ไม่ให้เงินเดือนพ่อแม่ = อกตัญญู?
ในวัยเด็กของใครหลายๆ คนมักจะได้รับการปลูกฝังจากผู้ใหญ่บ่อยๆ ว่าเมื่อโตขึ้นทำงานมีเงินเดือนต้องแบ่งให้พ่อแม่ใช้บ้างนะ แต่ขณะที่บางบ้านก็มักจะมองว่า หากลูกๆ ของพวกเขาโตไปทำงานหาเลี้ยงตนเองได้ก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้เงินพ่อแม่ก็ได้
หลายคนมักตั้งคำถามว่า ‘หากเราไม่ให้เงินเดือนพ่อแม่ใช้ด้วยจะอกตัญญูหรือเปล่า’ และนี่คือเรื่องราวของมนุษย์เงินเดือนชาวสิงคโปร์ที่เขามองว่าเป็นเรื่อง ‘แปลก’ ที่พ่อแม่มีสิทธิในเงินเดือนของเขา
ชายชาวสิงคโปร์วัย 20 ต้นๆ สะท้อนมุมมองของตัวเองบน ‘SGWhispers’ สื่อแสดงความคิดเห็นออนไลน์ยอดนิยมว่า “สงสัยจริงๆ ว่าทำไมพ่อแม่ถึงมีสิทธิ์ในเงินเดือนของลูก มันแปลกมากที่มีการปฏิบัติเช่นนี้มาอย่างยาวนาน”
ชายคนนี้กล่าวว่าเขามีรายได้ไม่สูงนัก ได้เงินเดือนประมาณ 3,500 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน (ราว 90,000บาท) และหลังจากหักค่าประกันสังคม (CPF) แล้ว ก็จะเหลือแค่ 2,800 ดอลลาร์ (ราว 72,000 บาท) เท่านั้น ซึ่งเขาต้องให้เงินพ่อแม่คนละ 200 ดอลลาร์ต่อเดือน (ราว 5,100 บาท) รวมแล้วประมาณร้อยละ 15 ของค่าจ้างสุทธิ
“พ่อแม่ให้เหตุผลว่า เรายังอาศัยอยู่กับพวกเขา ดังนั้นเราควรให้เงินพวกเขาเพื่อชดเชยค่าบ้านและอื่นๆ เนื่องจากพวกเขาอาจมีรายได้จำนวนมากจากค่าเช่าห้องที่เราอาศัยอยู่ด้วย…พวกคุณไม่ได้สบายดีตอนที่ผมไม่ได้ทำงานใช่ไหม ผมไม่เข้าใจการเปรียบเทียบเรื่องดังกล่าว…” เขายังบอกอีกว่าเขารู้สึกอิจฉาเพื่อนของเขาที่พ่อแม่ไม่มีนิสัยชอบรับเงินเดือนลูก
“เพื่อนของผมบอกว่าพ่อแม่ของพวกเขาเข้าใจว่าเขายังคงค่อยๆ สร้างรายได้ที่มั่นคง และควรมุ่งเน้นไปที่การออมให้เพียงพอสำหรับอนาคตของตนเองแทน…ว้าว ผมหวังว่าพ่อแม่ของผมจะคิดแบบนี้” ชายคนดังกล่าวเขียน
ชายชาวสิงคโปร์วัย 20 ต้นๆ สะท้อนมุมมองของตัวเองบน ‘SGWhispers’ สื่อแสดงความคิดเห็นออนไลน์ยอดนิยมว่า “สงสัยจริงๆ ว่าทำไมพ่อแม่ถึงมีสิทธิ์ในเงินเดือนของลูก มันแปลกมากที่มีการปฏิบัติเช่นนี้มาอย่างยาวนาน”
ชายคนนี้กล่าวว่าเขามีรายได้ไม่สูงนัก ได้เงินเดือนประมาณ 3,500 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน (ราว 90,000บาท) และหลังจากหักค่าประกันสังคม (CPF) แล้ว ก็จะเหลือแค่ 2,800 ดอลลาร์ (ราว 72,000 บาท) เท่านั้น ซึ่งเขาต้องให้เงินพ่อแม่คนละ 200 ดอลลาร์ต่อเดือน (ราว 5,100 บาท) รวมแล้วประมาณร้อยละ 15 ของค่าจ้างสุทธิ
