วิจัยใหม่เผยกาแฟแคปซูลเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าชงด้วยเครื่องซะอีก

20 ม.ค. 2566 - 07:57

  • กาแฟสำเร็จรูปเป็นวิธีการชงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เนื่องจากใช้กาแฟและพลังงานน้อยกว่าเครื่องชงกาแฟแบบดั้งเดิมอีกด้วย

Coffee_pod_carbon_footprint_better_for_planet_than_filtered_brew_SPACEBAR_Hero_57fffa880d.jpeg
เมื่อพูดถึงการชงกาแฟ กาแฟแคปซูลนั้นก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ทว่ากลับได้ขึ้นชื่อว่าไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมักนำไปรีไซเคิลได้ยาก 

สำนักข่าว BBC รายงานว่า ผลการวิจัยใหม่ของมหาวิทยาลัยควิเบกในแคนาดาชี้ให้เห็นว่า กาแฟแคปซูลอาจไม่สิ้นเปลืองเท่ากับการเตรียมกาแฟโดยใช้เครื่องชงกาแฟแบบดั้งเดิม 

การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาพอากาศของเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดยคาดกันว่าทั่วโลกมีการบริโภคกาแฟประมาณ 2 พันล้านแก้วต่อวันและพบว่าชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยดื่มวันละ 3 แก้ว 

แม้ว่ากาแฟจะถูกเตรียมด้วยวิธีต่างๆ มากมาย แต่กาแฟแคปซูลกลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตั้งแต่มีการผลิตขึ้นเมื่อ 4 ทศวรรษที่แล้ว มูลค่าตลาดของเมล็ดกาแฟเพิ่มขึ้น 24% จากปี 2021-2022 ซึ่งสร้างรายได้ 12.33 พันล้านดอลลาร์ (ราว 4 แสนล้านบาท) ทั่วโลก 

ถึงกระนั้น แม้กาแฟแคปซูลจะได้รับความนิยม แต่ผู้ที่ดื่มก็ยังตระหนักรู้ถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากแคปซูลพลาสติกหรืออลูมิเนียมขนาดเล็กถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าใช้พลังงานมากในการผลิตและก่อให้เกิดขยะที่ไม่จำเป็น

กาแฟแคปซูล VS การชงกาแฟแบบดั้งเดิม 

แต่ปัจจุบันนักวิจัย กล่าวว่า การชงกาแฟแคปซูลอาจไม่สิ้นเปลืองเท่ากับวิธีการชงกาแฟแบบอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงวงจรชีวิตที่กว้างขึ้นของกาแฟถ้วยเดียว 

จากการศึกษาของพวกเขา ซึ่งเป็นการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการบริโภคกาแฟในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งนักวิจัยได้วัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ทั้งหมดที่เกิดจากแต่ละวิธีในการเตรียมกาแฟ 280 มิลลิลิตร โดยพวกเขาจะพิจารณากระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การผลิตเมล็ดกาแฟ (ซึ่งเป็นส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด) ไปจนถึงปริมาณของเสียที่จบลงด้วยการฝังกลบหลังจากชงกาแฟเสร็จ 

โดยเฉลี่ยแล้ว วิธีการที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซมากที่สุดเป็นอันดับ 2 คือการชงกาแฟโดยใช้เครื่องกดแบบฝรั่งเศส และการชงโดยใช้กาแฟแคปซูลเป็นอันดับ 3 เนื่องจากปริมาณกาแฟในแต่ละแคปซูลนั้นถูกควบคุม ซึ่งป้องกันการบริโภคมากเกินไป ซึ่งแคปซูลจะช่วยประหยัดกาแฟได้ราว 11-13 กรัม 

นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่ากาแฟสำเร็จรูปเป็นวิธีการชงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เนื่องจากใช้กาแฟน้อยกว่า และกาต้มน้ำก็ใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องชงกาแฟแบบดั้งเดิมอีกด้วย 

กาแฟแคปซูลเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือ? 

