ช่วงเทศกาลสงกรานต์ในขณะที่บ้านเรากำลังเฉลิมฉลองวันหยุดยาว พร้อมกับการเล่นน้ำสงกรานต์ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปีตั้งแต่มีโควิดระบาด ช่วงดังกล่าวอีกซีกโลกหนึ่งเมื่อ 15 เมษายนก็เกิดความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศซูดาน หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ‘สาธารณรัฐซูดาน’ หนึ่งในชาติที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชาติแแอฟริกา
เกิดความวุ่นวายภายในของกลุ่มทหารสองฝ่ายที่ภักดี 2 นายพลซึ่งครั้งหนึ่งเคยจับมือกันทำรัฐประหารโค้นรัฐบาลชุดก่อนหน้า โดยอ้างความสงบของประเทศ แต่ต่อมาทั้งสองกลับมีความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับทิศทางประเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่การปกครองแบบพลเรือน
นับตั้งแต่ 15 เมษายน การสู้รบที่ปะทุขึ้นในกรุงคาร์ทูม เมืองหลวงของซูดาน ได้แผ่ขยายไปยังหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ส่งผลให้มีพลเมืองล้มตายไปแล้วกว่า 400 ราย บาดเจ็บมากกว่า 2,600 คน ตามตัวเลขของสหประชาชาติ
ชาวซูดานต่างพยายามเดินทางลี้ภัยออกนอกประเทศ ขณะที่บรรดาสถานทูตของรัฐบาลต่างชาติ พากันส่งเครื่องบินไปรับเจ้าหน้าที่ทูตและพลเมืองของตนออกจากซูดาน นำไปสู่วิกฤตมนุษยธรรมครั้งเลวร้าย
เกิดอะไรขึ้นในซูดานกันแน่ อะไรเป็นชนวนเหตุสำคัญซึ่งท้ายที่สุดทำให้ ‘2 นายพล’ ซึ่งเคยร่วมมือกันทำรัฐประหารโค้นรัฐบาลชุดก่อนหน้า แต่ตอนนี้กลับมาแตกคอสู้รบกันเอง
ในเวลานั้นนายอัลบะชีรปราบปรามประชาชนที่ออกมาประท้วงอย่างหนัก จนก่อให้เกิดความกังวลระดับนานชาติ กระทั่ง 22 กุมภาพันธ์ 2019 เขาได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ พร้อมสั่งปล่อยตัวบรรดานักกิจกรรมสตรีที่ถูกรัฐบาลจับกุมระหว่างเหตุประท้วงเพื่อหวังผ่อนคลายสถานการณ์
ทว่าการประท้วงก็ยังดำเนินไปพร้อมกับมีกองกำลังทหารอิสระจำนวนหนึ่งทำหน้าที่คอยปกป้องกลุ่มผู้ประท้วงจากกองกำลังรักษาความมั่นคงของรัฐบาล ในที่สุด 11 เมษายน กองทัพซูดานก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากอัลบะชีร์
การรัฐประหารวันที่ 11 เมษายนในเวลานั้น จะไม่มีทางสำเร็จหากปราศจากกองกำลังจากทหารจาก 2 หน่วยซึ่งทำหน้าที่ปกป้องประชาชนในช่วงที่มีเหตุประท้วงคือ พล.อ. อับเดล ฟัตตาห์ อัล–บูร์ฮาน ( Abdel Fattah al-Burhan) ผู้บัญชาการกองทัพซูดาน (Sudanese Armed Forces - SAF) และกองกำลังกึ่งทหาร (Rapid Support Forces - RSF) ภายใต้การบัญชาของ พล.อ. โมฮาเหม็ด ฮัมดัน ดากาโล (Mohamed Hamdan Dagalo) หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า นายพล ‘เฮเมดติ’ ( Hemedti) ทั้งสองจับมือกันทำรัฐประหารจนสามารถโค้นประธานาธิบดีอุมัร อัลบะชีร ลงจากตำแหน่งได้ในที่สุด