“พ่อแม่ให้เหตุผลว่า เรายังอาศัยอยู่กับพวกเขา ดังนั้นเราควรให้เงินพวกเขาเพื่อชดเชยค่าบ้านและอื่นๆ เนื่องจากพวกเขาอาจมีรายได้จำนวนมากจากค่าเช่าห้องที่เราอาศัยอยู่ด้วย…พวกคุณไม่ได้สบายดีตอนที่ผมไม่ได้ทำงานใช่ไหม ผมไม่เข้าใจการเปรียบเทียบเรื่องดังกล่าว…” เขายังบอกอีกว่าเขารู้สึกอิจฉาเพื่อนของเขาที่พ่อแม่ไม่มีนิสัยชอบรับเงินเดือนลูก
“เพื่อนของผมบอกว่าพ่อแม่ของพวกเขาเข้าใจว่าเขายังคงค่อยๆ สร้างรายได้ที่มั่นคง และควรมุ่งเน้นไปที่การออมให้เพียงพอสำหรับอนาคตของตนเองแทน…ว้าว ผมหวังว่าพ่อแม่ของผมจะคิดแบบนี้” ชายคนดังกล่าวเขียน
นอกจากนี้เขายังบอกอีกว่า เขาจะไม่คาดหวังเงินจากลูกของเขา “ถึงเวลาที่คนรุ่นเราต้องเปลี่ยนแปลงและอย่าเพิ่มภาระให้กับชีวิตที่ตึงเครียดอยู่แล้วในสิงคโปร์ นั่นอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมผมถึงจะไม่มีลูกในอนาคต ด้วยเหตุเพราะ เงินเฟ้อ ความคาดหวัง ความเครียด…และมันเหนื่อย”
“ถ้าคุณตัดสินใจที่จะมีลูก คุณต้องแน่ใจว่าคุณสามารถดูแลพวกเขาได้อย่างดี และไม่ถือว่าพวกเขาเป็นเหมือนบริการสร้างรายได้และแผนการเกษียณอายุของคุณ…หากคุณดูแลลูกๆ ของคุณเป็นอย่างดีตั้งแต่ยังเด็ก พวกเขาก็จะเต็มใจตอบแทนคุณโดยที่ไม่ต้องขอด้วยซ้ำ”
หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ออกไปก็มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมายซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอธิบายให้เข้าใจ และไม่เห็นด้วยที่เขาคิดแบบนี้
“ถ้าคุณตัดสินใจที่จะมีลูก คุณต้องแน่ใจว่าคุณสามารถดูแลพวกเขาได้อย่างดี และไม่ถือว่าพวกเขาเป็นเหมือนบริการสร้างรายได้และแผนการเกษียณอายุของคุณ…หากคุณดูแลลูกๆ ของคุณเป็นอย่างดีตั้งแต่ยังเด็ก พวกเขาก็จะเต็มใจตอบแทนคุณโดยที่ไม่ต้องขอด้วยซ้ำ”
หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ออกไปก็มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมายซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอธิบายให้เข้าใจ และไม่เห็นด้วยที่เขาคิดแบบนี้

Susan บอกว่า “ให้พวกเขาเพราะคุณเต็มใจจะให้ ไม่ได้ให้เพราะต้องให้” ด้าน Ashley คอมเม้นท์ว่า “เพราะคุณกำลังเปรียบเทียบกับเพื่อนที่ไม่ต้องให้พ่อแม่ไงล่ะ จริงๆ แล้วมีคนมากมายที่ให้มากกว่าที่คุณให้พ่อแม่เสียอีก”
“หากคุณยังเป็นเด็กที่กำลังคิดคำนวณค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ที่ใช้จ่ายกับคุณก่อนที่คุณจะมีเงินเดือน ฉันแน่ใจว่าคุณก็จะทำแบบนั้นกับลูกๆ ของคุณในอนาคตเช่นเดียวกัน” Hui อธิบาย
“ฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับคุณ หรือแม้แต่วัฒนธรรมตะวันตก เอเชีย สิงคโปร์ และสิทธิพิเศษใดๆ ก็ตาม ฉันแค่รู้ว่าลูกกตัญญูเป็นสิทธิพิเศษสำหรับเรา เพราะเราได้รับโอกาสให้รักพ่อแม่ในทุกๆ วันที่พวกเขาอยู่ใกล้ๆ มันไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินเลย…” Nicole บอก
“หากคุณยังเป็นเด็กที่กำลังคิดคำนวณค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ที่ใช้จ่ายกับคุณก่อนที่คุณจะมีเงินเดือน ฉันแน่ใจว่าคุณก็จะทำแบบนั้นกับลูกๆ ของคุณในอนาคตเช่นเดียวกัน” Hui อธิบาย
“ฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับคุณ หรือแม้แต่วัฒนธรรมตะวันตก เอเชีย สิงคโปร์ และสิทธิพิเศษใดๆ ก็ตาม ฉันแค่รู้ว่าลูกกตัญญูเป็นสิทธิพิเศษสำหรับเรา เพราะเราได้รับโอกาสให้รักพ่อแม่ในทุกๆ วันที่พวกเขาอยู่ใกล้ๆ มันไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินเลย…” Nicole บอก
ตีแผ่วัฒนธรรมเอเชีย ‘ทำไมมนุษย์เงินเดือนต้องให้เงินพ่อแม่?’

ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกในเอเชียนั้นแตกต่างอย่างมากจากความสัมพันธ์ในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อแม่ในประเทศตะวันตกส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ลูกๆ ของพวกเขาได้ออกไปเผชิญโลกภายนอกเมื่ออายุ 18 ปี ด้วยเหตุผลที่ว่าลูกๆ จะต้องเติบโตและเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดในสังคม ดังนั้นวัฒนธรรมเชิงปฏิบัติที่ลูกต้องให้เงินพ่อแม่จึงไม่ค่อยปรากฏให้เห็นมากนักในสังคมตะวันตก
เป็นเรื่องปกติที่แม้ว่าเราจะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ก็ยังได้รับเงินสนับสนุนจากพ่อแม่ ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นสัญญาณการตามใจมากเกินไป และอาจส่งผลให้คนเหล่านั้นเคยชินจนไม่ให้ส่วนแบ่งเงินเดือนที่สม่ำเสมอแก่พ่อแม่ก็เป็นได้
ในประเทศตะวันตกบางประเทศ ถือเป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่จะเก็บ ‘ค่าเช่า’ เล็กน้อยจากเด็กโตที่อาศัยอยู่ที่บ้าน แม้ว่าในประเทศอื่นๆ จะไม่ค่อยทำสิ่งนี้ก็ตาม
แต่มีหลายประเทศที่ปฏิบัติแตกต่างกันโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก เช่น จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม ซึ่งในประเทศเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติมากที่มนุษย์เงินเดือนต้องจัดสรรเงินเดือนส่วนหนึ่งเพื่อให้พ่อแม่ในแต่ละเดือน
การปฏิบัติดังกล่าวในหลายวัฒนธรรมของเอเชียถือเป็นคุณธรรมหลักในประเพณีจีนเรื่อง ‘ความกตัญญู’ ซึ่งโดยทั่วไปอธิบายถึง ‘ความเคารพต่อบิดามารดา’
