เพื่อนบ้านจับตาญี่ปุ่น ‘ปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี’ จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

5 กรกฎาคม 2566 - 06:20

east-asia-watch-iaea-endorses-fukushima-wastewater-release-plan-SPACEBAR-Thumbnail
  • กระบวนการทั้งหมดคาดว่าจะใช้เวลา 3-4 ทศวรรษ เนื่องจากน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจำนวนมหาศาลอยู่ในถังประมาณ 1,000 ใบบนชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น

  • แต่คิชิดะสัญญาว่าการปล่อยสารเหล่านี้ลงทะเลจะดำเนินการก็ต่อเมื่อมันไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

  • “นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์เท่านั้น มันค่อนข้างเป็นประเด็นมรดกทางนิวเคลียร์ มหาสมุทร การประมง สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหาสุขภาพ…”

อมุมัติแผน ‘ปล่อยน้ำเสียนิวเคลียร์’ ลงมหาสมุทรแล้ว!

สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) อนุมัติแผนปล่อยน้ำเสียของญี่ปุ่นจากนิวเคลียร์ที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิที่ทรุดโทรมลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก หลังเคยเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ครั้งเลวร้ายที่สุดของโลกเมื่อปี 2011 นับตั้งแต่วิกฤตเชอร์โนบิลในปี 1986 

แผนดังกล่าวเป็นความเคลื่อนไหวที่โตเกียวหวังว่าจะช่วยบรรเทาความกังวลของพันธมิตรในภูมิภาคและพลเมืองของประเทศ รวมถึงชาวประมงที่คัดค้านกันเต็มกำลัง

เมื่อวันอังคาร (4 ก.ค.) ที่ผ่านมา ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ของ IAEA กล่าวว่า “แผนการที่ญี่ปุ่นเสนอนั้นสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของหน่วยงานที่มีผลกระทบทางรังสีเล็กน้อยต่อสิ่งแวดล้อม (คาดการณ์ไว้) ซึ่งหมายถึงน้ำ ปลา และตะกอน” 

อย่างไรก็ดี กรอสซีได้เสนอการทบทวนขั้นสุดท้ายที่ริเริ่มตามคำร้องขอของโตเกียวเมื่อปี 2021 ต่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจครั้งสุดท้ายว่าจะอนุมัติแผนที่เป็นข้อขัดแย้งได้เร็วเพียงใด 

ทั้งนี้ กระบวนการทั้งหมดคาดว่าจะใช้เวลา 3-4 ทศวรรษ เนื่องจากน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจำนวนมหาศาลอยู่ในถังประมาณ 1,000 ใบ บนชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น แต่คิชิดะสัญญาว่าการปล่อยสารเหล่านี้ลงทะเลจะดำเนินการก็ต่อเมื่อมันไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 

“ญี่ปุ่นจะยังคงให้คำอธิบายต่อชาวญี่ปุ่นและประชาคมระหว่างประเทศอย่างจริงใจตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และความโปร่งใสในระดับสูง” คิชิดะกล่าว 

ขณะที่บริษัทสาธารณูปโภคไฟฟ้าซึ่งเป็นผู้ดำเนินการ Tokyo Electric Power Company (TEPCO) ได้วางแผนที่จะบำบัด เจือจาง และปล่อยสารในปริมาณที่ควบคุมได้ กระบวนการปั๊มและกรองน้ำที่เรียกว่า ‘Advanced Liquid Processing System’ (ALPS) จะกำจัดสารกัมมันตรังสีจำนวนมากออกจากน้ำที่ปนเปื้อน 

ส่วนทริเทียมซึ่งไม่สามารถกำจัดออกจากน้ำปริมาณมากได้จะถูกเจือจางให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกอย่างมาก (น้อยกว่า 1,500 เบคเคอเรลต่อลิตร) ก่อนปล่อยลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก  

ผู้สนับสนุนแผนดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนของโครงการ เนื่องจาก TEPCO กล่าวว่า “พื้นที่สำหรับน้ำปนเปื้อนเพิ่มเติมจะหมดลงภายในครึ่งแรกของปี 2024 ซึ่งปัจจุบันน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีมากกว่าล้านตันอยู่ในถังบนหมู่เกาะ และนั่นไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ” 

แต่ทว่านักวิจารณ์ซึ่งรวมถึงชาวจีน เกาหลีใต้ และกลุ่มประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกระบุว่า แผนการปล่อยยังขาดชุดข้อมูลที่สมบูรณ์สำหรับการประเมินที่เหมาะสมในด้านความปลอดภัย พวกเขายังแสดงความกังวลเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวที่แฝงตัวอยู่เบื้องหลังนิวไคลด์กัมมันตรังสีซึ่งมีครึ่งชีวิต (เวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัว) ยาวนานหลายศตวรรษและผลกระทบที่ไม่ทราบแน่ชัดต่อระบบนิเวศทางทะเลและอาหารทะเล 

ท่ามกลาง ‘ความกังวล’ ของประเทศเพื่อนบ้าน 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3EuHgk5tRWiIylM6T4PwWU/bcd10e2066036ce656eaaace5046a410/east-asia-watch-iaea-endorses-fukushima-wastewater-release-plan-SPACEBAR-Photo01
Photo: Jung Yeon-je / AFP
ไม่นานหลังจากการประกาศของ IAEA เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศของจีนก็ได้แสดงความเสียใจอย่างมากต่อการอนุมัติที่ ‘รีบร้อน’ และเตือนล่วงหน้าว่าญี่ปุ่นจะต้องรับผลที่ตามมาทั้งหมดหากเดินหน้าแผนการปล่อยน้ำเสีย 

“การรับรองของหน่วยงานสหประชาชาติไม่ควรเป็น ‘ทางผ่าน’ สำหรับญี่ปุ่นที่จะปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก…อำนาจหน้าที่ของ IAEA นั้นจำกัดอยู่ที่การทบทวนทางเลือกเดียวที่เสนอโดยโตเกียว และไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการปล่อยลงมหาสมุทรคือ…ทางเลือกที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือที่สุด” เหมา หนิง โฆษกหญิงกระทรวงการต่างประเทศของจีนตั้งข้อสังเกต 

มากกว่า 8 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจใน 11 ประเทศจากภูมิภาคแปซิฟิก รวมถึงจีน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีความคิดเห็นเชิงลบต่อ ‘การปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น’  

ขณะที่พลเมืองเกาหลีใต้กล่าวว่าพวกเขากังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำจะมีต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการบริโภคอาหารทะเลลดลงอย่างมากเมื่อเดือนที่แล้ว นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังแบนอาหารทะเลจากภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย 

“แม้ว่าจะใช้เวลา 10, 20, 30, 50 หรือ 100 ปี นั่นไม่ใช่ประเด็น รัฐบาลเรายึดมั่นในมุมมองที่ว่าสิ่งไม่ปลอดภัยไม่ควรเกิดขึ้นกับอาหารของประชาชน” ยุน แจ-อ๊ก สมาชิกสภานิติบัญญัติเกาหลีใต้กล่าว 

“นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์เท่านั้น มันค่อนข้างเป็นประเด็นมรดกทางนิวเคลียร์ มหาสมุทร การประมง สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาสุขภาพ โดยมีอนาคตลูกหลานของเราและคนรุ่นต่อไปเป็นเดิมพัน…มันมีความเสี่ยงมากสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป” เฮนรี ปูนา หัวหน้าองค์กรความร่วมมือในมหาสมุทรแปซิฟิก (PIF) กล่าว 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์