‘มีนาคม’ ปีนี้ทุบสถิติเดือนมีนาคมที่โลกร้อนที่สุดอันดับ 2

7 เม.ย. 2566 - 07:29

  • “เดือนดังกล่าวเป็นเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกร่วมกับปี 2017, 2019 และ 2020”

  • ภาวะโลกร้อนนี้ทำให้น้ำแข็งในทะเลลดลงและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้เกิดคำเตือนว่าอาจถึงจุดเปลี่ยนที่อันตราย

Earth-record-March-second-warmest-SPACEBAR-Thumbnail
ขณะนี้หลายๆ พื้นที่ทั่วโลกกำลังเข้าสู่หน้าร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว โดยล่าสุดหน่วยงานสังเกตการณ์สภาพอากาศของสหภาพยุโรปโคเปอร์นิคัสรายงานเมื่อวันพฤหัสบดี (6 เม.ย.) ที่ผ่านมาว่า เดือนมีนาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุดอันดับ 2 นอกจากนี้ น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกยังหดตัวลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นอันดับ 2 ด้วย 

นอกจากนี้ยังพบว่าอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยทางตอนใต้และตอนกลางของยุโรป ทั้งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของยุโรปอีกด้วย ขณะที่อากาศอุ่นกว่าค่าเฉลี่ยในพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอฟริกาเหนือ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย เอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ รวมถึงอาร์เจนตินาที่แห้งแล้ง ออสเตรเลีย และชายฝั่งแอนตาร์กติกา ในทางตรงกันข้าม อากาศกลับเย็นกว่าค่าเฉลี่ยมากทางตะวันตกและตอนกลางของอเมริกาเหนือ  

รายงานดังกล่าวอิงจากการวิเคราะห์ที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้การวัดหลายพันล้านครั้งจากดาวเทียม เรือ เครื่องบิน และสถานีตรวจอากาศทั่วโลก 

“เดือนดังกล่าวเป็นเดือนที่มีนาคมที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกร่วมกับปี 2017, 2019 และ 2020” หน่วยสังเกตการณ์ของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก (C3S) กล่าว โดยมีนาคมที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ก็คือ ปี 2016 

อย่างไรก็ดี ภาวะโลกร้อนนี้ทำให้น้ำแข็งในทะเลลดลงและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้เกิดคำเตือนว่าอาจถึงจุดเปลี่ยนที่อันตราย 

“ขอบเขตน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกนั้นต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 สำหรับเดือนมีนาคมในบันทึกข้อมูลดาวเทียมในรอบ 45 ปี ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 28%...และมีพื้นที่เฉลี่ย 3.2 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของปี 1991-2020 ที่ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตรในเดือนนี้” 

“มันมาถึงพื้นที่ที่เล็กที่สุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันแล้ว โดยพื้นที่น้ำแข็งลดลงต่อเนื่องมายาวนานนับทศวรรษ” C3S ระบุ 

ในขณะที่ทางตอนเหนือ ปริมาณน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกนั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 4% และต่ำสุดร่วมที่ 4 ในเดือนมีนาคมเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าระดับความเข้มข้นจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยในทะเลกรีนแลนด์ก็ตาม 

อย่างไรก็ดี ข้อมูลของหน่วยงาน C3S ระบุว่า อุณหภูมิทั่วโลกที่สูงขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นเกิดจากฝีมือมนุษย์ และแสดงให้เห็นว่า 8 ปีที่ผ่านมาเป็น 8 ปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ 

นอกจากนี้ ในรายงานของสหประชาชาติยังได้เตือนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า “อุณหภูมิที่ทำลายสถิติดังกล่าวถือว่าเย็นที่สุดใน 3 หรือ 4 ทศวรรษ แม้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาวะโลกร้อนจะลดลงอย่างรวดเร็วก็ตาม

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์