เผยหลักฐานใหม่! คดีลอบสังหารประธานาธิบดี จอหน์ เอฟ. เคนเนดี ของสหรัฐฯ

13 กันยายน 2566 - 06:49

ex-secret-service-agent-reveals-new-jfk-assassination-detail-SPACEBAR-Thumbnail
  • แม้จะผ่านพ้นมากว่า 6 ทศวรรษแล้ว แต่รายละเอียดใหม่ๆ ยังคงปรากฏให้เห็นในเหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี (JFK)

  • ล่าสุดมีบันทึกใหม่จากพยานสำคัญออกมาที่พร้อมจะทำลายล้างทุกทฤษฎีที่ทางการเคยระบุไว้ของเหตุการณ์นี้

แม้จะผ่านพ้นมากว่า 6 ทศวรรษแล้ว แต่รายละเอียดใหม่ๆ ยังคงปรากฏให้เห็นในเหตุการณ์ที่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ นั่นก็คือการลอบสังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี (JFK) 

พอล แลนดิส อดีตสายลับวัย 88 ปี ซึ่งเห็นเหตุการณ์การเสียชีวิตของประธานาธิบดีในระยะใกล้ กล่าวในบันทึกล่าสุดว่า ‘เขาหยิบกระสุนออกจากรถหลังจากที่ประธานาธิบดีเคนเนดีถูกยิง แล้วทิ้งมันไว้บนเปลหามของประธานาธิบดีที่โรงพยาบาล’  

สิ่งนี้อาจดูเหมือนเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ จากคดีที่ผ่านมานานแล้ว แต่สำหรับคดีที่ใช้เวลาหลายทศวรรษในการตรวจสอบหลักฐานทุกชิ้น เรื่องราวของแลนดิสถือเป็นพัฒนาการครั้งสำคัญและคาดไม่ถึง ทั้งเรื่องราวการสมรู้ร่วมคิดเกี่ยวกับจำนวนมือปืนที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่รับผิดชอบในท้ายที่สุด และจำนวนกระสุนที่โดนประธานาธิบดีจริงๆ เกิดขึ้นมากมายในช่วงหลายทศวรรษนับตั้งแต่การลอบสังหาร 

อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงของคดีนี้ต่างจากฉบับทางการที่เป็นทฤษฎีสมคบคิดดั้งเดิมของอเมริกาสมัยใหม่ และตามที่นักประวัติศาสตร์บางคนเคยกล่าวไว้ว่าการสังหารนี้กระตุ้นให้คนในประเทศไว้วางใจรัฐบาลน้อยลง 

เรื่องราวของแลนดิสไม่ได้ทำให้อะไรเปลี่ยนไป แต่อยู่ที่ว่าเราจะมองมันอย่างไรต่อจากนี้ โดยเจมส์ โรบาลต์ นักประวัติศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญของเคนเนดีกล่าวว่า นี่ถือเป็นข่าวสำคัญที่สุดในการลอบสังหารตั้งแต่ปี 1963
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5JVRut8Hae1GWHMDgrlU9t/1b0fd14030e3fd89d2703a0920553cdf/ex-secret-service-agent-reveals-new-jfk-assassination-detail-SPACEBAR-Photo01
Photo: Kennedy’s Family photo: Wikipedia

หลักฐานใหม่จากคดีเก่า 

ข้อเท็จจริงเบื้องต้นของการลอบสังหารเคนเนดีคือ ‘ทุกคนรู้เป็นอย่างดี’  

ย้อนกลับไปในปี 1963 วันที่ 11 พฤศจิกายน รถเปิดประทุนที่เคนเนดี สุภาพสตรีหมายเลข 1 แจ็กกี เคนเนดี และผู้ว่าการรัฐเท็กซัส จอห์น คอนเนลลี จูเนียร์ และภรรยาของเขาโดยสาร เคลื่อนตัวผ่านดีลลี พลาซา (Dealy Plaza) ในดัลลัส หลังจากนั้นก็เกิดเสียงปืนรัวขึ้นมาโดยพุ่งเป้าไปที่รถยนต์ที่พวกเขาโดยสาร  

เคนเนดีถูกยิงเข้าที่ศีรษะและคอ ขณะที่คอลเนลลี จูเนียร์ถูกยิงเข้าที่หลัง ทั้ง 2 ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลพาร์คแลนด์ แมมโมเรียล (Parkland Memorial Hospital) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด จนกระทั่งได้รับการยืนยันว่าเคนเนดีเสียชีวิตแล้ว แต่ผู้ว่าฯ ยังมีชีวิตอยู่ 

