ลูกเรือที่รอดชีวิตจากเรือดำน้ำดิ่งทะเลเปิดใจเล่าวินาทีเขย่าขวัญ

21 มิถุนายน 2566 - 11:00

british-survivor-pisces-iii-submarine-sank-1500-ft-SPACEBAR-Hero
  • โรเจอร์ มัลลินสัน และ โรเจอร์ แชปแมน วิศวกรชายชาวอังกฤษ 2 คนที่รอดชีวิตจากเรือดำน้ำ ‘PiscesIII’ ดำดิ่งลงใต้มหาสมุทร

  • “มันน่ากลัวมาก และเราตกลงไปที่ก้นทะเลภายใน 26 วินาทีเท่านั้น…”

ท่ามกลางกระแสข่าวที่ว่าการค้นหาเรือดำน้ำไททันจะเจอหรือเปล่ากับอากาศในตัวเรือที่เหลืออยู่ได้ไม่ถึง 1 วันแล้ว แต่ทว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้วก็เคยเกิดเหตุการณ์เรือดำน้ำดิ่งจมลงไป 1,500 ฟุตนอกชายฝั่งไอร์แลนด์ที่ท้ายที่สุดเป็น โรเจอร์ มัลลินสัน และ โรเจอร์ แชปแมน วิศวกรชายชาวอังกฤษ 2 คนที่รอดชีวิตมาได้  
 
มัลลินินสันได้เผยความรู้สึกกับเหตุการณ์เรือไททันว่า “มันน่าสยดสยองว่าอาจมีบางอย่างผิดปกติอย่างร้ายแรงบนเรือดำน้ำชมซากไททานิคที่หายไป” 
 

มัลลินสันได้กล่าวถึงกรณีเรือดำน้ำไททันที่หายไปว่า ‘น่ากลัว’ ขณะที่ตัวเขาเองก็สะท้อนประสบการณ์ฝันร้ายของตัวเองที่เกิดขึ้นในปี 1973 ว่า กรณีของเรือดำน้ำ OceanGate ที่สูญหายไปนั้นมีความคล้ายคลึงกับเรือดำน้ำ ‘Pisces III’ ที่จมไป ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นผู้โดยสารได้รับการช่วยเหลือหลังจากปฏิบัติการกู้ภัยอันเหลือเชื่อที่ยาวนานถึง 80 ชั่วโมงขณะที่เหลือออกซิเจนในเรือแค่เพียง 12 นาทีเท่านั้น 
 
หากย้อนกลับไปในเหตุการณ์ช่วงทศวรรษ 1970 ก็นับเป็นการกู้ภัยใต้น้ำที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เมื่อพูดถึงการค้นหาเรือดำน้ำลึกที่สูญหายไปพร้อมกับลูกเรือท่องเที่ยวอีก 5 คนขณะที่กำลังมุ่งตรงไปยังซากเรือไททานิค “มันน่ากลัวมาก” มัลลินสันกล่าว 
 
มัลลินสันในวัย 85 ปีกล่าวกับสำนักข่าว Sky News ว่า “ผมไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ส่งสัญญาณบางอย่าง ผมรู้สึกแย่ว่าอาจมีบางอย่างผิดปกติร้ายแรงที่พวกเขาไม่สามารถส่งสัญญาณได้” 
 
ด้วยเวลาและอากาศภายในเรือที่เหลือน้อยลงทุกที (ออกซิเจนจะหมดลงในวันที่ 22 มิ.ย.) ทำให้หลายฝ่ายคาดว่าโอกาสรอดชีวิตของลูกเรือมีเพียงแค่ 1 ใน 100 เท่านั้น


ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้วปี 1973…

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5u8mN5WLeb5slAH4FQ8LgR/d4eec41db3052efdf2bcb40025e4bfff/british-survivor-pisces-iii-submarine-sank-1500-ft-SPACEBAR-Photo01
เหตุการณ์เรือดำน้ำจมเมื่อปี 1973 ที่แทบจะไม่น่าเชื่อ เนื่องจากเรือดำน้ำขนาดเล็กจมดิ่งลงไปถึง 1,575 ฟุตใต้พื้นผิวด้วยอากาศภายในแค่ 80 ชั่วโมงหลังจากเกิดอุบัติเหตุที่ห่างออกไป 150 ไมล์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองคอร์ก ประเทศไอร์แลนด์ 
 
และเกิดปฏิบัติการช่วยเหลือระหว่างประเทศครั้งใหญ่ ซึ่งในที่สุดเรือก็ถูกลากขึ้นมาได้อย่างหวุดหวิดโดยเหลือออกซิเจนเพียง 12 นาที 
 