แต่แม้ว่าจะแตกต่างกันไปในบางแง่มุมในวัฒนธรรมที่ต่างกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้วมันเป็นเหมือนวงจรเมื่อพ่อแม่แก่เกินไปที่จะทำงาน ด้วยความคาดหวังว่าลูกหลานของพวกเขาก็จะดูแลพวกเขาได้เช่นกัน
“เราทำโดยไม่ต้องคิดและไม่ต้องถามพ่อแม่ด้วยซ้ำ แม่ของฉันอาศัยอยู่ที่เท็กซัส ฉันเจอเธอแค่ปีละครั้งหรือสองครั้ง แต่ฉันส่งเงินให้เธอเดือนละ 200 ดอลลาร์” เจินเหงียน วัย 40 ปีกล่าว
“ในฐานะนักเรียนต่างชาติ พ่อแม่ของฉันยอมจ่ายเงินมากมายเพื่อพาฉันมาอยู่ในที่ที่ฉันอยู่ตอนนี้” นิโคล เซีย ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียวัย 34 ปีกล่าว และเซียยังเล่าอีกว่า เธอโอนเงิน 600 ดอลลาร์ทุก 2 เดือนเป็นประจำสำหรับค่าสาธารณูปโภคของพ่อแม่และค่าครองชีพอื่นๆ เซียอธิบายว่าเป็นความคิดของเธอที่จะให้เงินพ่อแม่หลังจากได้งานเมื่อ 8 ปีก่อนในตำแหน่งนักวิเคราะห์สินเชื่อในเมลเบิร์น
ขณะที่ เบ่า ม้าย ชาวอเมริกันเชื้อสายเวียดนามวัย 38 ปีกล่าวว่า “การทำหน้าที่ครอบครัวให้สำเร็จและทำในสิ่งที่ถูกต้องนั้นสำคัญกว่า มันเป็นสิ่งที่คาดหวังในวัฒนธรรมของเรา…พ่อแม่เลี้ยงเรามาแล้ว ตอนนี้เรามีอาชีพการงานที่ดี มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ควรจะทำ”
“มันเป็นเหมือนการซื้อความรักและการยอมรับจากพ่อแม่…มันคือเรื่องจริง”
ในบางกรณีที่ลูกต้องทนทุกข์ทรมานกับความสัมพันธ์ที่เย็นชากับแม่ของเธอเป็นเวลา 3 ปีหลังจากที่เธอปฏิเสธที่จะซื้อบ้านให้แม่ของเธอ เพราะสภาวะการเงินที่ตึงเครียดของเธออยู่แล้ว ซึ่งแม่ของเธอมองว่า ‘การปฏิเสธเป็นสัญญาณของความอกตัญญูและความเห็นแก่ตัว’
นอกจากนี้ ความคาดหวังทางสังคมในการให้เงินเดือนพ่อแม่ยังอาจทำให้ลูกๆ ของไม่สามารถไล่ตามความฝันหรือพบการเปลี่ยนแปลงชีวิตในชีวิตใหม่ๆ เหมือนชาวตะวันตก (เช่น การหยุดพัก 1 ปีหรือแบกเป้เที่ยวสัก 2-3 เดือน) ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเหล่านี้
บางคนยังรู้สึกติดกับดักกับงานที่ได้ค่าตอบแทนดีแต่ทำแล้วไม่มีความสุข เพราะยังวนเวียนกับวังวนว่าถ้าเงินเดือนน้อยกว่านี้พ่อแม่จะต้องลำบาก
แล้วคุณล่ะคิดยังไงกับเรื่องนี้? จริงๆ แล้วในประเทศไทยของเราก็มีการตั้งคำถามอย่างนี้อยู่ไม่น้อยเลย มันเป็นเรื่องที่มองได้หลายมุมมากๆ มนุษย์เงินเดือนบางคนที่ไม่ให้เงินเดือนพ่อแม่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคนอกกตัญญู แต่พวกเขาเหล่านั้นอาจตอบแทนด้วยวิธีอื่นด้วยการเลี้ยงดู พาไปเที่ยว กินข้าวนอกบ้าน เป็นต้น หรือพ่อแม่บางคนก็ไม่รับเงินของลูก
แต่โดยพื้นฐานทางสังคมแล้วคนส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นสิ่งที่ลูกคนหนึ่งควรจะ ‘ทำ’
