กัมพูชาเตรียมยื่น ‘สงกรานต์’ เป็นมรดกโลกยูเนสโก

1 เมษายน 2567 - 05:19

cambodia-plans-to-add-7-tangible-3-intangible-cultural-properties-to-unesco-heritage-listing-SPACEBAR-Hero.jpg
  • “เราจะเสนอชื่อสิ่งเหล่านี้เข้าเป็นมรดกโลกของ ‘UNESCO’ เพื่อให้ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษของเราได้รับการยอมรับและอนุรักษ์ในระดับสากล”

นายกรัฐมนตรี ฮุนมาเน็ต ของกัมพูชา ประกาศแผนการเสนอชื่อทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ 7 รายการ และทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 3 รายการ รวมทั้งประเพณีสงกรานต์ของกัมพูชา เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอันทรงเกียรติของยูเนสโก (UNESCO) 

ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ 7 รายการ ได้แก่ 

  1. อดีตเรือนจำ M-13 
  2. พิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต็วลเสลง (Tuol Sleng) และศูนย์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เจิงเอก (Choeung Ek)
  3. ปราสาทบันทายฉมาร์ (Chhmar) ซึ่งเป็นที่ตั้งของอังกอร์บอเรยและวัดพนมดา
  4. ‘Preah Reach Troap’ โบราณสถานบนภูเขา
  5. แหล่งโบราณคดีปราสาทพระคาน กัมปงสวาย
  6. วัดเบ็งเมเลีย
  7. รีสอร์ทเชิงประวัติศาสตร์บนภูเขากุเลน 

ส่วนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้อีก 3 รายการ ได้แก่ 

  1. สงกรานต์ของกัมพูชา
  2. ประเพณีทอผ้าพันคอแบบดั้งเดิม (woven scarf Krama)
  3. ประเพณีการแต่งงานแบบเขมร  

“เราจะเสนอชื่อสิ่งเหล่านี้เข้าเป็นมรดกโลกของ ‘UNESCO’ เพื่อให้ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษของเราได้รับการยอมรับและอนุรักษ์ในระดับสากล” ฮุนมาเน็ต กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างพิธีเปิดเจดีย์พุทธในจังหวัดโพธิสัตทางตะวันตกเฉียงเหนือ 

ฮุนมาเน็ตกล่าวว่าโดยปกติแล้ว จะใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินเป็นมรดกโลกของยูเนสโก และประเทศหนึ่งๆ สามารถเพิ่มทรัพย์สินเข้าไปในรายการดังกล่าวได้เพียงปีเดียวเท่านั้น 

ทั้งนี้ กัมพูชาจะส่งเอกสารเพื่อขึ้นทะเบียน ‘ประเพณีสงกรานต์ของกัมพูชา’ เป็นรายการมรดกที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกในปี 2025 และคาดว่าจะได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในปี 2026 

‘สงกรานต์’ เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤตหรือที่เรียกว่า ‘ปีใหม่ตามปฏิทินทางพุทธศาสนา’ ซึ่งมีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศทางพุทธศาสนาในเอเชีย รวมถึงกัมพูชา ไทย ลาว และเมียนมา 

ฮุนมาเน็ตกล่าวว่า “กัมพูชามีทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ 4 ประการ และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 6 รายการที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโกแล้ว” 

ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ซึ่งขึ้นทะเบียนแล้ว 4 ประการ ได้แก่

  1. อุทยานโบราณคดีอังกอร์ 
  2. ปราสาทเขาพระวิหาร (Preah Vihear Temple)
  3. เขตวัดสัมโบร์ไพรกุก (the Temple Zone of Sambor Prei Kuk)
  4. แหล่งโบราณคดีเกาะแกร์  

ในขณะที่มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ซึ่งขึ้นทะเบียนแล้ว  6 ประการ ได้แก่

  1. ละครหลวง (Royal Ballet)
  2. ‘แสบก ธม’ หุ่นกระบอกเงาเขมร (Sbek Thom)
  3. เกมชักเย่อ
  4. จะเป็ยฎ็องแวง หรือจะเป็ย (Chapei Dang Veng)
  5. ละโคนโขล (Lkhon Khol Wat Svay Andet)
  6. ศิลปะการต่อสู้แบบดั้งเดิม ‘โบกาตอร์’ (KunBokator)”  

Photo by Penny STEPHENS / ASEAN-Australia Special Summit 2024 / AFP

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์