เมื่อถามความรู้สึกของมัลลินสันในช่วงเวลาที่เขาต้องติดอยู่ใต้น้ำทั้งเป็น เขากล่าวว่า “เราน่าจะไม่รอดแล้ว…84 ชั่วโมงเป็นเวลาที่ยาวนานมาก และเรามีอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ เราแค่ต้องปันส่วนทุกอย่าง ดูแลกันและกัน” 
 
มัลลินสันเปิดเผยอีกว่าในวันนั้นถ้าเขาไม่ตัดสินใจหยิบขวดออกซิเจนติดมา เขาคงไม่รอดชีวิต “โชคดีว่าก่อนที่เราจะเริ่มดำน้ำ ผมหยิบขวดออกซิเจนติดไปด้วย” 
 
นอกจากนี้ มัลลินสันได้เล่าว่าทุกอย่างมันเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่เขาและแชปแมนอยู่ในเรือดำน้ำขนาดเล็กยาว 20 ฟุต ‘Pisces III’ เป็นเวลา 8 ชั่วโมงขณะที่พวกเขากำลังฝังสายเคเบิลโทรศัพท์ไว้ในก้นทะเลใต้มหาสมุทรอันมืดมิด ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามแผนในขั้นต้น เนื่องจากทั้งคู่มีประสบการณ์การดำน้ำเพื่อขึ้นมาทานอาหารเช้าหลังจากทำงานหนักมาทั้งคืน โดยเป็นการดำน้ำครั้งที่ 325 ของภารกิจ 
 
ทว่าตอนที่มัลลินสันและแชปแมนขึ้นมาบนผิวน้ำและกำลังรออาหารเช้าช่วง 9 โมง ในตอนนั้นเองก็เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น เมื่อนักประดาน้ำจากเรือสนับสนุน ‘Vickers Voyager’ ติดเชือกลากเข้ากับเรือดำน้ำที่จะพาทั้ง 2 คนเข้าฝั่ง 

ณ จุดนี้ สิ่งต่างๆ เริ่มผิดพลาดอย่างร้ายแรง…
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6mbDzPDJSHHSQGttHVxeFT/c9956211a575ae721458c59292c03f93/british-survivor-pisces-iii-submarine-sank-1500-ft-SPACEBAR-Photo03
Photo: wikipedia / United States Navy
มัลลินสันกล่าวโทษว่า นักประดาน้ำที่ผูกเชือกลากเข้ากับปล่องเรือที่ชำรุดอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้มัลลินสันเคยแจ้งซ่อมแซมแต่ถูกยกเลิกไป เมื่อพ่วงผิดจุดจึงทำให้เสียงสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น 2 ครั้งซึ่งเกิดการรั่วไหลขึ้นมาและน้ำก็พุ่งเข้ามา 
 
ทุกอย่างถูกดึงลงมาอย่างกะทันหัน ทั้งมัลลินสันและแชปแมนพยายามดิ้นรนสุดชีวิต และเมื่ออยู่ราวๆ 200 ฟุต สายลากก็ตึงทันที เพียงไม่กี่นาทีต่อมาสายลากก็ขาดทำให้พวกเขาดิ่งลงสู่ก้นทะเล “มันน่ากลัวมาก และเราตกลงไปที่ก้นทะเลใน 26 วินาที ตอนนั้นเราใช้เวลา 4 นาทีในการขึ้นมาแต่ทันใดนั้นเราก็จมลงภายใน 26 วินาที” 
 
หลังจากการกระแทกอย่างรุนแรงอีกครั้ง เรือดำน้ำก็หยุดลง ทำให้พวกเขากระแทกกับผนังและร่วงลงมาทับกัน  ซึ่งมาตรวัดในเรือ Pisces III วัดได้ที่ความลึก 1,575 ฟุต แม้จะตกอย่างน่าสยดสยอง แต่เรือก็ยังสมบูรณ์  
 
เมื่อจมดิ่งลงสู่ความมืดทั้ง 2 คนก็ตระหนักได้อย่างรวดเร็วว่าพวกเขากำลังเผชิญกับปัญหาสำคัญ 2-3 ข้อ ดังนี้ 
  • พวกเขาตระหนักว่าตนเองมีปริมาณออกซิเจนที่ลดน้อยลง และจำเป็นต้องหยุดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะคร่าชีวิตพวกเขาได้ 
  • เรือเย็นจัดและอาหารก็น้อย แต่โชคดีที่ไฟฟ้ายังคงทำงานอยู่ หมายความว่าพวกเขาก็ยังมีแสงสว่างและความร้อน 
แต่พวกเขาก็ต้องมาตกใจกับขวดออกซิเจนหลักรั่ว สิ่งนี้ที่ทำให้พวกเขาบ้าคลั่ง และต้องตกใจอีกครั้งเมื่อพบกับเครื่องสคับเบอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่กรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่พวกเขาหายใจออก “ถ้ามันเสียหายเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ ระยะเวลารอดชีวิตของเราคงจะสั้นมากอย่างแน่นอน” 
 