และตามสูตรสำเร็จของการรัฐประหารที่เชื่อว่าหลายคนคงจำได้ พวกเขาให้คำมั่นว่าจะนำประเทศกลับสู่ความสงบ เข้าสู่เส้นทางประชาธิปไตยอีกครั้ง โดย ‘ขอเวลา’ ให้ทหารปกครองประเทศภายใต้ชื่อ 'สภาการทหารเฉพาะกาล' Transitional Military Council (2019) หรือ สภา TMC โดยสภานี้ก็ปกครองซูดานอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง พร้อมกับมีการลงนามสัญญาสงบศึกกับบรรดาแนวร่วมกลุ่มกบฎซูดาน Forces of Freedom and Change Alliance (FFC) ที่ทรงอิทธิพลตามท้องถิ่นเพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศสู่รัฐบาลพลเรือน
เกิดความวุ่นวายภายในของกลุ่มทหารสองฝ่ายที่ภักดี 2 นายพลซึ่งครั้งหนึ่งเคยจับมือกันทำรัฐประหารโค้นรัฐบาลชุดก่อนหน้า โดยอ้างความสงบของประเทศ แต่ต่อมาทั้งสองกลับมีความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับทิศทางประเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่การปกครองแบบพลเรือน
นับตั้งแต่ 15 เมษายน การสู้รบที่ปะทุขึ้นในกรุงคาร์ทูม เมืองหลวงของซูดาน ได้แผ่ขยายไปยังหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ส่งผลให้มีพลเมืองล้มตายไปแล้วกว่า 400 ราย บาดเจ็บมากกว่า 2,600 คน ตามตัวเลขของสหประชาชาติ
ชาวซูดานต่างพยายามเดินทางลี้ภัยออกนอกประเทศ ขณะที่บรรดาสถานทูตของรัฐบาลต่างชาติ พากันส่งเครื่องบินไปรับเจ้าหน้าที่ทูตและพลเมืองของตนออกจากซูดาน นำไปสู่วิกฤตมนุษยธรรมครั้งเลวร้าย
เกิดอะไรขึ้นในซูดานกันแน่ อะไรเป็นชนวนเหตุสำคัญซึ่งท้ายที่สุดทำให้ ‘2 นายพล’ ซึ่งเคยร่วมมือกันทำรัฐประหารโค้นรัฐบาลชุดก่อนหน้า แต่ตอนนี้กลับมาแตกคอสู้รบกันเอง
จับมือรัฐประหาร
ชนวนความขัดแย้งของซูดานต้องย้อนกลับไปช่วงปี 2019 อันเป็นส่วนหนึ่งของโดมิโนจากเหตุการณ์ประท้วงอาหรับสปริง การประท้วงในซูดานเป็นวงกว้างเพื่อขับไล่ประธานาธิบดีที่เรียกว่าแทบจะเป็นสงครามกลางเมืองขนาดย่อมๆ ประชาชนชาวซูดานต่างออกมาประท้วงเคลื่อนไหวที่แรกเริ่มเดิมทีเป็นการประท้วงค่าครองชีพและสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ แต่หลังจากการประท้วง'จุดติด' วัตถุประสงค์ของการประท้วงก็เปลี่ยนไปเป็นการเรียกร้องให้ประธานาธิบดีอุมัร อัลบะชีร (Omar al-Bashir) ซึ่งครองอำนาจผู้นำซูดานมาตั้งแต่ปี 1993 ลงจากตำแหน่งในเวลานั้นนายอัลบะชีรปราบปรามประชาชนที่ออกมาประท้วงอย่างหนัก จนก่อให้เกิดความกังวลระดับนานชาติ กระทั่ง 22 กุมภาพันธ์ 2019 เขาได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ พร้อมสั่งปล่อยตัวบรรดานักกิจกรรมสตรีที่ถูกรัฐบาลจับกุมระหว่างเหตุประท้วงเพื่อหวังผ่อนคลายสถานการณ์
ทว่าการประท้วงก็ยังดำเนินไปพร้อมกับมีกองกำลังทหารอิสระจำนวนหนึ่งทำหน้าที่คอยปกป้องกลุ่มผู้ประท้วงจากกองกำลังรักษาความมั่นคงของรัฐบาล ในที่สุด 11 เมษายน กองทัพซูดานก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากอัลบะชีร์