งานวิจัยก่อนหน้านี้ในปี 2021 ระบุว่า กาแฟแคปซูลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมากนับตั้งแต่เข้าสู่ตลาดในทศวรรษที่ 1990 นอกจากนี้ ยังพบว่า เนสเพรซโซกว่า 400 แคปซูลถูกบริโภคทุกๆ วินาทีทั่วโลก ซึ่งอาจสร้างขยะจำนวนมหาศาล 

แม้ว่ากาแฟแคปซูลจะได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม แต่ก็ยังคงเป็นจุดสนใจของข้อกังวลด้านความยั่งยืนมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การวิจัยจากแบรนด์กาแฟในสหราชอาณาจักรอ้างว่าจาก 39,000 แคปซูลที่ผลิตทั่วโลกทุกนาทีนั้นถูกฝังกลบไปแล้ว 29,000 แคปซูล 

“แคปซูลอะลูมิเนียมมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อสาธารณะเนื่องจากก่อให้เกิดขยะปริมาณมาก ในขณะที่แคปซูลพลาสติกโดยทั่วไปไม่สามารถรีไซเคิลได้…มีแคปซูลชีวภาพเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ในโรงงานปุ๋ยหมักทางอุตสาหกรรม” ไรน์ฮาร์ด ทรุมม์ เจ้าหน้าที่บริษัท Golden Compound อธิบาย 

นี่อาจเป็นเพราะโรงงานรีไซเคิลส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถในการกำจัดแคปซูลอย่างถูกต้อง ซึ่งหมายความว่า แคปซูลมีแนวโน้มที่จะถูกส่งไปฝังกลบแทน 

ซาอูล ลาคอฟสกี้ เจ้าของและผู้อำนวยการ Coffeecaps ในออสเตรเลีย อธิบายว่า “หากนำแคปซูลไปทิ้งในถังขยะทั่วไป ในที่สุดมันก็จะลงเอยด้วยการฝังกลบและจะไม่ย่อยสลาย พวกมันทำหน้าที่คล้ายกับพลาสติก” 

ภายใต้กฎหมายของสหภาพยุโรป วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางอุตสาหกรรมจำเป็นต้องสลายตัวให้หมดภายในเวลาไม่เกิน 6 เดือน แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้น หากแคปซูลที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและย่อยสลายได้ถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ แคปซูลมักจะขาดออกซิเจน ความร้อน และการไหลเวียนของอากาศ ซึ่งหมายความว่าแคปซูลเหล่านั้นอาจคงสภาพเดิมได้นานหลายปี 

ในทางกลับกัน ลูเซียโน โรดริเกซ เวียนา ผู้ร่วมวิจัยครั้งล่าสุด กล่าวว่า “สิ่งหนึ่งที่ผู้ดื่มกาแฟไม่สามารถควบคุมได้ คือ การผลิตกาแฟที่ปล่อยมลพิษออกมาจริงๆ ในกระบวนการผลิตเป็นขั้นตอนที่ก่อให้เกิดมลพิษมากที่สุด…ผมไม่คิดว่าแคปซูลเป็นวิธีแก้ปัญหาที่มหัศจรรย์ แต่มันเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงอคติทางปัญญาของเรา" เวียนากล่าว 

ไม่ว่าจะเตรียมกาแฟด้วยวิธีการใด การเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดกาแฟก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 40%-80% เนื่องจากการปลูกกาแฟจะต้องให้น้ำเยอะ ใส่ปุ๋ย และใช้ยาฆ่าแมลงอย่างเข้มข้น 

นี่คือเหตุผลว่าทำไมกาแฟแคปซูลจึงไม่เป็นอันตรายเท่ากับการใช้กาแฟมากกว่าการชงกาแฟถ้วยเดียว ทั้งๆ ที่รู้ว่ากาแฟแคปซูลก่อให้เกิดของเสียต่อร่างกายมากกว่า 

นอกจากนี้ เวียนายังแนะนำให้ผู้คนดื่มกาแฟในปริมาณที่น้อยลง ซึ่งหมายถึงการเลือกใช้เอสเปรสโซขนาด 50-100 มล. หรือใช้ปริมาณกาแฟและน้ำเท่าที่จำเป็นเท่านั้นในการเตรียมแก้วเพื่อหลีกเลี่ยงการสิ้นเปลือง และถึงแม้เราจะใช้แคปซูล เวียนนาก็เตือนไม่ให้บริโภคมากเกินไป เนื่องจากอาจกระตุ้นให้ผู้คนดื่มพร้อมกันมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดขยะมากขึ้นด้วย 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์