ทั้งนี้ พวกเขายังตั้งนาฬิกาจับเวลาไว้ 2 เรือนสำหรับใช้ปลุกทุกๆ 30 นาทีเพื่อเตือนให้เปิดใช้งานเครื่องสคับเบอร์ ทั้ง 2 คนทราบดีว่าหากพวกเขาหลับไปและไม่ได้เปิดเครื่องฟอกอากาศก็มีโอกาสที่ทั้งคู่จะไม่ตื่น พวกเขายังแบ่งปันน้ำมะนาว 1 กระป๋อง กาแฟดำครึ่งขวด นมผง 1 กระป๋อง น้ำตาล 1 ซอง แอปเปิ้ล 2 ลูก และขนมปังกรอบ 3 ชิ้น  
 
แม้ว่าอุปกรณ์ทั้งหมดของพวกเขาจะอยู่ในสภาพดี และมีเพียงสัญญาณวิทยุขาดๆ หายๆ เท่านั้น ขณะเดียวกันอุณหภูมิภายในเรือก็อยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส ประกอบกับความชื้น 95% และการควบแน่นที่ไหลลงมาตามผนัง พวกเขาจึงรู้สึกเย็นขึ้น 
 
หลังจากจมดิ่งอยู่ใต้มหาสมุทรนานถึง 80 ชั่วโมง…
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1s3yvCYjERQ7htfpEaoT9G/2452924993ecfefcee644c444a673ce4/british-survivor-pisces-iii-submarine-sank-1500-ft-SPACEBAR-Photo04
Photo: เรือดำน้ำ ‘Pisces V’ : wikipedia / NOAA
ขณะเดียวกันที่ทั้งคู่พยายามเอาชีวิตรอด หน่วยกู้ภัยเหนือน้ำก็กำลังดำเนินการช่วยชีวิตพวกเขาด้วยเช่นกัน ซึ่ง ปีเตอร์ เมซเซอร์วีย์ รับหน้าที่ช่วยเหลือพวกเขาและคำนวณว่าออกซิเจนภายในเรืออาจจะอยู่ได้ถึงเวลา 16.00 น. ของวันเสาร์ เนื่องจากเรือจมลงในเวลาประมาณ 09.00 น. ของวันพุธ นั่นหมายความว่ากู้ภัยจะต้องปฏิบัติภารกิจให้เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่ถึง 80 ชั่วโมง 
  • วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 1973 เวลา 01.00 น. เหลือออกซิเจนเพียง 39 ชั่วโมง  
  • วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 1973 เวลา 2.14 น. ใช้เรือดำน้ำ ‘Pisces II’ ลากเรือดำน้ำ ‘Pisces III’ ขึ้นสู่ผิวน้ำได้ แต่โชคไม่ดีที่เกิดปัญหาหลายอย่าง และก็ยังเรือ ‘Pisces III’ ไม่เจอ 
  • วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 1973 เวลา 12.44 น. ทีมงานตัดสินใจใช้เรือดำน้ำ ‘Pisces V’ ลาก ‘Pisces III’  
  • วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 1973 ก่อนเวลา 11.00 น. ปฏิบัติการเริ่มขึ้นและเรือถูกเหวี่ยงอย่างรุนแรง ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ถุงที่ใส่ของเสียของมัลลินสันและแชปแมนแตกออกมา 
  • วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 1973 เวลา 13.17 น. เรือ ‘Pisces III’ โผล่ขึ้นมา ตอนนั้นแชปแมนมองไปที่มาตรวัดออกซิเจนและเห็นว่าเหลือเวลาอีกเพียง 20 นาทีเท่านั้น แต่การตรวจสอบในภายหลังพบว่าออกซิเจนเหลืออยู่เพียง 12 นาที 
“มีเสียงดังโครมคราม…ประตูเปิดออกและมีแสงแดดส่องเข้ามาจากด้านบนและมีมือยื่นลงมา” แชปแมนกล่าวจากนั้น ชายทั้ง 2 คนก็ล้มลงในเรือเป่าลมที่ซึ่งแม้จะเหนื่อยล้าแต่ก็พบว่าพวกเขาทั้งคู่มีสุขภาพที่ดี 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์