การรัฐประหารวันที่ 11 เมษายนในเวลานั้น จะไม่มีทางสำเร็จหากปราศจากกองกำลังจากทหารจาก 2 หน่วยซึ่งทำหน้าที่ปกป้องประชาชนในช่วงที่มีเหตุประท้วงคือ พล.อ. อับเดล ฟัตตาห์ อัล–บูร์ฮาน ( Abdel Fattah al-Burhan) ผู้บัญชาการกองทัพซูดาน (Sudanese Armed Forces - SAF) และกองกำลังกึ่งทหาร (Rapid Support Forces - RSF) ภายใต้การบัญชาของ พล.อ. โมฮาเหม็ด ฮัมดัน ดากาโล (Mohamed Hamdan Dagalo) หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า นายพล ‘เฮเมดติ’ ( Hemedti) ทั้งสองจับมือกันทำรัฐประหารจนสามารถโค้นประธานาธิบดีอุมัร อัลบะชีร ลงจากตำแหน่งได้ในที่สุด
และตามสูตรสำเร็จของการรัฐประหารที่เชื่อว่าหลายคนคงจำได้ พวกเขาให้คำมั่นว่าจะนำประเทศกลับสู่ความสงบ เข้าสู่เส้นทางประชาธิปไตยอีกครั้ง โดย ‘ขอเวลา’ ให้ทหารปกครองประเทศภายใต้ชื่อ 'สภาการทหารเฉพาะกาล' Transitional Military Council (2019) หรือ สภา TMC โดยสภานี้ก็ปกครองซูดานอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง พร้อมกับมีการลงนามสัญญาสงบศึกกับบรรดาแนวร่วมกลุ่มกบฎซูดาน Forces of Freedom and Change Alliance (FFC) ที่ทรงอิทธิพลตามท้องถิ่นเพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศสู่รัฐบาลพลเรือน

วันที่ 20 สิงหาคม 2019 ซูดานได้จัดตั้งสภาอธิปไตยเฉพาะกาล (Transitional Sovereignty Council) ส่งผลให้ TMC ถูกยุบลงในที่สุด โดยในเวลานั้นทั้งฝ่ายทหารและนักการเมืองฝ่ายพลเรือนได้เจรจากันให้สภาอธิปไตยเฉพาะกาลมีส่วนผสมระหว่างทหารกับนักการเมือง โดยมีนายกรัฐมนตรีพลเรือน อับดัลลอฮ์ ฮัมดูก เป็นหัวหน้าของสภาอธิปไตยดังกล่าว
แต่ด้วยการเจรจาบางประการที่ไม่ลงตัวทำให้ท้ายที่สุดนายพลอับเดล ฟัตตาห์ อัล–บูร์ฮาน ก็กระทำรัฐประหารรอบสอง โค้นล้มสภาอธิปไตยเฉพาะกาลในเดือนตุลาคม 2021 พร้อมกับจัดตั้งสภาอธิปไตยเฉพาะกาลชุดใหม่ที่มีสมาชิกจากกองทัพทั้งหมด รวมถึงมีการจับกุมคณะรัฐบาลและกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลพลเรือนจำนวนมาก ท้ายที่สุด นายพลอับเดล ฟัตตาห์ อัล–บูร์ฮาน ขึ้นเป็นประธานาธิบดีซูดาน
ซูดานภายใต้การปกครองของสภาอธิปไตยเฉพาะกาลได้เลือกให้พล.อ. อับเดล ฟัตตาห์ อัล–บูร์ฮาน ผู้บัญชาการทหารซูดาน ขึ้นเป็นประธานาธิบดีซูดานเพื่อเตรียมการณ์ "เปลี่ยนผ่าน" ประเทศสู่รัฐบาลประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นไปตามแผน แต่ในเวลานั้นบรรดาสื่อต่างประเทศหลายแห่งอย่าง อัลจาซีราห์, วอชิงตันโพสต์ และรอยเตอร์ ต่างทราบดีว่าแม้พลเอก อัล–บูร์ฮาน จะสามารถคุมรัฐบาลในกรุงคาร์ทูมได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่อำนาจในท้องถิ่นโดยเฉพาะบรรดากองกำลังติดอาวุธตามภูมิภาคต่างๆ รวมถึงเหมืองทองที่เป็นแหล่งทำเงินให้กับประเทศ อยู่ภายใต้สายบังคับบัญชาของ พล.อ. โมฮาเหม็ด ฮัมดัน ดากาโล หรือนายพลเฮเมดติ
ในช่วงแรกทั้งสองก็ดูเหมือนจะไปได้สวยในการรักษาความสงบของประเทศ แม้ว่าจะเต็มไปด้วยข้อครหามากมายจากนานาชาติ ในฐานะที่กองกำลัง RSF ของนายพลเฮเมดติมีบทบาทต่อต้านการก่อความไม่สงบ และช่วยเหลือกองทัพในปราบปรามกลุ่มกบฏ ในลักษณะกลุ่มทหารรับจ้างเพื่อต่อสู้กับกลุ่มกบฏ โดยไม่คำนึงถึงการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือน ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน กองกำลังทหารซูดานของอัล–บูร์ฮาน ก็ปราบปรามกลุ่มต่อต้านด้วยวิธีการรุนแรง มีรายงานละเมิดสิทธิมนุษยชนและการล่วงละเมิดทางเพศสตรีมากมาย