รายงานของคณะกรรมาธิการวอร์เรนจากการสอบสวนของรัฐบาลเกี่ยวกับการลอบสังหารระบุว่า ‘ฮาร์วีย์ ออสวอลด์’ เป็นมือปืนเพียงคนเดียว โดยมีหลักฐานจากอาวุธที่ช่วยยืนยันข้อสรุปนี้ ซึ่งออสวอลด์ถูกยิงเสียชีวิตหลังจากการลอบสังหารไม่นานขณะอยู่ในการควบคุมตัวของตำรวจ  

นอกจากนี้ รายงานยังระบุด้วยว่า มีกระสุนเพียงนัดเดียวเท่านั้นที่ยิงโดนเคนเนดีและทะลุไปโดนคอลเนลลี ซึ่งการค้นพบดังกล่าวเรียกว่า ‘ทฤษฎีกระสุนนัดเดียว’ หรือ ‘ทฤษฎีกระสุนวิเศษ’ ขณะที่คณะกรรมาธิการส่วนหนึ่งอ้างโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่าที่มีการพบกระสุนปืนบนเปลหามในโรงพยาบาลที่คอลเนลลีไปรักษาตัว ซึ่งในเวลานั้นไม่มีใครรู้ว่ามันมาจากไหน แต่ท้ายที่สุดก็มีข้อสรุปออกมาว่า กระสุนหลุดออกมาแล้วในขณะที่แพทย์รีบทำการรักษาคอนนอลลี 

สิ่งนี้สร้างความแคลงใจให้กับผู้ที่ติดตามเรื่องราวนี้มาอย่างยาวนาน เนื่องจากมันเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่ากระสุนนัดเดียวจะทำให้ชาย 2 คนนี้บาดเจ็บในที่ที่ต่างกัน (ขนาดนี้) ซึ่งหลังจากที่บันทึกของแลนดิสถูกปล่อยออกมาทำให้ความสนใจเรื่องกระสุนนัดเดียวกลับขึ้นมาอีกครั้ง เพราะไม่เพียงแต่ว่าจะมาจากพยานโดยตรงแล้ว แต่ในบางมุมมันทำให้ทฤษฎีกระสุนนัดเดียวนี้ซับซ้อนขึ้นด้วย  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6zeinEKergM4SuAEthp0R/be727398c183d1a1abfdc5c383fe3e0c/ex-secret-service-agent-reveals-new-jfk-assassination-detail-SPACEBAR-Photo02__1_

สิ่งที่พยาน ‘จำได้’  

ในวันที่เกิดการลอบสังหาร แลนดิสในขณะนั้นอายุเพียง 28 ปี ได้ให้รายละเอียดกับแจ็กกี้ เคนเนดี สุภาพสตรีหมายเลข 1 เมื่อความรุนแรงเริ่มต้นขึ้น เขาอยู่ห่างจากประธานาธิบดีเคนเนดีเพียงไม่กี่ฟุต และได้เห็นกระสุนวิ่งเข้าศีรษะของเคนเนดีอย่างรุนแรง จากนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือความโกลาหล และสิ่งที่แลนดิสทำต่อไปคือการปิดปากเงียบ และให้ข้อมูลนี้กับคนสนิทเพียง 2 – 3 คนเท่านั้น  

ในการให้สัมภาษณ์กับ New York Times แลนดิสกล่าวว่า หลังจากที่มาถึงโรงพยาบาล เขาเห็นกระสุนปืนติดอยู่ในรถของเคนเนดีที่อยู่ด้านหลังที่ประธานาธิบดีนั่ง เขาหยิบมันขึ้นมาและใส่กระเป๋าไว้ หลังจากนั้นไม่นาน-ขณะที่เขากำลังเดินทางไปที่ห้องฉุกเฉินพร้อมกับประธานาธิบดี เขาหยิบกระสุนออกมาวางไว้บนเปลของประธานาธิบดี ‘เพื่อให้หลักฐานเดินทางไปพร้อมกับศพ’ 

“ไม่มีใครอยู่ที่นั่นเพื่อรักษาพื้นที่เกิดเหตุและนั่นกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผม ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเร็วมาก และผมไม่อยากให้หลักฐานสำคัญนี้หายไป” แลนดิสกล่าว อย่างไรก็ตามเห็นได้ชัดว่าเขาไม่เคยเสนอหลักฐานนี้ และคณะกรรมาธิการที่ตรวจสอบเองก็ไม่เคยสัมภาษณ์เขา และไม่เคยมีการเขียนลงบันทึกอย่างเป็นทางการ  

