ครั้งหนึ่ง…ดินแดนใดบ้างในโลกใบนี้ที่เคย ‘ไม่มีรัฐบาล’
ว่ากันว่า ‘หัวใจของประชาธิปไตยสมัยใหม่’ ก็คือแนวคิดที่ว่าผู้นำคนหนึ่งถูกรับเลือกให้บริหารหรือปกครองประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ในปี 2018 กลับพบว่ามีดินแดนทางยุโรปอยู่หลายแห่งที่ ‘ไม่มีรัฐบาล’ หรืออยู่ในช่วง ‘สุญญากาศทางการเมือง’ ซึ่งนำมาสู่คำถามว่า ‘เรายังต้องการนักการเมืองอยู่จริงๆ หรือ?’
ประเทศไหนบ้าง? ในยุโรปที่เคยอยู่ในภาวะ ‘สุญญากาศทางการเมือง’
ในช่วงปี 2018 ไอร์แลนด์เหนือ ไม่มีรัฐบาลเป็นของตัวเอง หลังจาก มาร์ติน แมคกินเนส อดีตรองมุขมนตรีคนแรก ได้ออกมาคัดค้านโครงการพลังงานตัวปัญหา จนเกิดความแตกแยกตามมาระหว่างพรรคชาตินิยมและพรรคสหภาพที่ไม่แสดงสัญญาณว่าจะแก้ไขแต่อย่างใด
เนื่องจากการสนับสนุนของทั้ง 2 พรรคเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผ่านกฎหมายใหม่ ประกอบกับงบประมาณจะต้องถูกเรียกเก็บจากลอนดอนและตัดสินใจแบบวันต่อวันในประเด็นที่ตกหล่น
สถานการณ์ดังกล่าวอาจดูปกติ แต่การขาดผู้นำทางการเมืองก็ไม่ได้ทำให้บริการสาธารณะพังทลายลง และประชาชนยังสามารถดำเนินกิจการประจำวันตามปกติได้ ทว่าแม้ว่าจะไม่ปกติ แต่จุดยืนของไอร์แลนด์เหนือก็ไม่ได้แตกต่างออกไป และทำให้ผู้คนตั้งคำถามว่ารัฐบาลมีจุดประสงค์อะไร? เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมันเห็นได้ชัดว่าประชาชนสามารถรับมือได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ทั้ง 2 พรรคทำงานร่วมมือกัน
แต่ข้อเสียที่ตามมาก็คือ…
และการตัดสินใจอาจจบลงด้วยการที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิใช้งบประมาณถึง 95% เล็ดรอดไปได้โดยไม่มีการตรวจสอบอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ ไอร์แลนด์เหนืออาจเจอความไม่สงบเพราะนักการเมืองของรัฐสภาได้รับเงินเดือนทั้งๆ ที่พวกเขาไม่ได้ทำงานด้วยซ้ำ
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าไอร์แลนด์เหนือจะรอดพ้นจากสุญญากาศทางการเมืองนี้ โดยที่รัฐบาลท้องถิ่นยังทำหน้าที่หลายอย่างและเวสต์มินสเตอร์ก็ยังรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ เช่น ความมั่นคงของชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการป้องกันประเทศ
ขณะที่ เยอรมนีเองก็ไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังจากการเลือกตั้งกลางที่ยังไม่มีผลสรุปเมื่อปลายเดือนกันยายน 2017 แม้ว่าจะมีการเจรจาเพื่อหาทางออกดังกล่าว
เบลเยียมเป็นประเทศที่สร้างสถิติไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งยาวนานที่สุดในระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี 2010-2011 หลังจากเกิดการโต้เถียงกันระหว่างชาวเฟลมิชและชาววัลลูนจนเกิดสุญญากาศทางการเมืองนานถึง 589 วัน
ส่วนสเปนก็เคยประสบกับช่วงเวลาเหล่านี้ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2016 แต่ช่องว่างนี้สิ้นสุดลงเมื่อกลุ่มสังคมนิยมฝ่ายค้านลงมติเพื่อให้พรรคอนุรักษนิยมจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย
แล้วดินแดนในทวีปอื่นล่ะ…เคยอยู่ในภาวะนี้ไหม?
ครั้งหนึ่งประเทศทางแอฟริกาตะวันออกอย่าง โซมาเลียก็ไม่มีรัฐบาลยาวนานถึง 15 ปีในช่วงปี 1990-2000 เพราะในช่วงเวลานั้นดินแดนแห่งนี้ถูกกลุ่มติดอาวุธ แก๊งโจรสลัด และกลุ่มหัวรุนแรงอิสลามิสต์ทำลายล้าง
ขณะเดียวกัน อิรักก็เคยตกอยู่ในภาวะสุญญากาศทางการเมืองอย่างไร้จุดหมายเมื่อปี 2010 ซึ่งนำไปสู่ความกลัวว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอาจใช้ประโยชน์จากวิกฤตทางตันนี้เมื่อกองกำลังสหรัฐฯ ถอยกำลังลง
แต่การ ‘ไม่มีรัฐบาล’ ในฐานะ ‘รัฐ’ ที่มั่นคง…หมายความว่ายังไง?
ยกตัวอย่าง ‘การเมืองเยอรมนี’ ที่สามารถยืดหยุ่นได้โดยที่รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่ง ‘รักษาการรัฐมนตรี’ ได้พร้อมงบประมาณที่ได้รับอนุมัติแล้ว ขณะที่รัฐบาลระดับภูมิภาคและท้องถิ่นก็มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินนโยบายส่วนใหญ่โดยที่ไม่ได้มีผลกระทบอะไร นอกจากนี้ เยอรมนีก็ยังคงเป็นประเทศที่เป็นตัวแทนในสถาบันของสหภาพยุโรปอย่างไรก็ตามพบว่ามี ‘ข้อเสีย’ ตามมาเช่นเดียวกัน
หากไม่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบจากรัฐสภาหรือทางการเมือง ก็มีความเสี่ยงที่การตัดสินใจไม่พึงปรารถนาจะถูก ‘เล็ดรอด’ หรือ ‘ผ่านไปแบบเงียบๆ’
อย่างในสถานการณ์ที่รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร คริสเตียน ชมิดต์ ได้สร้างความประหลาดใจเมื่อเขาลงมติในสหภาพยุโรปเห็นชอบให้ใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นที่ถกเถียงกัน ซึ่งขัดต่อข้อตกลงระหว่างพรรคหลักต่างๆ และไม่ได้รับการสนับสนุนจากรักษาการนายกฯ อังเกลา แมร์เคิล
เยอรมนีไม่สามารถตัดสินใจภาพรวมภายในประเทศหรือระหว่างประเทศได้
หากถามว่ารัฐบาลเยอรมันจะตอบสนองต่อแผนการอันทะเยอทะยานของประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ในการปฏิรูปสหภาพยุโรปอย่างไร? คำตอบที่เยอรมนีตอบก็คือ เราไม่รู้ และไม่อาจจะรู้ได้ เพราะไม่มีรัฐบาลใดเข้ามาแสดงจุดยืน
ในทำนองเดียวกันนี้ เยอรมนีเองก็ไม่สามารถเสนอการปฏิรูปภายในประเทศได้ เช่น การรับมือกับความท้าทายในภาคการดูแลสังคม หรือกระตุ้นการสร้างบ้าน