รายงานของสถาบันโลวี (Lowy Institute) ของออสเตรเลียระบุว่า อิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจีนผงาดขึ้นแซงหน้าอิทธิพลของสหรัฐฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
Lowy ระบุว่า สหรัฐฯ สูญเสียอิทธิพลอย่างต่อเนื่องให้กับจีนใน 4 ตัวชี้วัดอำนาจคือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เครือข่ายด้านการป้องกันประเทศ อิทธิพลทางการทูต และอิทธิพลด้ารนวัฒนธรรมตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งเป็นปีที่ Lowy ทำรายงานเรื่อง Asia Power Snapshot: China and the United States in Southeast Asia (ภาพรวมอำนาจของเอเชีย: จีนและสหรัฐอเมริกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
ปี 2018 อิทธิพลของจีนในอาเซียนนำหน้าสหรัฐฯ อยู่ที่ 52-48 ขณะที่ปี 2022 จีนขยับขึ้นนำเป็น 54-46
รายงานของ Lowy ระบุว่า การวัดอำนาจดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากรูปแบบอิทธิพลเป็นส่วนหนึ่งของบริบทกว้างๆ ที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ตัดสินใจเลือกทางยุทธศาสตร์
โดยรวมแล้ว จุดแข็งของจีนในฐานะมหาอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ความสัมพันธ์ทางการทูตและเศรษฐกิจ ขณะที่สหรัฐฯ ดีกว่าในด้านเครือข่ายการป้องกันประเทศและอิทธิพลทางวัฒนธรรม โดยจุดแข็งด้านเศรษฐกิจของจีนล้ำหน้าไปมาก ขณะที่ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อ่อนแอกว่าจีนในทุกประเทศในอาเซียน
รายงานระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2018 สหรัฐฯ สูญเสียอิทธิพลมากที่สุดในมาเลเซีย คือหายไปถึง 7 คะแนน ตามมาด้วยในบรูไนและอินโดนีเซีย หายไป 5 คะแนน
อิทธิพลของจีนยังคงแข็งแกร่งที่สุดในกัมพูชา ลาว และเมียนมาซึ่งจีนมีคะแนนทิ้งห่างสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก เช่น อิทธิพลของจีนในลาวอยู่ที่ 71 ส่วนของสหรัฐฯ อยู่ที่ 29 ขณะที่สหรัฐฯ มีอิทธิพลมากกว่าจีนในฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ แม้ว่าคะแนนของสหรัฐฯ จะทิ้งห่างจีนไม่มากคือ 52-48 และ 51-49 ตามลำดับ
รายงานระบุว่า “อิทธิพลของปักกิ่งแข็งแกร่งที่สุดในลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ ซึ่งความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และการมีส่วนร่วมที่ค่อนข้างน้อยของสหรัฐฯ ทำให้จีนสามารถแซงหน้าอิทธิพลของวอชิงตันไปได้มาก” และว่า อิทธิพลด้านเศรษฐกิจของจีนใน 3 ประเทศนี้เป็นตัวกำหนดอิทธิพลโดยรวมของจีน
Lowy ระบุว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างลาวและกัมพูชากับจีน และโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในประเทศเหล่านี้ทำให้อิทธิพลของจีนเพิ่มขึ้น แม้ว่าความล่าช้าของโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจะทำให้อิทธิพลบางอย่างลดลงก็ตาม
จีนมีอิทธิพลมากขึ้นในมาเลเซียเพราะมีความสัมพันธ์ทางการทหารและการทูตที่ลึกซึ้ง เช่นเดียวกับในอินโดนีเซีย โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการทำสัญญาทางการทหารระหว่างจีนกับมาเลเซียเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการซื้อาวุธ ซึ่งรวมถึงเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ships จากจีน
และแม้ว่าสหรัฐฯ จะใกล้ชิดกับฟิลิปปินส์ แต่นับตั้งแต่ปี 2018 อิทธิพลของสหรัฐฯ กลับลดลง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่น้อยลง เช่น การค้าและการลงทุน
เมื่อช่วงต้นปีฟิลิปปินส์เพิ่งอนุญาตให้สหรัฐฯ ขยายฐานทัพโดยไฟเขียวให้กองทัพสหรัฐฯ เข้าถึงฐานทัพใหม่ 4 แห่งท่ามกลางความตึงเครียดกับจีนที่เพิ่มขึ้นในทะเลจีนใต้ ทว่าในเรื่องการค้านั้นกลับพบว่าความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ กับฟิลิปปินส์อ่อนแอลง เช่น สหรัฐฯ มีความสำคัญน้อยลงในฐานะจุดหมายปลายทางสำหรับการส่งออกของฟิลิปปินส์
“และตอนนี้จีนลงทุนมากกว่าที่สหรัฐฯ ลงทุนในฟิลิปปินส์ ตรงกันข้ามกับปี 2018 ที่สหรัฐฯ ลงทุนมากกว่าจีน” รายงานของ Lowy ระบุ “หากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงลดลงในอัตรานี้ตลอดช่วง 5 ปีข้างหน้า อิทธิพลโดยรวมของปักกิ่งจะเหนือกว่าของวอชิงตัน”
รายงานระบุว่า จุดที่สหรัฐฯ นำหน้าจีนคือ การป้องกันประเทศและวัฒนธรรม อิทธิพลทางวัฒนธรรมของวอชิงตันอยู่ที่สื่อ เช่น สำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และผู้แพร่ภาพกระจายเสียงของอเมริกายังคงรักษาสถานะที่แข็งแกร่งในภูมิภาคนี้ ขณะที่อิทธิพลด้านสื่อของจีนยังน้อยกว่าสหรัฐฯ อยู่มาก แต่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นผ่านความสัมพันธ์ระหว่างผู้พลัดถิ่นและการท่องเที่ยว