ในท้ายที่สุดเราก็ไม่อาจไปตัดสินได้หรอกว่าการให้เงินเดือนพ่อแม่จะเป็นตัวการันตีว่าเราเป็นลูกกตัญญู เพราะเราแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีวิธีแสดงความรักและความกตัญญูต่อพ่อแม่ในรูปแบบที่ต่างกัน
เป็นเรื่องปกติที่แม้ว่าเราจะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ก็ยังได้รับเงินสนับสนุนจากพ่อแม่ ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นสัญญาณการตามใจมากเกินไป และอาจส่งผลให้คนเหล่านั้นเคยชินจนไม่ให้ส่วนแบ่งเงินเดือนที่สม่ำเสมอแก่พ่อแม่ก็เป็นได้
ในประเทศตะวันตกบางประเทศ ถือเป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่จะเก็บ ‘ค่าเช่า’ เล็กน้อยจากเด็กโตที่อาศัยอยู่ที่บ้าน แม้ว่าในประเทศอื่นๆ จะไม่ค่อยทำสิ่งนี้ก็ตาม
แต่มีหลายประเทศที่ปฏิบัติแตกต่างกันโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก เช่น จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม ซึ่งในประเทศเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติมากที่มนุษย์เงินเดือนต้องจัดสรรเงินเดือนส่วนหนึ่งเพื่อให้พ่อแม่ในแต่ละเดือน
ให้เงินเดือนพ่อแม่ = กตัญญู
ในแง่ที่ ‘เงิน’ เป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึง ‘การแสดงความกตัญญูของลูก’ ที่มีต่อการสนับสนุนของพ่อแม่ที่ยอมสละเวลา เงิน และความพยายามอย่างมากเพื่อเลี้ยงดูพวกเขา รวมไปถึงทุ่มเงินให้กับการการศึกษาและกิจกรรมนอกหลักสูตรการปฏิบัติดังกล่าวในหลายวัฒนธรรมของเอเชียถือเป็นคุณธรรมหลักในประเพณีจีนเรื่อง ‘ความกตัญญู’ ซึ่งโดยทั่วไปอธิบายถึง ‘ความเคารพต่อบิดามารดา’
แต่แม้ว่าจะแตกต่างกันไปในบางแง่มุมในวัฒนธรรมที่ต่างกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้วมันเป็นเหมือนวงจรเมื่อพ่อแม่แก่เกินไปที่จะทำงาน ด้วยความคาดหวังว่าลูกหลานของพวกเขาก็จะดูแลพวกเขาได้เช่นกัน
“เราทำโดยไม่ต้องคิดและไม่ต้องถามพ่อแม่ด้วยซ้ำ แม่ของฉันอาศัยอยู่ที่เท็กซัส ฉันเจอเธอแค่ปีละครั้งหรือสองครั้ง แต่ฉันส่งเงินให้เธอเดือนละ 200 ดอลลาร์” เจินเหงียน วัย 40 ปีกล่าว
“ในฐานะนักเรียนต่างชาติ พ่อแม่ของฉันยอมจ่ายเงินมากมายเพื่อพาฉันมาอยู่ในที่ที่ฉันอยู่ตอนนี้” นิโคล เซีย ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียวัย 34 ปีกล่าว และเซียยังเล่าอีกว่า เธอโอนเงิน 600 ดอลลาร์ทุก 2 เดือนเป็นประจำสำหรับค่าสาธารณูปโภคของพ่อแม่และค่าครองชีพอื่นๆ เซียอธิบายว่าเป็นความคิดของเธอที่จะให้เงินพ่อแม่หลังจากได้งานเมื่อ 8 ปีก่อนในตำแหน่งนักวิเคราะห์สินเชื่อในเมลเบิร์น