แต่ด้วยการเจรจาบางประการที่ไม่ลงตัวทำให้ท้ายที่สุดนายพลอับเดล ฟัตตาห์ อัล–บูร์ฮาน ก็กระทำรัฐประหารรอบสอง โค้นล้มสภาอธิปไตยเฉพาะกาลในเดือนตุลาคม 2021 พร้อมกับจัดตั้งสภาอธิปไตยเฉพาะกาลชุดใหม่ที่มีสมาชิกจากกองทัพทั้งหมด รวมถึงมีการจับกุมคณะรัฐบาลและกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลพลเรือนจำนวนมาก ท้ายที่สุด นายพลอับเดล ฟัตตาห์ อัล–บูร์ฮาน ขึ้นเป็นประธานาธิบดีซูดาน
ซูดานภายใต้การปกครองของสภาอธิปไตยเฉพาะกาลได้เลือกให้พล.อ. อับเดล ฟัตตาห์ อัล–บูร์ฮาน ผู้บัญชาการทหารซูดาน ขึ้นเป็นประธานาธิบดีซูดานเพื่อเตรียมการณ์ "เปลี่ยนผ่าน" ประเทศสู่รัฐบาลประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นไปตามแผน แต่ในเวลานั้นบรรดาสื่อต่างประเทศหลายแห่งอย่าง อัลจาซีราห์, วอชิงตันโพสต์ และรอยเตอร์ ต่างทราบดีว่าแม้พลเอก อัล–บูร์ฮาน จะสามารถคุมรัฐบาลในกรุงคาร์ทูมได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่อำนาจในท้องถิ่นโดยเฉพาะบรรดากองกำลังติดอาวุธตามภูมิภาคต่างๆ รวมถึงเหมืองทองที่เป็นแหล่งทำเงินให้กับประเทศ อยู่ภายใต้สายบังคับบัญชาของ พล.อ. โมฮาเหม็ด ฮัมดัน ดากาโล หรือนายพลเฮเมดติ
ในช่วงแรกทั้งสองก็ดูเหมือนจะไปได้สวยในการรักษาความสงบของประเทศ แม้ว่าจะเต็มไปด้วยข้อครหามากมายจากนานาชาติ ในฐานะที่กองกำลัง RSF ของนายพลเฮเมดติมีบทบาทต่อต้านการก่อความไม่สงบ และช่วยเหลือกองทัพในปราบปรามกลุ่มกบฏ ในลักษณะกลุ่มทหารรับจ้างเพื่อต่อสู้กับกลุ่มกบฏ โดยไม่คำนึงถึงการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือน ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน กองกำลังทหารซูดานของอัล–บูร์ฮาน ก็ปราบปรามกลุ่มต่อต้านด้วยวิธีการรุนแรง มีรายงานละเมิดสิทธิมนุษยชนและการล่วงละเมิดทางเพศสตรีมากมาย

2 นายพลแตกคอ
การเมืองของซูดานมักถูกครอบงำโดยชนชั้นนำซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่รอบๆ คาร์ทูมและแม่น้ำไนล์ ตลอดปีกว่าของการกุมอำนาจภายใต้ 2 นายพล กองกำลัง RSF ของนายพลเฮเมดติ เริ่มมีบทบาทนอกประเทศ โดยเฉพาะการสนับสนุนปฏิบัติการปราบก่อการร้ายในเยเมน สะท้อนให้เห็นว่าศักยภาพของ RSF อันประกอบด้วยสมาชิกกำลังพลไม่น้อยกว่า 100,000 นาย เริ่มทรงอิทธิพลมากขึ้นทั้งสองนายพลเริ่มมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับทิศทางประเทศที่ต้องเปลี่ยนผ่านสู่การปกครองภายใต้การนำของรัฐบาลพลเรือน ความตึงเครียดระหว่างกองทัพและ RSF เพิ่มขึ้นเมื่อเส้นตายสำหรับการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนใกล้เข้ามา โดยเน้นไปที่ประเด็นที่ยุ่งยากว่าควรรวม RSF เข้ากับกองกำลังปกติอย่างไร