Lowy ระบุว่า สหรัฐฯ สูญเสียอิทธิพลอย่างต่อเนื่องให้กับจีนใน 4 ตัวชี้วัดอำนาจคือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เครือข่ายด้านการป้องกันประเทศ อิทธิพลทางการทูต และอิทธิพลด้ารนวัฒนธรรมตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งเป็นปีที่ Lowy ทำรายงานเรื่อง Asia Power Snapshot: China and the United States in Southeast Asia (ภาพรวมอำนาจของเอเชีย: จีนและสหรัฐอเมริกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
ปี 2018 อิทธิพลของจีนในอาเซียนนำหน้าสหรัฐฯ อยู่ที่ 52-48 ขณะที่ปี 2022 จีนขยับขึ้นนำเป็น 54-46
รายงานของ Lowy ระบุว่า การวัดอำนาจดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากรูปแบบอิทธิพลเป็นส่วนหนึ่งของบริบทกว้างๆ ที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ตัดสินใจเลือกทางยุทธศาสตร์
โดยรวมแล้ว จุดแข็งของจีนในฐานะมหาอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ความสัมพันธ์ทางการทูตและเศรษฐกิจ ขณะที่สหรัฐฯ ดีกว่าในด้านเครือข่ายการป้องกันประเทศและอิทธิพลทางวัฒนธรรม โดยจุดแข็งด้านเศรษฐกิจของจีนล้ำหน้าไปมาก ขณะที่ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อ่อนแอกว่าจีนในทุกประเทศในอาเซียน
รายงานระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2018 สหรัฐฯ สูญเสียอิทธิพลมากที่สุดในมาเลเซีย คือหายไปถึง 7 คะแนน ตามมาด้วยในบรูไนและอินโดนีเซีย หายไป 5 คะแนน
อิทธิพลของจีนยังคงแข็งแกร่งที่สุดในกัมพูชา ลาว และเมียนมาซึ่งจีนมีคะแนนทิ้งห่างสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก เช่น อิทธิพลของจีนในลาวอยู่ที่ 71 ส่วนของสหรัฐฯ อยู่ที่ 29 ขณะที่สหรัฐฯ มีอิทธิพลมากกว่าจีนในฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ แม้ว่าคะแนนของสหรัฐฯ จะทิ้งห่างจีนไม่มากคือ 52-48 และ 51-49 ตามลำดับ
รายงานระบุว่า “อิทธิพลของปักกิ่งแข็งแกร่งที่สุดในลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ ซึ่งความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และการมีส่วนร่วมที่ค่อนข้างน้อยของสหรัฐฯ ทำให้จีนสามารถแซงหน้าอิทธิพลของวอชิงตันไปได้มาก” และว่า อิทธิพลด้านเศรษฐกิจของจีนใน 3 ประเทศนี้เป็นตัวกำหนดอิทธิพลโดยรวมของจีน
Lowy ระบุว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างลาวและกัมพูชากับจีน และโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในประเทศเหล่านี้ทำให้อิทธิพลของจีนเพิ่มขึ้น แม้ว่าความล่าช้าของโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจะทำให้อิทธิพลบางอย่างลดลงก็ตาม
จีนมีอิทธิพลมากขึ้นในมาเลเซียเพราะมีความสัมพันธ์ทางการทหารและการทูตที่ลึกซึ้ง เช่นเดียวกับในอินโดนีเซีย โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการทำสัญญาทางการทหารระหว่างจีนกับมาเลเซียเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการซื้อาวุธ ซึ่งรวมถึงเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ships จากจีน
และแม้ว่าสหรัฐฯ จะใกล้ชิดกับฟิลิปปินส์ แต่นับตั้งแต่ปี 2018 อิทธิพลของสหรัฐฯ กลับลดลง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่น้อยลง เช่น การค้าและการลงทุน
เมื่อช่วงต้นปีฟิลิปปินส์เพิ่งอนุญาตให้สหรัฐฯ ขยายฐานทัพโดยไฟเขียวให้กองทัพสหรัฐฯ เข้าถึงฐานทัพใหม่ 4 แห่งท่ามกลางความตึงเครียดกับจีนที่เพิ่มขึ้นในทะเลจีนใต้ ทว่าในเรื่องการค้านั้นกลับพบว่าความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ กับฟิลิปปินส์อ่อนแอลง เช่น สหรัฐฯ มีความสำคัญน้อยลงในฐานะจุดหมายปลายทางสำหรับการส่งออกของฟิลิปปินส์
“และตอนนี้จีนลงทุนมากกว่าที่สหรัฐฯ ลงทุนในฟิลิปปินส์ ตรงกันข้ามกับปี 2018 ที่สหรัฐฯ ลงทุนมากกว่าจีน” รายงานของ Lowy ระบุ “หากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงลดลงในอัตรานี้ตลอดช่วง 5 ปีข้างหน้า อิทธิพลโดยรวมของปักกิ่งจะเหนือกว่าของวอชิงตัน”
รายงานระบุว่า จุดที่สหรัฐฯ นำหน้าจีนคือ การป้องกันประเทศและวัฒนธรรม อิทธิพลทางวัฒนธรรมของวอชิงตันอยู่ที่สื่อ เช่น สำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และผู้แพร่ภาพกระจายเสียงของอเมริกายังคงรักษาสถานะที่แข็งแกร่งในภูมิภาคนี้ ขณะที่อิทธิพลด้านสื่อของจีนยังน้อยกว่าสหรัฐฯ อยู่มาก แต่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นผ่านความสัมพันธ์ระหว่างผู้พลัดถิ่นและการท่องเที่ยว