การศึกษาระบุ ‘นอน (หลับลึก) น้อย’ เสี่ยง ‘สมองเสื่อม’

9 พ.ย. 2566 - 01:30

  • การศึกษาล่าสุด ชี้ การนอน (หลับลึก) ไม่เพียงพอเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม

  • นักวิจัย ประเมินว่าทุก 3 วินาที มีบางคนบนโลกนี้กำลังค่อยๆเป็นโรคสมองเสื่อม

Decreased-deep-sleep-increases-dementia-risk-SPACEBAR-Hero.jpg

ขณะนี้มีผู้คนมากกว่า 55 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคสมองเสื่อม และนักวิจัยประเมินว่าบางคนในโลกนี้กำลังค่อยๆเป็นโรคสมองเสื่อมในทุกๆ 3 วินาที ซึ่งมีการคาดการณ์ตัวเลขผู้ป่วยสมองเสื่อม จะขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 153 ล้านคนภายในปี 2050 นักวิจัยจึงทำงานอย่างหนักเพื่อค้นหาวิธีการเพิ่มเติมที่จะลดความเสี่ยงการเกิดโรคทางระบบประสาท โดยนักวิจัยหลายคนเชื่อว่าการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ของโรคสมองเสื่อม  

การศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสาร JAMA Neurology ได้เพิ่มการพิสูจน์นี้มากขึ้น โดยพบว่า เพียงแค่ 1 % ที่ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ‘หลับลึก’ น้อยลงในทุกปี เท่ากับเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคสมองเสื่อม เพิ่มขึ้น 27 %  

การนอนหลับ อายุ และความเสี่ยงสมองเสื่อม เกี่ยวข้องกันอย่างไร  

ในการศึกษานี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโมนาช นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ได้วิเคราะห์ข้อมูลของผู้เข้าร่วมการศึกษา 346 คน ซึ่งอายุ 60 ปีขึ้นไป สมัครไว้ใน ‘การศึกษาหัวใจ ฟรามิงแฮม’ ทุกคนที่ได้รับเลือกได้เข้าร่วมการศึกษาการนอนหลับสองชิ้น แต่ละชิ้นเว้นระยะประมาณห้าปี  

นักวิจัยรายงานว่า ปริมาณการหลับลึกของผู้เข้าร่วมทุกคนลดลงโดยเฉลี่ย ระหว่างการศึกษาสองชิ้น ซึ่งชี้ว่าการสูญเสียการหลับลึกหรือคลื่นต่ำขณะหลับเป็นเพราะอายุ  

นักวิทยาศาสตร์ยังติดตามผู้เข้าร่วมการศึกษาในช่วงของการศึกษาการนอนหลับชิ้นที่สอง ไปจนถึงปี 2018 เป็นเวลา 17 ปี เพื่อจับตาการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม 

รองศาสตราจารย์ ดร.แมธธิว เพส แห่งคณะวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา มหาวิทยาลัยโมนาช และสถาบันสมองและสุขภาพจิตเทอร์เนอร์ ออสเตรเลีย ผู้วิจัยอาวุโสในการศึกษานี้ บอกว่า “การตอบสนองต่อความชุกของโรคสมองเสื่อมที่เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในสิ่งที่ท้าทายอย่างวิกฤตสำหรับพวกเรา 

ตั้งแต่เราไม่มีวิธีการไหนเลยที่จะรักษาเพื่อหยุดหรือย้อนกลับโรคสมองเสื่อมให้หายขาดได้ เราก็สนใจในการทำความเข้าใจวิธีการที่จะป้องกันโรคสมองเสื่อมตั้งแต่ระยะแรก” 

สำหรับจุดประสงค์ของการให้ข้อมูล ‘คำแนะนำวิธีป้องกันโรคสมองเสื่อม’ เราได้ให้ความสนใจในการสร้างความกระจ่างว่าการนอนหลับเปลี่ยนแปลงอย่างไรตามอายุ และการนอนหลับที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม” 

หลับลึกลดลง เพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมมากขึ้น 

ในการวิเคราะห์ ทีมวิจัยพบผู้ป่วยสมองเสื่อมทั้งหมด 52 คน แม้ว่าหลังจากปรับปัจจัยต่างๆ ทั้งอายุ เพศ และการใช้ยานอนหลับ นักวิจัยพบว่าทุกเปอร์เซ็นต์ของการหลับลึกลดลงในทุกปีเชื่อมโยงกับความเสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 27%  

ดร.เพส กล่าวว่า “เรารู้ว่าการหลับลึกเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสมองผู้สูงอายุ มันช่วยกำจัดของเสียจากสมองและยังรวบรวมความทรงจำทำให้มั่นคง มันยังช่วยปกป้องจากปัจจัยเสี่ยงสมองเสื่อมอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ดังนั้นเราไม่แปลกใจที่เห็นว่าการหลับลึกที่ลดลง มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงสมองเสื่อมที่เพิ่มสูงขึ้น” 

“การนอนหลับที่มีคุณภาพดีมีความสำคัญต่อสุขภาพในหลายๆด้าน แต่การนอนหลับที่แย่ไม่ใช่ความคิดที่แท้จริงว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม การค้นพบเหล่านี้เป็นการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการนอนหลับที่ดีมาเป็นอันดับแรกให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ” 

“เหมือนที่ผู้คนจัดสรรเวลาสำหรับออกกำลังกายไว้ในตารางประจำวัน ผู้คนก็ควรจัดเวลาสำหรับการนอนให้มีคุณภาพและระยะเวลาเพียงพอ แพทย์สามารถที่จะให้ความรู้ผู้ใหญ่เกี่ยวกับวิธีการนอนให้เหมาะสม และช่วยคัดกรองความผิดปกติในการนอนหลับด้วย” 

ทำไมการหลับลึก มีผลต่อสมองเสื่อม 

เพราะการหลับลึกมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมองให้มีสุขภาพดี การนอนหลับไม่เพียงพอ สามารถเพิ่มความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับสมองของคนคนหนึ่งได้ เช่น สมองเสื่อม ซึ่งรวมถึงโรคอัลไซเมอร์ 

มีการศึกษา ที่เผยแพร่ในเดือนเมษายน 2021 พบว่าผู้คนในช่วงวัย 50 และ 60 ปี ที่นอนหลับคืนละ 6 ชม.หรือน้อยกว่านั้น มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมในช่วงบั้นปลายชีวิต 

การศึกษา ที่เผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2021 รายงานว่าการนอนหลับลึกอาจช่วยกำจัดโปรตีนพิษจากสมองซึ่งเชื่อมโยงกับโรคอัลไซเมอร์ 

และการศึกษา ที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2023 แสดงหลักฐานที่แนะนำว่าการนอนหลับลึกอาจช่วยป้องกันการสูญเสียความทรงจำในผู้สูงอายุที่มีปริมาณโปรตีน ‘เบต้า-อะไมลอยด์’ ในสมองสูง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์