“เรือห่วย” จากปากคนเคยคิดจะลงเรือดำน้ำไททันแต่ถอนตัว

23 มิถุนายน 2566 - 06:33

chris-brown-reject-titan-submarine-oceangate-SPACEBAR-Hero
  • “คุณภาพเรือห่วย” เป็นหนึ่งในคำพูดของ คริส บราวน์ ที่ครั้งหนึ่งเคยลงชื่อไว้ว่าจะลงเรือดำน้ำไททัน แต่ถอนตัว เพราะเห็นกระบวนการทดลองที่ไม่มาตรฐาน

หนึ่งในเพื่อนผู้สูญหาย ‘ปฏิเสธ’ ลงเรือดำน้ำ เพราะเรือไม่สมบูรณ์

ท่ามกลางความสูญเสียและความเศร้าโศกของครอบครัวผู้สูญหายใน ‘เรือดำน้ำไททัน’ หลังจากที่หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์เมื่อช่วงบ่ายของวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (ตามเวลาท้องถิ่น) ว่าพบชิ้นส่วนของเรือดำน้ำไททันที่เกิดจากการ “ระเบิดอย่างรุนแรง” จนคร่าชีวิตทั้ง 5 คนบนเรือทันทีในจุดเกิดเหตุ 
 
หากย้อนกลับไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลังจากที่ คริส บราวน์ เพื่อนของมหาเศรษฐีชาวอังกฤษ ฮามิช ฮาร์ดิงวัย 61 ปี ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านการตลาดดิจิทัลที่ครั้งหนึ่งเคยลงชื่อไว้ว่าจะลงเรือดำน้ำไททันเพื่อไปเยี่ยมชมซากไททานิค แต่ทว่าเขาได้ถอนตัวออกจากการเดินทางครั้งนี้เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการออกแบบเรือ 
 
บราวน์คิดว่า ‘ชิ้นส่วนย่อยเรือดำน้ำของ OceanGate นั้นดู ‘ค่อนข้างห่วย’ หลังจากที่เขาเคยไปดูกระบวนการทดสอบบางส่วนในบาฮามาสเมื่อปี 2018’ นอกจากนี้ เขายังแสดงความกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของเรือดำน้ำที่ระเบิดระหว่างการทดสอบจากเหตุฟ้าผ่า 
 
“พวกเขากำลังใช้ท่ออุตสาหกรรมสำหรับบัลลาสต์ (อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟฟ้า) และพวกเขาก็ใช้คอนโทรลเลอร์ ‘Xbox’ (ตัวควบคุมเกมหลัก) ด้วย…พื้นที่ข้างในเล็กและคับแคบ ผมไม่พอใจกับการออกแบบบางอย่าง เช่น เครื่องขับดันด้านนอกที่มีสายเคเบิล ผมคิดว่านั่นอาจเป็นอุปสรรค”  
 
“สิ่งที่มีผลกับผมจริงๆ คือ พวกเขาปฏิเสธที่จะรับใบรับรองรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างราบคาบ และดูเหมือนว่าพวกเขาไม่มีความตั้งใจที่จะได้รับการรับรองใดๆ สำหรับการลงลึกถึงระดับความลึกเหล่านั้นเพียงครั้งเดียว นับประสาอะไรกับหลายๆ ครั้ง” บราวน์กล่าว 
 
อย่างไรก็ดี ความกังวลที่คล้ายกันนี้สะท้อนออกมาในปี 2018 โดยสมาคมเทคโนโลยีทางทะเล (Marine Technology Society) ที่ได้แจ้งสารถึง ‘สต็อคตัน รัช’ CEO ของ OceanGate ซึ่งเตือนว่า ‘วิธีการทดลองในการพัฒนาไททันอาจส่งผลให้เกิด ‘หายนะ’ ตามมา’ 
 
