ประวัติศาสตร์ต้องจารึก! สหรัฐฯ ทุบเขื่อนอายุร้อยปีเพื่อพา ‘แซลมอน’ กลับบ้าน

3 กุมภาพันธ์ 2567 - 05:00

dam-salmon-coming-home-us-SPACEBAR-Hero.jpg
  • การเปิดเขื่อนไอรอน เกต ถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของโครงการรื้อถอนครั้งประวัติศาสตร์ซึ่งจะรื้อถอนเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 4 แห่งที่เก่าแก่ในแม่น้ำคลาแมธ เพื่อฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาแซลมอน

  • คาดว่าจะมีน้ำไหลผ่านกว่า 2,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวินาที ส่งผลให้น้ำในเขื่อนลดลง 2 – 4 ฟุต ต่อวัน

  • สมาชิกเผ่ายูร็อค (Yurok) บอกว่านี่คือประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงชีวิต นั่นหมายความว่าชาวยูร็อคจะมีแม่น้ำที่มีปลาแซลมอนในอนาคต

‘แซลมอน’ ในแม่น้ำคลาแมธ (Klamath) ในรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐโอเรกอนของสหรัฐฯ จะกลับมาอีกครั้ง หลังจากที่เจ้าหน้าที่รวมตัวกันที่เขื่อน ไอรอน เกต (Iron Gate) ในเมืองฮอร์นบรูค รัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อปลดล็อคประตูฐานเขื่อนให้น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบโครงการรื้อเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ​

dam-salmon-coming-home-us-SPACEBAR-Photo01.jpg
Photo: Wikipedia

น้ำสีน้ำตาลไหลผ่านช่องว่าง ชะล้างตะกอนที่สะสมมานานหลายปี คาดว่าจะมีน้ำไหลผ่านกว่า 2,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวินาที ส่งผลให้น้ำในเขื่อนลดลง 2 – 4 ฟุต ต่อวัน การเปิดเขื่อนไอรอน เกต ถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของโครงการรื้อถอนครั้งประวัติศาสตร์ซึ่งจะรื้อถอนเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 4 แห่งที่เก่าแก่ในแม่น้ำคลาแมธ เพื่อฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาแซลมอน โดยได้รับอนุมัติในเดือนพฤศจิกายน 2022 เขื่อนแรกที่เล็กที่สุดคือ คอปโก 2 (Copco) ได้ถูกรื้อถอนออกแล้วเมื่อฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา

dam-salmon-coming-home-us-SPACEBAR-Photo02.jpg
Photo: JOHN MOORE

เอมี่ คอร์ดาลิส ทนายความและสมาชิกเผ่ายูร็อค (Yurok) บอกว่านี่คือประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงชีวิต นั่นหมายความว่าชาวยูร็อคจะมีแม่น้ำที่มีปลาแซลมอนในอนาคต

เขื่อนที่สร้างมาร่วมร้อยปี

เขื่อนไอรอน เกต เป็นเขื่อนที่เล็กที่สุดที่ยังเหลือในแม่น้ำคลาแมธ โดยมีความสูงอยู่ที่ 52 เมตร และมีแม่น้ำไหลผ่านยาวกว่า 400 กม. จากต้นน้ำในเทือกเขาแคสเคด (Cascade) จากโอเรกอน สู่มหาสมุทรแปซิฟิกในแคลิฟอร์เนีย

dam-salmon-coming-home-us-SPACEBAR-Photo03.jpg
Photo: JUSTIN SULLIVAN

แฟรงกี้ มเยอร์ รองหัวหน้าชนเผ่ายูร็อค กล่าวว่า การได้มองดูแม่น้ำไหลเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 100 ปี มันสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเรา  

แม่น้ำหลายสายในพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 600 กม. และแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาแซลมอนแปซิฟิกถูกขวางนับตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนแห่งแรกริมแม่น้ำในปี 1918  

ชีวิตของปลาแซลมอนถูกกำหนดให้ต้องสู้ชีวิต ทั้งการปรับตัว ความยืดหยุ่น ลูกปลาแซลมอนจะออกจากไข่ในแม่น้ำและลำธารที่มีอุณหภูมิต่ำ (หรือว่าในน้ำที่เย็นๆ นั่นเอง) และจะอยู่จนกว่าจะแข็งแรงก่อนจะเดินทางไกลไปยังทะเล และใช้เวลาราวๆ 1 ปี เพื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเวลาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ จากนั้นเมื่อพร้อมที่จะวางไข่พวกมันจะอพยพกลับไปยังต้นน้ำที่ห่างออกไปหลายร้อยกม. เพื่อกลับไปยังบ้านเกิดของพวกมันเพื่อวางไข่

dam-salmon-coming-home-us-SPACEBAR-Photo04.jpg
Photo: JOHN MOORE

ชุมชนหลายแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกชนเผ่า เช่น ยูร็อค มักจะเรียกตัวเองว่า ‘ชาวปลาแซลมอน’ เนื่องจากอาหารหลักของพวกเขาคือปลาแซลมอน ถึงอย่างนั้น สมาชิกเผ่ายูร็อคคนหนึ่งก็บอกว่า เขื่อนที่ขวางกั้นแม่น้ำอยู่นี้เป็นเขื่อนที่ล้าสมัย พร้อมทั้งบอกว่าเขื่อนนี้ทำให้น้ำร้อน เหม็นอับ และมีออกซิเจนน้อยลง  

สิ่งสำคัญที่สุดคือการกำจัดเขื่อนเหล่านี้เพื่อต้อนรับปลาแซลมอนกลับบ้าน โดยในอีก 30 ปีข้างหน้า ปลาแซลมอนจะสามารถสามารถกลับคืนสู่ลุ่มน้ำคลาแมธได้มากขึ้นถึง 80% และการเก็บเกี่ยวปลาแซลมอนในมหาสมุทรอาจเพิ่มขึ้นได้ถึง 46%

dam-salmon-coming-home-us-SPACEBAR-Photo05.jpg
Photo: JOHN MOORE

โครงการประวัติศาสตร์นี้เกิดขึ้นหลังจากการจัดตั้งและยื่นคำร้องมานานหลายทศวรรษ ซึ่งล้วนนำโดยชนเผ่าท้องถิ่น บริษัท PacifiCrop ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินการสร้างเขื่อน ยังต้องเผชิญแรงกดดันของคนท้องถิ่นและกฎระเบียบของรัฐบาลกลางในการปรับปรุงเส้นทางการผ่านของปลาในแม่น้ำคลาแมธ ทว่าแทนที่จะจ่ายเงินเพื่อซ่อมแซมเขื่อนด้วยบันไดปลา บริษัทกลับเลือกที่จะทุบเขื่อนทิ้ง  

แบร์รี แมคโควีย์ ผู้อำนวยการแผนกเอกสารของเผ่ายูร็อค กล่าวว่า เขื่อนในคลาแมธฆ่าปลาแซลมอนและปลาอื่นๆ มานานกว่าศตวรรษแล้ว ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก เพราะจะไม่มีเขื่อนอีกแล้ว สำหรับชาวยูร็อคการกำจัดเขื่อนถือเป็นการฟื้นฟูแม่น้ำ การประมงแบบดั้งเดิม ..ซึ่งยังมีงานที่ต้องทำอีกมากเลยแหละ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์