ออกกำลังกายแบบไหนดีต่อใจ วิจัยชี้ (อาจ) ลดอาการ ‘ซึมเศร้า’

21 กุมภาพันธ์ 2567 - 04:50

Certain-kind-of-exercise-may-reduce-depression-symptoms-SPACEBAR-Hero.jpg
  • งานวิจัยล่าสุด พบว่า การเดิน วิ่งเหยาะ โยคะ และการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ อาจเป็นรูปแบบของการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดอาการซึมเศร้า

  • ยิ่งออกกำลังกายหนักขึ้นมีแนวโน้มว่ายิ่งส่งผลดีต่อสุขภาพจิต

เคยสังเกตไหมว่าเวลาออกกำลังกายแล้วรู้สึกว่าอารมณ์ดีขึ้น

งานวิจัยล่าสุด ที่เผยแพร่ในวารสาร The BMJ พบว่าการออกกำลังกายบางประเภท โดยเฉพาะเดิน วิ่งเหยาะ โยคะ และการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ดูเหมือนว่าจะเป็นรูปแบบของการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดอาการซึมเศร้า

นอกจากนี้ยังพบว่าขณะที่ออกกำลังกายเบาๆก็ส่งผลดีแล้ว แต่ยิ่งออกกำลังกายให้กระฉับกระเฉงหรือใช้พลังมากขึ้นก็ยิ่งเพิ่มประโยชน์มากขึ้น โดยงานวิจัยนำข้อมูลมาจากการวิเคราะห์การทดลอง 218 งาน ของผู้เข้าร่วม 14,170 คน ซึ่งนำการออกกำลังกายมาใช้รักษาโรคซึมเศร้าเทียบกับการรักษาที่กำหนดไว้อยู่แล้ว อย่างการให้ยาต้านเศร้า และการทำจิตบำบัด 

พบว่าการเดินหรือวิ่งเหยาะ โยคะ และการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ผสมกับแอโรบิคและไทเก็ก ลดอาการซึมเศร้าในระดับปานกลาง และผลในระดับปานกลางยังพบในการออกกำลังกายควบคู่กับการใช้ยาต้านเศร้า SSRI หรือการออกกำลังกายแอโรบิคควบคู่กับจิตบำบัด ซึ่งชี้ว่าการออกกำลังกายจะส่งผลดีเพิ่มขึ้นเมื่อทำควบคู่กับการรักษาหลักเหล่านี้

ขณะที่นักวิจัยให้ข้อมูลว่าคุณภาพของหลักฐานต่ำและมีการทดลองติดตามผู้เข้าร่วมสั้นมากเพียงหนึ่งปีหรือมากกว่า นักวิจัยกล่าวว่าผลงานวิจัยชี้ว่ารูปแบบของการออกกำลังกายเหล่านี้ “ควรได้รับการพิจารณาควบคู่ไปกับการรักษาหลักโรคซึมเศร้าอย่างการใช้ยาและจิตบำบัด”

นอกจากนี้นักวิจัยยังแนะนำว่าควรเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม การทำสมาธิ อยู่ในพื้นที่สีเขียวอาจช่วยให้ได้ผลดีด้วย

การออกกำลังกายแต่ละประเภทส่งผลกับโรคซึมเศร้าอย่างไร

คุณคงสงสัยว่าทำไมการเดิน วิ่งเหยาะ โยคะ และการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อถึงเป็นรูปแบบการออกกำลังกายเฉพาะ ที่ส่งผลให้อาการของโรคซึมเศร้าบรรเทาลง

ชาร์ลอต รัสเซล นักจิตวิทยาคลินิกที่ไม่ได้ร่วมทำงานวิจัยนี้กล่าวว่า สำหรับการเดิน และวิ่งเหยาะ ประโยชน์นั้นอาจเป็นเพราะการออกกำลังกายแบบนี้มักทำนอกอาคาร “การออกกำลังกายแบบนี้ให้ความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติ และพวกเรารู้ว่านี่อาจเป็นประโยชนทางด้านจิตใจสำหรับพวกเรา”

ขณะที่โยคะ สอนให้คุณเพ่งความสนใจไปที่ลมหายใจ สามารถลดความรู้สึกวิตกกังวล และสร้างการตระหนักรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจ

“ในเวลาต่อมาทักษะเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดการความคิดและความรู้สึกที่ยากๆได้”

แล้วประโยชน์ของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อล่ะ ?

