นักวิทย์พบทักษะอีกอย่างหนึ่งของ ‘มด’ ที่มนุษย์ยังต้องทึ่ง!

4 ธ.ค. 2566 - 23:00

  • นอกจาก ‘มด’ จะเป็นที่รู้จักในเรื่องของความสมัครสมานสามัคคีแล้ว ยังมีอีกทักษะหนึ่งที่หลายคนยังไม่รู้ซึ่งถ้ารู้แล้วจะต้องทึ่งในความอัจฉริยะของมันเลยทีเดียว

biologists-find-another-incredible-skill-ants-that-humans-shame-SPACEBAR-Hero.jpg

ทักษะพิเศษอะไรของมดที่ทำให้มนุษย์ต้องทึ่ง?

เล็กพริกขี้หนู! สำนวนนี้ไม่เกินจริงเมื่อนำมาอธิบายความสามารถของ ‘มด’ ที่ทำให้มนุษย์อย่างเราต้องทึ่ง เมื่อทักษะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของพวกมันที่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งค้นพบนั้นถึงกับทำให้เราต้องร้อง ‘ว้าว’ เลยทีเดียว เพราะเมื่อไม่นานมานี้ นักชีววิทยาได้ค้นพบทักษะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของมดนั่นก็คือ ‘เทคนิคพิเศษในการหลีกเลี่ยงจราจรติดขัดได้’  

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสเทคและสถาบันอื่นๆ ได้ศึกษาจังหวะของมดสายพันธุ์ ‘Leptothorax’ และค้นพบว่าทักษะการซิงโครไนซ์ (synchronization skills / การทำหลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน) อันชาญฉลาดของมดช่วยให้มดหลีกเลี่ยงความแออัดได้  

หลังจากสังเกตรังของมด ‘Leptothorax’ หลายๆ รังมาสักระยะหนึ่ง ก็เห็นได้ชัดว่ามดทำกิจกรรมพร้อมกันอย่างกะทันหันนั่นเอง ซึ่งช่วยให้มดสามารถหลีกเลี่ยงการติดขัดเหล่านี้ได้

รายงานระบุว่า “มดถือเป็นแมลงที่ฉลาดที่สุดชนิดหนึ่งในโลกและเข้าสังคมได้ดี พวกมันเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการซิงโครไนซ์และพฤติกรรมที่ซับซ้อน เช่น วิธีที่พวกมันขนส่งเหยื่อร่วมกัน การเคลื่อนไหวที่ประสานกัน และการตัดสินใจที่เป็นเอกฉันท์เมื่อเลือกรัง”

ในระหว่างการศึกษาพบว่า มดมักจะออกหากินพร้อมๆ กันทุกๆ 20-200 นาที ก่อนที่จะเดินไปรอบๆ รัง ระหว่างที่ทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย มดส่วนใหญ่จะยังคงนิ่งเฉยและทำตัวเหมือนวัตถุที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ซึ่งขวางเส้นทางของมดตัวอื่นๆ

ทว่านักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงถกเถียงถึงประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งนี้ 

อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ว่า ‘จังหวะซิงโครไนซ์เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสี่ยงของสิ่งกีดขวางที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ซึ่งอาจอยู่ในรัง และอาจทำให้เกิดการจราจรติดขัด’ 

โดยรวมแล้ว นักวิทยาศาสตร์พบว่าการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องเหล่านี้นำไปสู่การเข้าถึงพื้นที่ภายในรังมดได้ดีขึ้น ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการซิงโครไนซ์ช่วงเวลาของกิจกรรมและการพักผ่อนสามารถนำไปสู่การเข้าถึงพื้นที่ภายในรังมดได้ดีขึ้น 

“มดที่ไม่เคลื่อนไหวจะทำตัวเป็นอุปสรรคที่นิ่งอยู่กับที่ ซึ่งจะจำกัดตำแหน่งของมดที่เคลื่อนไหว ทั้งนี้ การซิงโครไนซ์กิจกรรมของมดเหล่านั้นจะทำให้มดตัวอื่นๆ สามารถเคลื่อนไหวในพื้นที่ต่างๆ ของรังได้มากขึ้นเพราะมีมดเคลื่อนไหวมากขึ้น” งานวิจัยระบุ 

ขณะที่การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่ามดมีเทคนิคในการป้องกันความแออัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหาทางไปยังแหล่งอาหาร โดยการศึกษาในปี 2019 ที่ตีพิมพ์ใน eLife ระบุว่า “มดอาร์เจนตินาปรับความเร็วและหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูงทุกครั้งที่รู้สึกว่ามีความแออัด จึงทำให้พวกมันสามารถป้องกันความแออัดและการจราจรติดขัดได้”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์