โรบาลต์ บอกกับ BBC ว่า แลนดิสนอนไม่หลับและยังต้องทำงาน บวกกับป่วยเป็นโรค PTSD (Post-traumatic stress disorder แปลว่า ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ) ขั้นรุนแรง ซึ่งก่อนหน้านี้ เขาลืมเรื่องกระสุนไปแล้ว เป็นเวลาหลายปีที่เขาหลีกเลี่ยงการอ่านเกี่ยวกับการลอบสังหาร หรือทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดที่เกิดขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งเขาตัดสินใจว่าเขาพร้อมที่จะบอกเล่าเรื่องราวของเขาให้โลกได้รับรู้  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2ofBasYaABCjMNaVqZwQpu/2154182c3d62d509c6fdcdf296e4b022/ex-secret-service-agent-reveals-new-jfk-assassination-detail-SPACEBAR-Photo03

กระสุนลึกลับ 

ผู้ที่ติดตามอ่านเรื่องราวของแลนดิสได้ข้อสรุปที่แตกต่างไปจากเรื่องนี้ และเรื่องราวนี้ก็ทำให้เกิดคำถามมากมายเท่าที่มันจะเป็นไปได้ ซึ่งโรบาลต์บอกว่าเรื่องนี้บ่อนทำลาย ‘ทฤษฎีกระสุนนัดเดียว’ แลนดิสเชื่อว่ากระสุนที่พบบนเปลหามคอนเนลลีคนละลูกกับที่เคนเนดีโดนยิงและตกอยู่บนรถ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง แปลว่าคอนเนลลี และเคนเนดี อาจจะไม่ถูกกระสุนนัดเดียวกัน  

อย่างไรก็ตาม แลนดิสมีท่าทีน่าสงสัยอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงเพื่อนร่วมงานที่มีส่วนร่วมโดยตรงในวันนั้นด้วย คลินท์ ฮิลล์ เจ้าหน้าที่ผู้มีชื่อเสียงกระโดดขึ้นไปบนหลังรถของเคนเนดีเพื่อปกป้องประธานาธิบดี ไม่เชื่อคำพูดของแลนดิส 

“ถ้าเขาตรวจสอบหลักฐาน คำให้การ และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ก็ไม่สอดคล้องกัน มันไม่สมเหตุสมผลเลยสำหรับผมที่เขาพยายามจะวางมันลงบนเปลหามของประธานาธิบดี” ฮิลล์กล่าวกับ NBC News 

เจอราด พอสเนอร์ นักข่าวสืบสวนและผู้เขียน Case Closed: Lee Harvey Oswald and the Assassination of JFK ชี้ว่าเรื่องราวของแลนดิสสนับสนุนทฤษฎี ‘กระสุนนัดเดียว’ อย่างแท้จริง และบอกว่า บันทึกของแลนดิสจะต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง  

ทว่าเรื่องนี้ก็ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความทรงจำของแลนดิสหลังจากผ่านไปเกือบบ 6 ทศวรรษ เช่น การสัมภาษณ์ผู้คนในห้องฉุกเฉินกับเคนเนดีที่โรงพยาบาลไม่มีใครพูดถึงการปรากฏตัวของแลนดิสที่นั่นเลยด้วยซ้ำ และการที่นายแลนดิสไม่เคยออกมาแถลง ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความประพฤติของเขาในวันนั้น  

“ถึงอย่างนั้น เขาอาจพูดสิ่งที่ผิดก็ได้ แต่ความจริงที่ซ่อนอยู่คือ ‘ผมเห็นกระสุน ผมคว้ามันใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกง และทิ้งไว้ที่โรงพยาบาลก่อนที่จะจากไป’ นั่นอาจเป็นเรื่องจริงหรืออาจจะไม่ใช่” พอสเนอร์กล่าว 

นี่คือการลอบสังหารเคนเนดี และการเปิดเผยของเขาจะทำให้แน่ใจได้ว่าจะมีการถกเถียงและแยกแยะเหตุการณ์บอบช้ำทางจิตใจครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในสหรัฐฯ ที่ส่งผลอย่างต่อเนื่องหลายปี เสมือน ‘คดีที่ไม่มีวันปิด’ สำหรับคนส่วนใหญ่  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์