รัสเซลกล่าวว่าการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสามารถช่วยให้คุณรู้สึกว่าร่างกายแข็งแรงขึ้น เลยทำให้คุณทำมันเสร็จสิ้นในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น “แบบนี้ก็จะมีผลในการปกป้องความรู้จักตัวเองและอารมณ์ของตัวเอง”

ทำไมการออกกำลังกายหนักๆดูเหมือนว่าดีที่สุด ?

เจราลดีน โจควิม นักสะกดจิตบำบัดคลินิก และโค้ชสุขภาพ ซึ่งไม่ได้ร่วมทำงานวิจัยนี้ กล่าวว่า ยิ่งออกกำลังกายหนัก คุณก็จะยิ่งรู้สึกถึงฮอร์โมนแห่งความสุขมากขึ้นซึ่งมีผลอย่างมากต่อจิตใจ แต่...

“การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า”

เจราลดีน โจควิม นักสะกดจิตบำบัดคลินิก

เริ่มต้นอย่างไรถ้าไม่อยากออกกำลังกาย

สำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะลุกมาออกกำลังกาย

โจควิม อธิบายว่า “มันต้องใช้ความพยายามมากกว่าเพื่อจะเดินหน้า เมื่อคุณเป็นซึมเศร้าเพราะคุณกำลังอยู่บนเนินเขาที่จะต่อสู้เพื่อสร้างกิจกรรมเกี่ยวกับฮอร์โมน”

“นั่นจึงสำคัญว่าทำไมต้องเริ่มตรงที่คุณอยู่และทำอย่างช้าๆ ซึ่งนั่นหมายความว่าอาจจะแค่วางคนฝึก (เทรนเนอร์) ไว้ก่อนแล้วเดินไปจนสุดสวนบ้านของคุณ ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วค่อยขยายพื้นที่เดินไปสุดถนน เป็นต้น”

เดินอย่างช้าๆและใจดีกับตัวเอง คุณกำลังค่อยๆส่งเสริมให้เกิดการสร้างและปล่อยฮอร์โมน เช่น เซโรโทนิน โดพามีน และออกซิโทซิน ซึ่งทำให้คุณรู้สึกดี

โจควิม แนะนำว่าถ้าคุณไม่แน่ใจว่าออกกำลังกายแค่ไหนจะมากเกินไป ให้ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 80% ของความสามารถที่จะรับได้ของคุณ แทนที่จะใส่ไปทั้งหมดและทำให้ตัวเองหมดแรง

“สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคุณเวลาที่คุณเคลื่อนไหว สนุกไปกับความรู้สึกของการยืดกล้ามเนื้อ การหายใจลึกๆ และความรู้สึกแข็งแรง และจำไว้ว่าไม่มีอะไรที่วางไว้เป็นหิน คุณสามารถเปลี่ยนสิ่งที่คุณกำลังทำได้ทุกเวลา”

เจราลดีน โจควิม นักสะกดจิตบำบัดคลินิก

ขณะที่รัสเซล ชี้ให้เห็นว่ายิมและฟิตเนสหลายที่มีคลาสและการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้น เธอกล่าวว่า “การเลือกตัวเลือกสามารถทำให้รู้สึกดีขึ้นได้ว่าทุกคนจะอยู่ในสถานการณ์คล้ายกัน แต่ถ้าบางคนรู้สึกกลัวเวลาอยู่ในคลาสที่เจอคน ก็เริ่มด้วยการเรียนคลาสออนไลน์เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนได้”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์