กัมพูชาพบปลาบึกยักษ์ใกล้สูญพันธุ์ 6 ตัว หวังประเทศลุ่มน้ำโขงร่วมอนุรักษ์

17 ธ.ค. 2567 - 05:26

  • ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนประชากรปลาบึกลดลงถึง 80% เนื่องจากแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการทำประมงมากเกินไป เขื่อนที่ปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลาเพื่อวางไข่ และเหตุรบกวนอื่นๆ

  • ผู้คนนับล้านที่พึ่งพาแม่น้ำโขงในการดำรงชีพ แทบไม่มีใครเคยเห็นปลาบึกยักษ์มาก่อน การพบปลาบึกยักษ์ 6 ตัวในเวลา 5 วันถือเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

discovery-of-six-rare-mekong-giant-catfish-in-cambodia-SPACEBAR-Hero.jpg

ปลาบึกยักษ์แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ใกล้สูญพันธุ์ และหายากที่สุดชนิดหนึ่งในโลก ถูกจับและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติจำนวน 6 ตัวในกัมพูชาสร้างความหวังว่าสายพันธุ์นี้จะอยู่รอดได้อีกครั้ง 

ปลาบึกยักษ์ใต้น้ำสามารถเติบโตได้ยาวถึง 3 เมตรและหนักได้ถึง 300 กิโลกรัม พบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่ในอดีต ปลาบึกเคยอาศัยอยู่ในแม่น้ำที่มีความยาว 4,900 กิโลเมตร ตั้งแต่ต้นน้ำในเวียดนามไปจนถึงตอนเหนือในมณฑลยูนนานของจีน 

ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนประชากรปลาบึกลดลงถึง 80% เนื่องจากแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการทำประมงมากเกินไป เขื่อนที่ปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลาเพื่อวางไข่ และเหตุรบกวนอื่นๆ 

ผู้คนนับล้านที่พึ่งพาแม่น้ำโขงในการดำรงชีพ แทบไม่มีใครเคยเห็นปลาบึกยักษ์มาก่อน การพบปลาบึกยักษ์ 6 ตัวในเวลา 5 วันถือเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 

ปลา 2 ตัวแรกอยู่ในแม่น้ำโตนเลสาบ ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำโขงไม่ไกลจากกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา เจ้าหน้าที่ได้ติดแท็กปลา 2 ตัวนี้ และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ นอกจากนี้ ชาวประมงยังจับปลาบึกยักษ์ได้อีก 4 ตัวเมื่อวันอังคาร (10 ธ.ค.) ในจำนวนนี้มี 2 ตัวที่มีความยาวมากกว่า 2 เมตร หนัก 120 กิโลกรัม และ 131 กิโลกรัมตามลำดับ ปลาที่จับได้นั้นดูเหมือนว่าจะอพยพจากแหล่งที่อยู่อาศัยในที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงใกล้กับทะเลสาบโตนเลสาบของกัมพูชาไปทางเหนือตามแม่น้ำโขง และมีแนวโน้มที่ปลาจะไปวางไข่ในภาคเหนือของกัมพูชา ลาว หรือไทย 

“เป็นสัญญาณที่ดีว่าปลาบึกสายพันธุ์นี้ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในเร็วๆ นี้...” ดร.เซ็บ โฮแกน นักชีววิทยาการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเนวาดา รีโน หัวหน้าโครงการ ‘Wonders of the Mekong’ ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าว 

ยังคงมีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับปลาขนาดใหญ่ชนิดนี้ แต่ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โครงการอนุรักษ์ร่วมกันระหว่าง ‘Wonders of the Mekong’ และ ‘Cambodian Fisheries Administration’ ได้จับปลาติดแท็ก และปล่อยปลาชนิดนี้ไปประมาณ 100 ตัว ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานของปลา แหล่งที่อยู่อาศัย และสุขภาพของปลาสายพันธุ์นี้ 

“ข้อมูลนี้ใช้เพื่อสร้างเส้นทางอพยพและปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยให้ปลาเหล่านี้สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต” โฮแกน กล่าว 

ปลาบึกยักษ์แห่งแม่น้ำโขงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของภูมิภาค โดยมีปรากฏในภาพวาดถ้ำอายุกว่า 3,000 ปี เป็นที่เคารพนับถือในนิทานพื้นบ้าน และถือเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำ ซึ่งการประมงของแม่น้ำโขงเป็นแหล่งอาหารของผู้คนนับล้าน และมีมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี (ราว 3.41 แสนล้านบาท) 

ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ ปัจจุบันชาวประมงทราบถึงความสำคัญของการรายงานการจับปลาหายากและใกล้สูญพันธุ์ให้เจ้าหน้าที่ทราบ ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถเข้าถึงสถานที่ที่มีการจับปลาได้ วัดขนาดและติดแท็กก่อนปล่อยปลาเหล่านี้ไป 

นอกจากปลาบึกยักษ์ในแม่น้ำโขงแล้ว แม่น้ำสายนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลาขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆ อีกด้วย รวมทั้งปลากระเบนยักษ์ และปลาคาร์ปปลาแซลมอน ซึ่งเคยคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจนกระทั่งมีการพบเห็นเมื่อต้นปีนี้  

“การที่ปลาทั้ง 4 ตัวถูกจับและติดแท็กภายในวันเดียวนั้น น่าจะเป็นเรื่องราวปลาใหญ่แห่งศตวรรษของแม่น้ำโขง...การเห็นปลาเหล่านี้ช่วยยืนยันว่าการอพยพประจำปีของปลายังคงแข็งแกร่ง แม้จะมีแรงกดดันมากมายที่สิ่งแวดล้อมริมแม่น้ำโขงต้องเผชิญ...เราหวังว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้จะแสดงให้ประเทศต่างๆ แถบลุ่มน้ำโขงและคนทั่วโลกเห็นว่าประชากรปลาจำนวนมหาศาลของแม่น้ำโขงมีความพิเศษและจำเป็นต้องได้รับการอนุรักษ์” ไบรอัน เอย์เลอร์ ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์กร ‘Stimson Center’ ในกรุงวอชิงตัน กล่าว 

Photo by Chhut Chheana / USAID WONDERS OF THE MEKONG / AFP

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์