ขณะที่ เบ่า ม้าย ชาวอเมริกันเชื้อสายเวียดนามวัย 38 ปีกล่าวว่า “การทำหน้าที่ครอบครัวให้สำเร็จและทำในสิ่งที่ถูกต้องนั้นสำคัญกว่า มันเป็นสิ่งที่คาดหวังในวัฒนธรรมของเรา…พ่อแม่เลี้ยงเรามาแล้ว ตอนนี้เรามีอาชีพการงานที่ดี มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ควรจะทำ”
“มันเป็นเหมือนการซื้อความรักและการยอมรับจากพ่อแม่…มันคือเรื่องจริง”
ไม่ให้เงินเดือนพ่อแม่ ≠ อกตัญญู
ในทางกลับกันก็พบว่าวัฒนธรรมให้เงินเดือนพ่อแม่ไม่ได้เป็นเพียงเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ทว่าในหลายกรณี การจ่ายเงินเหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะทำลายความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย แม้พ่อแม่จะแสดงความอบอุ่นและความรักต่อลูกอย่างเปิดเผย แต่การให้เงินเดือนพ่อแม่ก็อาจเป็นเรื่องยากเหมือนกันสำหรับลูกที่มีรายได้ต่ำในบางกรณีที่ลูกต้องทนทุกข์ทรมานกับความสัมพันธ์ที่เย็นชากับแม่ของเธอเป็นเวลา 3 ปีหลังจากที่เธอปฏิเสธที่จะซื้อบ้านให้แม่ของเธอ เพราะสภาวะการเงินที่ตึงเครียดของเธออยู่แล้ว ซึ่งแม่ของเธอมองว่า ‘การปฏิเสธเป็นสัญญาณของความอกตัญญูและความเห็นแก่ตัว’
นอกจากนี้ ความคาดหวังทางสังคมในการให้เงินเดือนพ่อแม่ยังอาจทำให้ลูกๆ ของไม่สามารถไล่ตามความฝันหรือพบการเปลี่ยนแปลงชีวิตในชีวิตใหม่ๆ เหมือนชาวตะวันตก (เช่น การหยุดพัก 1 ปีหรือแบกเป้เที่ยวสัก 2-3 เดือน) ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเหล่านี้
บางคนยังรู้สึกติดกับดักกับงานที่ได้ค่าตอบแทนดีแต่ทำแล้วไม่มีความสุข เพราะยังวนเวียนกับวังวนว่าถ้าเงินเดือนน้อยกว่านี้พ่อแม่จะต้องลำบาก
แล้วคุณล่ะคิดยังไงกับเรื่องนี้? จริงๆ แล้วในประเทศไทยของเราก็มีการตั้งคำถามอย่างนี้อยู่ไม่น้อยเลย มันเป็นเรื่องที่มองได้หลายมุมมากๆ มนุษย์เงินเดือนบางคนที่ไม่ให้เงินเดือนพ่อแม่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคนอกกตัญญู แต่พวกเขาเหล่านั้นอาจตอบแทนด้วยวิธีอื่นด้วยการเลี้ยงดู พาไปเที่ยว กินข้าวนอกบ้าน เป็นต้น หรือพ่อแม่บางคนก็ไม่รับเงินของลูก
แต่โดยพื้นฐานทางสังคมแล้วคนส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นสิ่งที่ลูกคนหนึ่งควรจะ ‘ทำ’
ในท้ายที่สุดเราก็ไม่อาจไปตัดสินได้หรอกว่าการให้เงินเดือนพ่อแม่จะเป็นตัวการันตีว่าเราเป็นลูกกตัญญู เพราะเราแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีวิธีแสดงความรักและความกตัญญูต่อพ่อแม่ในรูปแบบที่ต่างกัน