ทั้งสองมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับทิศทางที่ประเทศกำลังดำเนินอยู่ รวมถึงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอในการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การปกครองภายใต้การนำของพลเรือน
ความตึงเครียดระหว่างกองทัพและ RSF เพิ่มขึ้นเมื่อเส้นตายสำหรับการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนใกล้เข้ามา โดยเน้นไปที่ประเด็นแผนการรวมกองกำลัง RSF อันแข็งแกร่งเข้ากับกองทัพ และใครจะเป็นผู้นำกองกำลังใหม่ที่สามารถคุมกองกำลังทั้งสองภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือนอีกทีหนึ่ง ที่นอกจากต้องคุมกองทัพได้แล้ว ยังต้องได้รับความยอมรับจากบรรดาแกนนำของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศด้วย

ที่ผ่านมาบรรดาแกนนำกลุ่มชาติพันธุ์มักพูดถึงนายพลเฮเมดติว่า ไม่มีความเหมาะสมที่จะปกครองรัฐ อีกทั้ง เฮเมดติพยายามสร้างพันธมิตรกับกลุ่มกบฏในดาร์ฟูร์และคอร์โดฟานใต้ ที่ซึ่งกองกำลัง RSF ของเขาเคยปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม ในทางหนึ่งกองกำลัง RSF ก็ได้สร้างฐานทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้นเฉกเช่นเดียวกับกองทัพซูดาน
เรื่องนี้จึงกลายเป็นการดวลกำลังงัดข้อกันระหว่าง 2 นายพลที่ครั้งหนึ่งเคยร่วมมือโค่นผู้นำเผด็จการที่ครองอำนาจมากยาวนาน
กรอบข้อตกลงในการคืนอำนาจสู่มือของพลเรือนที่ทั้ง 2 นายพลเคยให้คำมั่น ท้ายที่สุดการเจรจาก็ล้มเหลว การแตกคอของทั้ง 2 นายพล สุดท้ายจึงบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมืองรอบใหม่ในซูดานที่ส่อแววยืดเยื้อไม่มีสิ้นสุด
ไม่ว่าอย่างไรการเป็นปฏิปักษ์ของทั้งสองฝ่ายนี้ รั้งแต่จะเพิ่มความเสี่ยงที่ความขัดแย้งอาจลุกลามและให้อาจต้องมีการแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจภายนอก ซึ่งท้ายที่สุดการเมืองซูดานจะเป็นอย่างไรก็คงต้องติดตามใกล้ชิดต่อไป
อย่างไรก็ตามไม่ว่าวิกฤตในซูดานจะยุติลงแบบใด แต่ "พล็อตเรื่อง" แนวนี้ก็เป็นบทเรียนให้หลายประเทศได้เรียนรู้เช่นกัน
เรื่องนี้จึงกลายเป็นการดวลกำลังงัดข้อกันระหว่าง 2 นายพลที่ครั้งหนึ่งเคยร่วมมือโค่นผู้นำเผด็จการที่ครองอำนาจมากยาวนาน
กรอบข้อตกลงในการคืนอำนาจสู่มือของพลเรือนที่ทั้ง 2 นายพลเคยให้คำมั่น ท้ายที่สุดการเจรจาก็ล้มเหลว การแตกคอของทั้ง 2 นายพล สุดท้ายจึงบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมืองรอบใหม่ในซูดานที่ส่อแววยืดเยื้อไม่มีสิ้นสุด
ไม่ว่าอย่างไรการเป็นปฏิปักษ์ของทั้งสองฝ่ายนี้ รั้งแต่จะเพิ่มความเสี่ยงที่ความขัดแย้งอาจลุกลามและให้อาจต้องมีการแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจภายนอก ซึ่งท้ายที่สุดการเมืองซูดานจะเป็นอย่างไรก็คงต้องติดตามใกล้ชิดต่อไป
อย่างไรก็ตามไม่ว่าวิกฤตในซูดานจะยุติลงแบบใด แต่ "พล็อตเรื่อง" แนวนี้ก็เป็นบทเรียนให้หลายประเทศได้เรียนรู้เช่นกัน