เรือไม่ได้มาตรฐาน…หลอกลวงประชาชน?
สมาคมดังกล่าวกล่าวหาบริษัทว่า ‘หลอกลวง’ ประชาชนโดยบอกว่า “เรือดำน้ำไททันเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของ DNV ซึ่งเป็นหน่วยรับรองชั้นนำในอุตสาหกรรมการเดินเรือ แม้ว่าจะไม่มีความตั้งใจที่จะผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยก็ตาม” 
 
ขณะที่บนเว็บไซต์ DNV อธิบายว่า “กระบวนการรับรองประกอบด้วยการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การตรวจสอบ การสังเกตการทำงานของระบบ การตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของหน่วยงาน” 
 
แต่สำหรับบราวน์แล้ว เขาบอกว่าแค่ได้ยินว่าเกิดเหตุฟ้าผ่าในระหว่างการทดสอบจนทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดบนไททันระเบิดออกมาก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เขาไม่ออกเดินทาง “คุณรู้ไหม สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น แต่ไม่มีข้อมูลสำรอง ทำให้การทดสอบสิ้นสุดลง”  
 
บราวน์กล่าวอีกว่า “เป็นเรื่องปกติที่เรือดำน้ำบรรทุกลำจะมีระบบแยกต่างหากที่ซ้ำซ้อนซึ่งสามารถนำไปใช้ได้หากระบบหลักถูกตัดออกไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่นี่ไม่ใช่กรณีของไททัน…” 
 
“ความจริงที่ว่าฟ้าผ่าลงมาครั้งเดียวทำให้ทุกอย่างเสียหายเล็กน้อย…เอาล่ะ มาตรการความปลอดภัยอยู่ที่ไหน ดังนั้นเมื่อรวมสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ทำให้ผมคิดว่าที่นี่มีความเสี่ยงมากมายที่ผมไม่สามารถบรรเทาได้ และ ‘ดูเหมือนควบคุมไม่ได้’ ผมเลยถอยออกมาจนถึงจุดนั้น…นั่นคือจุดจบของปี 2018” 
 
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบราวน์จะมีความกังวลเกี่ยวกับตัว ‘คอนโทรลเลอร์ Xbox’ (จริง ๆ แล้วไททันควบคุมด้วยคอนโทรลเลอร์ Logitech F710 (เกมแพดไร้สาย) ) แต่อุปกรณ์ประเภทนี้กลับถูกนำมาใช้กันทั่วไปสำหรับทั้งยานพาหนะทางทหารและพลเรือน 
  
กองทัพสหรัฐฯ เองก็ใช้คอนโทรลเลอร์ Xbox เพื่อขับโดรนมานานหลายปี ขณะที่กองทัพเรือสหรัฐฯ ก็ใช้ตัว  Xbox ในการควบคุมกล้องปริทรรศน์บนเรือดำน้ำด้วย 
 
ทั้งนี้ ตามรายงานของ CNN ระบุว่า ดั๊ก เวอร์นิก อดีตผู้รับเหมาช่วงของ OceanGate กล่าวว่า “การใช้ส่วนประกอบที่มีอยู่แล้วเพื่อสร้างเรือดำน้ำนั้นเป็นการตัดสินใจโดยเจตนา…มันดูไร้สาระ แต่ถ้าคุณรู้จำนวนเทคโนโลยีที่อัดแน่นอยู่ในคอนโทรลเลอร์และความสามารถของมัน รวมถึงจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการพัฒนาอะไรทำนองนั้น มันก็ถือว่าเกินมาตรฐานทั่วไปอย่างมากๆ” 
  
“ดังนั้น หากคุณสามารถถอดส่วนประกอบเหล่านี้ออกและรวมมันเข้ากับโครงการเช่นนี้ โดยที่คุณไม่มีทั้งกำหนดเวลาและค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา ผมเชื่อว่ามันก็เป็นทางเลือกที่ฉลาด” เวอร์นิกกล่าวทิ้งท้าย 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์