กระทรวงศึกษาธิการและการฝึกอบรม (MoET) ของเวียดนามตั้งเป้าหมายให้ ‘วิชาศึกษาทั่วไป’ (GenEd) เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง 100% ภายในปี 2035
กระทรวงฯ กำลังพัฒนาและสรุปโครงการระดับชาติเพื่อให้ ‘ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง’ ในโรงเรียนอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ปี 2025-2035 โดยมีวิสัยทัศน์ถึงปี 2045 ร่างโครงการระบุว่าภาษาอังกฤษจะถูกสอนในโรงเรียนที่ใช้ภาษาเวียดนามเป็นภาษาทางการ และภาษาอังกฤษจะถูกใช้อย่างแพร่หลาย
ร่างดังกล่าวได้กำหนดระดับภาษาอังกฤษไว้ 6 ระดับสำหรับการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองในโรงเรียน โดยมีเป้าหมายโดยรวมคือ ใช้ภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายและใช้สม่ำเสมอในการสื่อสาร การศึกษา การวิจัย การทำงาน และจะค่อยๆ ค่อยๆ กลายเป็นภาษาที่สองในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายของการศึกษาระดับก่อนวัยเรียนคือภายในปี 2035 โรงเรียนอนุบาลทุกแห่งจะมีเงื่อนไขในการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองให้กับเด็กๆ ครอบคลุมถึงเด็กอนุบาลอายุระหว่าง 3-5 ขวบ 100%
สำหรับการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป ภายในปี 2035 นักเรียนทุกคนจะเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึงชั้น ม.6 โดยจะเรียนระดับ 1, 2 และ 3 ของหลักสูตรภาษาอังกฤษ และภายในปี 2045 ทุกโรงเรียนจะดำเนินการจัดหลักสูตรภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองในระดับบ 4, 5 และ 6
สำหรับในระดับมหาวิทยาลัย ทุกสถานศึกษาจะต้องสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองในระดับ 4, 5 และ 6 ส่วนสถาบันอาชีวศึกษาทุกแห่งจะต้องจัดหลักสูตรตามการศึกษาที่เน้นการประกอบอาชีพนอกจากนี้ สถาบันอาชีวศึกษา 50% จะดำเนินการสอนวิชาอื่นๆ หรือบางส่วนของวิชาที่เรียนก็เรียนเป็นภาษาอังกฤษควบด้วย
นอกจากนี้ ร่างโครงการยังดำเนินการวิจัยเพื่อปรับปรุงกรอบสถาบัน การพัฒนาฝึกอบรมครูและอาจารย์ใหม่ การพัฒนาหลักสูตร ตำราเรียน สื่อการเรียนรู้ รวมถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น
“การดำเนินโครงการนี้ถือเป็นข่าวดีและเป็นโอกาสสำหรับภาคการศึกษา การพูดและการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการบูรณาการที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับโลกภายนอก...บทบาทของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสอน ซึ่งสามารถลดช่องว่างในระดับภูมิภาค ประหยัดเวลา และลดความต้องการแรงงาน” ฝั่มหง็อกตวง รองรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าว
รองศาสตราจารย์ เหงียนวันเตรา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยการศึกษาแห่งชาติฮานอย กล่าวว่า “โครงการนี้จะต้องกำหนดบทบาทและการวางแผนของระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างชัดเจน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยด้านศึกษาศาสตร์”
ดร.เหงียนทันห์บิ่ญ จากมหาวิทยาลัยการศึกษานครโฮจิมินห์กล่าวว่า “โครงการนี้ควรสร้างความมั่นใจในเรื่องการเข้าถึงสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลและบนภูเขา แก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในคุณสมบัติของครูในพื้นที่ต่างๆ และรวบรวมแหล่งทุนทางสังคม รวมถึงแหล่งทุนต่างๆ เพื่อพัฒนาบริการที่ปรึกษาและเครื่องมือสนับสนุน”
(Photo by HOANG DINH NAM / AFP)