วิจัยเผยคนที่ชอบตื่นเช้า (อาจ) ได้รับ DNA สืบทอดจากมนุษย์ยุคหิน

19 ธันวาคม 2566 - 08:51

early-risers-may-have-inherited-faster-body-clock-from-neanderthals-SPACEBAR-Hero.jpg
  • “เป็นไปได้ว่าการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณแสงกลางวันจะถูกส่งต่อไปยังโฮโมเซเปียนส์ยุคแรกๆ ขณะที่พวกเขาเคลื่อนตัวออกจากแอฟริกาไปทางเหนือ และผสมพันธุ์กับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล ซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อ 40,000 ปีก่อน…”

  • “และมรดกทางพันธุกรรมนั้นอาจยังคงมีอิทธิพลต่อความผันแปรของนาฬิกาชีวิตในร่างกายของมนุษย์และโครโนไทป์ (chronotype / นาฬิกาชีวิตของคน 4 แบบ)”

ผลการวิจัยใหม่พบว่า ‘ผู้ที่ตื่นแต่เช้า’ อาจได้รับพันธุกรรมจาก ‘มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล’ ซึ่งเพิ่มโอกาสที่จะเป็นคนที่ชอบตื่นเช้ามากกว่าคนที่ชอบนอนดึกตื่นสาย 

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ ‘Genome Biology and Evolution’ ระบุว่า แม้ว่านาฬิกาชีวิตในร่างกายมนุษย์จะเป็นลักษณะที่ซับซ้อนซึ่งถูกกำหนดโดยบรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรมตลอดจนพันธุกรรม แต่มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลที่มีวิวัฒนาการบนละติจูดสูงในยุโรปและเอเชียเป็นเวลาหลายแสนปี อาจได้รับการปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลในเวลากลางวันได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับโฮโมเซเปียนส์ยุคแรกหรือมนุษย์ยุคใหม่ โดยมนุษย์สมัยใหม่ในยุคแรกนั้นวิวัฒนาการในละติจูดใกล้กับเส้นศูนย์สูตรในแอฟริกา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในเวลากลางวันน้อยกว่า 

ผู้เขียนการศึกษากล่าวว่า “เป็นไปได้ว่าการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณแสงกลางวันจะถูกส่งต่อไปยังโฮโมเซเปียนส์ยุคแรกๆ ขณะที่พวกเขาเคลื่อนตัวออกจากแอฟริกาไปทางเหนือ และผสมพันธุ์กับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล ซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อ 40,000 ปีก่อน…และมรดกทางพันธุกรรมนั้นอาจยังคงมีอิทธิพลต่อความผันแปรของนาฬิกาชีวิตในร่างกายของมนุษย์และโครโนไทป์ (chronotype / นาฬิกาชีวิตของคน 4 แบบ)” 

“ในบริเวณละติจูดที่สูงกว่านั้น การมีนาฬิกาชีวิตสามารถคาดการณ์และเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับระดับแสงตามฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป การมีนาฬิกาที่เดิน ‘เร็วขึ้น’ จะช่วยทำให้ผู้คนมีแนวโน้มที่จะตื่นเช้ามากขึ้น” โทนี่ คาปรา ผู้ร่วมวิจัยซึ่งเป็นรองศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาและชีวสถิติแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพคอมพิวเตอร์บาการ์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโกกล่าว 

“เรารู้จากสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งอาศัยอยู่ตามละติจูดที่กว้างว่านาฬิกาชีวิต (circadian clocks) ของพวกเขามักจะปรับให้เข้ากับความแตกต่างของวัฏจักรแสงและความมืด” คาปรากล่าวเสริมทางอีเมล 

วิเคราะห์ DNA โบราณ 

นักวิจัยที่เกี่ยวข้องในการศึกษานี้ได้วิเคราะห์ DNA จากจีโนมมนุษย์มาตรฐาน, จีโนมของมนุษย์ยุคหิน, และของเดนิโซวาน ซึ่งเป็นมนุษย์โบราณอีกสปีชีส์หนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล ด้วยการเปรียบเทียบยีนที่มีอิทธิพลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจใน DNA ของมนุษย์สมัยโบราณและสมัยใหม่  

“สิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถทดสอบได้ว่าชิ้นส่วนของ DNA ของมนุษย์ยุคหินที่ยังคงอยู่ในมนุษย์สมัยใหม่นั้นพบได้ทั่วไปในตัวคนที่ชอบตื่นเช้าหรือไม่…เราพบว่า DNA ของมนุษย์ยุคหินที่ยังคงอยู่ในมนุษย์สมัยใหม่เนื่องจากการผสมพันธุ์กันนั้นมี...ผลกระทบที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DNA ของมนุษย์ยุคหินที่เกี่ยวข้องกับโครโนไทป์นั้นช่วยเพิ่มแนวโน้มที่จะเป็นคนตื่นเช้า” คาปราอธิบาย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์