความโครงสร้างในหัวใจ และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในผู้หญิงตามวัยด้วย

ขณะนี้นักวิจัยจากศูนย์ดูแลสุขภาพ ไคเซอร์ เพอร์มาเนนเต้ นอร์ทเธิร์น แคลิฟอร์เนีย ได้พบว่าโอกาสที่ผู้หญิงจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ และยังพบว่าผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจด้วย

การศึกษานี้ได้ถูกนำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปีของวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา วันที่ 6 - 8 เมษายน 

ดร.จามาล รานา แพทย์โรคหัวใจในเพอร์มาเนนเต้ เมดิคอล กรุ๊ป และเป็นผู้นำการเขียนวิจัยนี้ กล่าวว่าจำเป็นที่ต้องตระหนักมากขึ้นว่าแอลกอฮอล์สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจอย่างไรบ้าง

“เมื่อเราคิดเกี่ยวกับการป้องกันโรคหัวใจ สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คือ ห้ามสูบบุหรี่” ดร.รานา กล่าว

“ผมคิดว่าจำเป็นที่จะต้องตระหนักมากขึ้นว่าการดื่มแอลกอฮอล์สามารถเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และขอให้การดื่มแอลกอฮอล์ควรเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินสุขภาพอยู่เสมอต่อไป ที่ไคเซอร์ เพอร์มาเนนเต้ นอร์ทเธิร์น แคลิฟอร์เนีย การดื่มแอลกอฮอล์ถูกพิจารณาว่าเป็นสัญญาณที่สำคัญมาก และเราตั้งคำถามเกี่ยวกับมัน และบันทึกผลทุกครั้งในการนัดตรวจ เหมือนกันกับที่เราบันทึกผลความดันโลหิต”

“มีความคิดหนึ่งที่อยู่มานานแล้วว่าแอลกอฮอล์ดีต่อหัวใจ แต่หลักฐานที่มากขึ้นและมากขึ้นกลับท้าทายความคิดนี้ และงานวิจัยที่ผ่านมาที่เปรียบเทียบคนที่ดื่มแอลกอฮอล์กับคนที่ละเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ ก็ไม่ได้ถูกประเมินอย่างมีอคติ ว่าเป็น ‘คนเลิกเหล้าเพราะป่วย’ หรือ ‘คนที่รักสุขภาพ’ เรารู้สึกว่ามันสำคัญมากในการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างระดับการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งประกอบด้วยการดื่มหนักเป็นพักๆ หรือดื่มมากเกินไป กับความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้หญิงและผู้ชาย”

ดร.รานา กล่าว

เปรียบเทียบการดื่มระดับปานกลาง กับดื่มมากเกินไป

ในการศึกษานี้ ดร.รานาและทีมวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลการดื่มแอลกอฮอล์ จากกว่า 430,000 คน ที่เคยรับการดูแลที่ไคเซอร์ เพอร์มาเนนเต้ นอร์ทเธิร์น แคลิฟอร์เนีย โดยผู้เข้าร่วมมีอายุ 18 ถึง 65 ปีและไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน โดยแบ่งปริมาณการดื่มออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต่ำ (1-2 แก้วต่อสัปดาห์) ระดับกลาง (3-14 แก้วต่อสัปดาห์ในผู้ชาย และ 3-7 แก้วต่อสัปดาห์ในผู้หญิง) และ ระดับสูง (15 แก้วหรือมากกว่า ในผู้ชาย และ 8 แก้ว หรือมากกว่าในผู้หญิงต่อสัปดาห์) นอกจากนี้ยังแบ่งผู้เข้าร่วมเป็นอีกกลุ่มที่ ดื่มมากเกินไป คือวันละ 5 แก้ว หรือมากกว่านั้นในผู้ชาย และ วันละ 4 แก้ว หรือมากกว่านั้นในผู้หญิงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา 

นักวิทยาศาสตร์นำข้อมูลระดับการดื่มแอลกอฮอล์ที่ผู้เข้าร่วมรายงานมาเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจหลังจากผ่านไป 4 ปี

คนที่ดื่มมากเกินไปมีความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

จากการวิเคราะห์ ทีมวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่ไม่ได้ดื่มมากเกินไปแต่ดื่มใน ระดับสูง มีโอกาสเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 45% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ดื่มปานกลาง ส่วนผู้หญิงที่ ดื่มมากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ 68%

Binge-drinking-may-increase-heart-disease-risk-especially-women-study-finds-SPACEBAR-Photo01.jpg

“การค้นพบเหล่านี้เตือนว่าพวกเราจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้ผู้หญิงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจจากการดื่มมากเกินไป และนี่น่าจะเน้นให้ผู้ดูแลเห็นถึงความสำคัญในการถามผู้หญิงไม่ใช่แค่ว่าดื่มบ่อยแค่ไหน แต่พวกเขาอ่านดื่มมากเกินไป”

ดร.รานา กล่าว

“ผู้หญิงมีกระบวนการต่อแอลกอฮอล์ต่างจากผู้ชายเนื่องจากเภสัชจลนศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการที่ร่างกายจัดการกับยาที่ได้รับ และกายภาพที่แตกต่างกัน ผู้หญิงที่เป็นวัยรุ่นและวัยกลางคนดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากอย่างแพร่หลาย อาจรู้สึกว่าตัวเองได้รับการป้องกันจากโรคหัวใจ จนกว่าจะอายุมากขึ้น แต่การศึกษานี้แสดงว่าแม้จะอยู่ในกลุ่มอายุนั้น ผู้หญิงที่ดื่มมากกว่าปริมาณที่แนะนำหนึ่งแก้วต่อวัน หรือมีแนวโน้มที่จะดื่มมากเกินไป เสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ” ดร.รานา กล่าวเสริม

การศึกษานี้ยังพบว่าผู้เข้าร่วมที่เป็นผู้ชาย ดื่มแอลกอฮอล์ระดับสูงเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับผู้ที่รายงานว่าดื่มระดับกลาง ส่วนผู้ชายที่ดื่มแอลกอออล์ระดับสูงและยังดื่มมากเกินไป มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 33%

ด้าน ดร.เจนนิเฟอร์ วอง แพทย์โรคหัวใจ ที่ศูนย์การแพทย์ออเรนจ์โคสต์ ในเฟาน์เทนเวลลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่าเธอรู้สึกว่านี่เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับแอลกอฮอล์อาจส่งผลในแง่ลบต่อหัวใจ

นี่ทำให้แพทย์มีหลักฐานเพิ่มเติมที่จะนำเสนอต่อผู้ป่วยเวลาที่จะโน้มน้าวให้พวกเขาลดการดื่มแอลกอฮอล์” ดร.วองอธิบาย

“สำหรับการวิจัยในอนาคต นี่อาจเป็นประโยชน์ในการหาว่าอะไรเป็นผลกระทบจากการลดแอลกอฮอล์ในแง่ของสิ่งที่ได้เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจวาย หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย และการเสียชีวิตจากโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์