ยังอันตรายอยู่! โควิดคร่า 1 ชีวิตในทุกๆ 4 นาที

24 พฤษภาคม 2566 - 07:32

covid-kills-one-person-every-four-minutes-as-vaccine-rates-fall-SPACEBAR-Hero
  • แม้ว่า WHO จะประกาศเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาว่าโควิดไม่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินอีกต่อไป แต่ในขณะเดียวกันการติดเชื้อก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ล้านคนทั่วโลกแล้ว

  • คำถามสำคัญคือ วิธีจัดการกับไวรัสที่กลายเป็นภัยคุกคามน้อยลงสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ก็ยังคงเป็นอันตรายต่อประชากรบางส่วน ซึ่งมันใหญ่กว่าที่หลายคนตระหนักซะอีก

แม้ว่าองค์การอนามัยโลกจะยุติสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับโควิด-19 แล้ว ทว่ามันยังคงคร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 1 คนในทุกๆ 4 นาที และคำถามเกี่ยวกับวิธีจัดการกับไวรัสก็ยังคงไม่ได้รับคำตอบจึงทำให้ผู้คนที่เปราะบางและประเทศที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตกอยู่ในความเสี่ยงด้วย 

คำถามสำคัญคือ วิธีจัดการกับไวรัสที่กลายเป็นภัยคุกคามน้อยลงสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ก็ยังคงเป็นอันตรายต่อประชากรบางส่วน ซึ่งมันใหญ่กว่าที่หลายคนตระหนักเสียอีกเพราะโควิดยังคงเป็นฆาตกรอันดับต้นๆ และใหญ่เป็นอันดับ 3 ในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้วรองจากโรคหัวใจและมะเร็ง 

“ความปรารถนาทั่วไปในโลกคือการก้าวข้ามการแพร่ระบาดและกำจัดโควิดไว้เบื้องหลัง แต่เราไม่สามารถหนีปัญหาได้…โควิดยังคงแพร่ระบาดและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก เรามีวิธีที่จะลดภาระนั้น” ซิยาด อัล-อลี ผู้อำนวยการศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกของโรงพยาบาลทหารผ่านศึกเซนต์หลุยส์ในรัฐมิสซูรีกล่าว 

ก่อนที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จะประกาศเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาว่าโควิดไม่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินอีกต่อไป ซึ่งรัฐบาลส่วนใหญ่ก็ได้ผ่อนคลายมาตรการและแนวทางปฏิบัติแล้ว  

แต่ในขณะเดียวกัน การติดเชื้อที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ล้านคนทั่วโลกก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีีการเข้าถึงยาที่ไม่เท่าเทียมกัน ประกอบมีการป้องกันเพียงเล็กน้อยจากผู้อื่นโดยไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือฉีดวัคซีนล่าสุด  

ทำไม ‘ โควิด’ ยังเป็นปัญหา

เนื่องจากภาวะลองโควิด (Long Covid) ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อประมาณ 10% ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความท้าทายทางการแพทย์หลังการระบาดครั้งใหญ่ที่สุด  

ในสหรัฐฯ มีการประมาณการว่าโควิดที่ยาวนานทำให้สูญเสียเงินเดือนไปประมาณ 50,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีในช่วงสิ้นปี 2022 ขณะที่สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจ (Institute for Fiscal Studies) ในสหราชอาณาจักรประมาณการเมื่อปีที่แล้วว่าประมาณ 1 ใน 10 ของคนที่ติดโควิดต้องหยุดทำงาน 

และเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งต้องกลับไปทำงานและพื้นที่สาธารณะซึ่งหน้ากากอนามัยมีน้อยและมองไม่เห็นอันตราย  

ในอนาคตจะจัดการกับมันยังไง?

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า “การสร้างภูมิคุ้มกันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน และมีชาวอเมริกันเพียง 16% เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนเสริมแบบไบวาเลนท์” ซึ่งความหวังในระยะยาวก็คือการฉีดยาหรือยาพ่นจมูกที่เป็นนวัตกรรมใหม่จะช่วยป้องกันได้ดีกว่า 

นอกจากนี้ ก็ยังมีการปรับปรุงอื่นๆ ที่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่การทดสอบการระบายอากาศและคุณภาพอากาศไปจนถึงปรับปรุงหน้ากากอนามัยที่ดีขึ้น แต่จำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมในระบบเฝ้าระวังเพื่อให้สามารถตรวจจับภัยคุกคามได้ตั้งแต่เนิ่นๆ  

ทั้งนี้ สหรัฐฯ ยังวางแผนที่จะทุ่มเงิน 5 พันล้านดอลลาร์ในโครงการใหม่ที่มุ่งพัฒนาวัคซีนขั้นสูงและการรักษาไวรัสโคโรนาร่วมกับผู้ผลิตยา เป้าหมายก็คือการพัฒนาให้ยาพร้อมใช้อย่างรวดเร็วเมื่อไวรัสกลายพันธุ์นั่นเอง 

“แม้ว่ารัฐบาลจะเหนื่อย แต่เราก็ต้องเผชิญกับความจริงที่ว่าไวรัสยังคงพัฒนาอยู่” ผู้เชี่ยวชาญกล่าว 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์