เราอาจจะเคยพบเห็นการพยายามค้นหามนุษย์ต่างดาว หรือการพยายามติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาว แต่หารู้ไม่ว่าการที่เราพยายามจะสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาว อาจนำมาซึ่งสงครามทำลายล้างได้!
ในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Space Policy เมื่อวันที่ 29 กันยายน ผู้เขียนได้หยิบยกรายงานของปี 2020 ซึ่งเคยคาดการณ์ ‘ความขัดแย้งระหว่างประเทศและหายนะที่อาจตามมา’ หากมีการติดต่อกับมนุษย์ต่างดาว ขึ้นมาอภิปรายกัน
การอภิปรายมุ่งเน้นไปที่การค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า SETI ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระจายสัญญาณวิทยุสู่อวกาศด้วยความหวังว่าจะมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกมาตอบสนอง โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับโครงการ SETI สามารถพบได้ทั่วโลก รวมถึงกล้องโทรทรรศน์โลเวลล์ในสหราชอาณาจักร โลฟาร์ในเนเธอร์แลนด์ และฟาสต์ของจีน
ในรายงานของปี 2020 เรื่อง The Search for Extraterrestrial Intelligence ที่เขียนโดย เคน ไวเซียน นักธรณีฟิสิกส์และอดีตนายพลกองทัพอากาศสหรัฐฯ และ จอนห์ ทราพาเกน ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส ในออสติน สหรัฐฯ ถกเถียงกันว่าหากประเทศใดประเทศหนึ่งประสบความสำเร็จในการเปิดช่องทางการสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ประเทศนั้นๆ อาจจะพยายามเก็บไว้กับตัวเองโดยไม่แบ่งปันกับประเทศอื่น ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทุของสงครามโลกระหว่างประเทศที่ต้องการเข้าถึงเทคโนโลยีของมนุษย์ต่างดาว
ไวเซียนและทราพาเกนระบุไว้ในงานวิจัยว่า ข้อมูลจากแหล่งนอกโลกจะมีค่ามากจนประเทศแรกที่ติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวได้จะพยายามผูกขาดการควบคุมการส่งสัญญาณซึ่งนำไปสู่ความเป็นไปได้ของการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสาร สิ่งนี้จะนำไปสู่สงครามมันจะทำให้อาคารที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุและนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ข้างในนั้นตกเป็นเป้าโจมตีทางทหารโดยตรง
อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งที่นำเสนอในรายงานของปี 2022 คือการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตนอกโลกไม่น่าจะเกิดขึ้นได้บ่อยมากนัก เนื่องจากต้องใช้เวลาหลายร้อยปีในการส่งข้อความไปมาผ่านพื้นที่อันกว้างใหญ่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด
“ดวงดาวที่เราตั้งเป้าหมายอยู่นั้นอยู่ห่างออกไปหลายร้อยหรือหลายพันปีแสง และถึงแม้ว่ามันจะเป็นสัญญาณสื่อสาร แม้ว่าสัญญาณนั้นมีไว้สำหรับเราในการถอดรหัส เราก็ไม่สามารถตอบโต้ได้” เจสัน ไรท์ ศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเพนน์สเตทและผู้เขียนนำรายงานกล่าวในพอดแคสต์
ไรท์ บอกอีกว่า “เราสามารถส่งสัญญาณกลับได้ แต่ถ้าสิ่งนั้นอยู่ห่างออกไป 200 ปีแสง เราก็อาจจะพูดว่า เยี่ยมมาก เราได้รับข้อความของคุณแล้ว บอกเราเกี่ยวกับ X, Y, Z และในอีก 400 ปีต่อมาเราก็จะได้คำตอบ”
สำหรับโครงการ SETI ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มา แต่ต้องย้อนกลับไปในทศวรรษที่ 1960 เมื่อสหรัฐฯ ได้ริเริ่มโครงการ Project Ozma ซึ่งใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุเพื่อค้นหาสัญญาณวิทยุนอกโลก ในปี 1994 โครงการ SETI@home ได้เปิดตัวขึ้น ซึ่งช่วยให้อาสาสมัครสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของตนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ
ในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Space Policy เมื่อวันที่ 29 กันยายน ผู้เขียนได้หยิบยกรายงานของปี 2020 ซึ่งเคยคาดการณ์ ‘ความขัดแย้งระหว่างประเทศและหายนะที่อาจตามมา’ หากมีการติดต่อกับมนุษย์ต่างดาว ขึ้นมาอภิปรายกัน
การอภิปรายมุ่งเน้นไปที่การค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า SETI ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระจายสัญญาณวิทยุสู่อวกาศด้วยความหวังว่าจะมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกมาตอบสนอง โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับโครงการ SETI สามารถพบได้ทั่วโลก รวมถึงกล้องโทรทรรศน์โลเวลล์ในสหราชอาณาจักร โลฟาร์ในเนเธอร์แลนด์ และฟาสต์ของจีน
ในรายงานของปี 2020 เรื่อง The Search for Extraterrestrial Intelligence ที่เขียนโดย เคน ไวเซียน นักธรณีฟิสิกส์และอดีตนายพลกองทัพอากาศสหรัฐฯ และ จอนห์ ทราพาเกน ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส ในออสติน สหรัฐฯ ถกเถียงกันว่าหากประเทศใดประเทศหนึ่งประสบความสำเร็จในการเปิดช่องทางการสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ประเทศนั้นๆ อาจจะพยายามเก็บไว้กับตัวเองโดยไม่แบ่งปันกับประเทศอื่น ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทุของสงครามโลกระหว่างประเทศที่ต้องการเข้าถึงเทคโนโลยีของมนุษย์ต่างดาว
ไวเซียนและทราพาเกนระบุไว้ในงานวิจัยว่า ข้อมูลจากแหล่งนอกโลกจะมีค่ามากจนประเทศแรกที่ติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวได้จะพยายามผูกขาดการควบคุมการส่งสัญญาณซึ่งนำไปสู่ความเป็นไปได้ของการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสาร สิ่งนี้จะนำไปสู่สงครามมันจะทำให้อาคารที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุและนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ข้างในนั้นตกเป็นเป้าโจมตีทางทหารโดยตรง
อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งที่นำเสนอในรายงานของปี 2022 คือการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตนอกโลกไม่น่าจะเกิดขึ้นได้บ่อยมากนัก เนื่องจากต้องใช้เวลาหลายร้อยปีในการส่งข้อความไปมาผ่านพื้นที่อันกว้างใหญ่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด
“ดวงดาวที่เราตั้งเป้าหมายอยู่นั้นอยู่ห่างออกไปหลายร้อยหรือหลายพันปีแสง และถึงแม้ว่ามันจะเป็นสัญญาณสื่อสาร แม้ว่าสัญญาณนั้นมีไว้สำหรับเราในการถอดรหัส เราก็ไม่สามารถตอบโต้ได้” เจสัน ไรท์ ศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเพนน์สเตทและผู้เขียนนำรายงานกล่าวในพอดแคสต์
ไรท์ บอกอีกว่า “เราสามารถส่งสัญญาณกลับได้ แต่ถ้าสิ่งนั้นอยู่ห่างออกไป 200 ปีแสง เราก็อาจจะพูดว่า เยี่ยมมาก เราได้รับข้อความของคุณแล้ว บอกเราเกี่ยวกับ X, Y, Z และในอีก 400 ปีต่อมาเราก็จะได้คำตอบ”
สำหรับโครงการ SETI ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นมีที่มา แต่ต้องย้อนกลับไปในทศวรรษที่ 1960 เมื่อสหรัฐฯ ได้ริเริ่มโครงการ Project Ozma ซึ่งใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุเพื่อค้นหาสัญญาณวิทยุนอกโลก ในปี 1994 โครงการ SETI@home ได้เปิดตัวขึ้น ซึ่งช่วยให้อาสาสมัครสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของตนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