ทะเลสีเลือด! หมู่เกาะแฟโรเริ่มประเพณีล่าวาฬ แม้ถูกมองทารุณสัตว์

16 มิ.ย. 2566 - 06:19

  • มีเรือหรูจำนวนหนึ่งจอดอยู่รอบๆ เกาะที่เต็มไปด้วยน้ำสีแดงที่กระจายอยู่ริมชายฝั่ง ซึ่งนั่นไม่ใช่แสงที่ของพระอาทิตย์ที่ตกกระทบน้ำ แต่มันคือ ‘เลือด’

  • ชาวเกาะแฟโร (Faroe) ได้ฆ่าโลมาหลายร้อยตัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในประเพณี Grindadráp หรือ Grind เรียกง่ายๆ ว่าเป็นพิธีล่าวาฬ หรือล่าโลมานั่นเอง

  • ประเพณีดังกล่าวนี้ มีการปฏิบัติต่อกันมานับ 1,000 ปี แต่ช่วงหลังๆ กลับถูกต่อต้านอย่างหนักเพราะถูกมองว่าเป็นการทารุณสัตว์

faroe-islands-blood-red-waters-surrounding-european-SPACEBAR-Hero
** คำเตือน: เนื้อหาและภาพประกอบมีความรุนแรง 

จากภาพ ‘ทะเลแดง’ ที่เราได้เห็นกันนี้ ถูกถ่ายขึ้นเมื่อวันพุธ (14 มิ.ย.) ที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีเรือหรูจำนวนหนึ่งจอดอยู่รอบๆ เกาะที่เต็มไปด้วยน้ำสีแดงที่กระจายอยู่ริมชายฝั่ง ซึ่งนั่นไม่ใช่แสงที่ของพระอาทิตย์ที่ตกกระทบน้ำ แต่มันคือ ‘เลือด’  

ก่อนหน้าที่จะมีการถ่ายภาพนี้ ชาวเกาะแฟโร (Faroe) ได้ฆ่าโลมาหลายร้อยตัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในประเพณี Grindadráp หรือ Grind เรียกง่ายๆ ว่าเป็นพิธีล่าวาฬ หรือล่าโลมานั่นเอง ซึ่งเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติต่อกันมานับ 1,000 ปีแล้ว 

พิธีล่าวาฬ - โลมา วัฒนธรรมหรือทารุณกรรม?

การล่าวาฬในหมู่เกาะแฟโร หรือคำว่า grindhvalur (จากศัพท์ภาษาแฟโร ซึ่งแปลว่า วาฬนำร่อง และ dráp แปลว่า การฆ่า) เป็นการล่าวาฬประเภทหนึ่ง ที่จะต้องทำการต้อนฝูงวาฬและโลมาหลากหลายสายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นวาฬนำร่องเข้าไปในอ่าวน้ำตื้น ทำให้พวกมันเกยตื้น จากนั้นจึงลงมือฆ่าและชำแหละ  

ในแต่ละปี วาฬนำร่องครีบยาวเฉลี่ยประมาณ 700 ตัว และโลมาขาวแอตแลนติกหลายร้อยตัว จะถูกฆ่าตายในทุกฤดูการล่า หรือในช่วงฤดูร้อน 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/uNB76vIfMqx5RmPJqNmip/86c89969608cc9d6b4437e6b36115d2a/faroe-islands-blood-red-waters-surrounding-european-SPACEBAR-Photo01
Photo: SEA SHEPHERD UK / AFP
การปฏิบัตินี้มีขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 และชาวเกาะแฟโรจำนวนมากถือว่า ‘การกินวาฬ’ เป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกเขา ตั้งแต่ปี 1948 เป็นต้นมา การล่าสัตว์ดังกล่าวได้รับการควบคุมโดยหน่วยงานของแฟโร โดยกำหนดให้ผู้เข้าร่วมต้องได้รับการฝึกอบรม ใช้เรือและมีการสื่อสารที่ทันสมัย อีกทั้งยังได้รับการดูแลโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

การล่าอยู่ภายใต้การตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นพิษของเนื้อวาฬ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์ ขณะที่ในระดับนานาชาติ กลุ่มสิทธิสัตว์ซึ่งมองว่าการล่าสัตว์โหดร้ายและไม่จำเป็น ได้พุ่งเป้าไปที่การประท้วง การคว่ำบาตร และการแทรกแซงอยู่เป็นครั้งคราว 

“พวกเขายังคงดึงศพ (สัตว์) ขึ้นมาเชือด ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 แล้วในเลย์นาร์ (Leynar - หมู่บ้านในหมู่เกาะแฟโร)” วาเลนตินา เครสต์ นักรณรงค์ชาวเดนมาร์กบอกกับ Yahoo News Australia 

ภาพถ่ายอีกชุดที่ถ่ายโดย Sea Shepherd UK แสดงให้เห็นซากสัตว์หลายสิบตัวเรียงรายอยู่บนชายฝั่งโดยมีเครื่องในของพวกมันทะลักออกมา แม้ว่าพวกมันจะรู้จักกันในนามของวาฬนำร่อง แต่จริงๆ แล้วพวกมันเป็นหนึ่งในสมาชิกของสัตว์ตระกูลโลมาที่ใหญ่ที่สุดในโลก 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5lhLu5BV2wEaahghf2Sn33/424f49740c4519e219a7f6139a1aa919/faroe-islands-blood-red-waters-surrounding-european-SPACEBAR-Photo02
Photo: SEA SHEPHERD UK / AFP
แม้ว่าจำนวนสัตว์ที่ต้องสูญเสียชีวิตในครั้งนี้จะมีจำนวนมากแล้ว แต่ในปี 2021 ที่ผ่านมา ชาวแฟโรได้สังหารโลมาหน้าขาวจำนวนกว่า 1428 ตัว ต่อหน้าเด็กๆ และเยาวชน สิ่งนี้จึงกระตุ้นให้ทั่วโลกหันมาประณามและเรียกร้องให้มีการยุติการล่า  

ทุกๆ ปี เรือจะต้อนฝูงปลาโลมา และวาฬแล่นผ่านเกาะไปยังฝั่ง จากนั้นผู้ชายกลุ่มใหญ่จะขับเรือเข้าไปยังบริเวณที่ต้อนสัตว์เข้ามา และปฏิบัติตามสิ่งที่พวกเขาโต้แย้งกันมาเสมอว่าเป็นการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่มีมานับหลายร้อยปี 

ขณะที่กลุ่มสวัสดิภาพสัตว์เรียกร้องให้มีการห้ามการล่าสัตว์ แต่ในเดือนพฤษภาคม นักวิจัยเกี่ยวกับวาฬในหมู่เกาะแฟโรบอกกับ Yahoo News ว่า แคมเปญเหล่านี้มีแต่จะเสริมสร้างความตั้งใจของคนในท้องถิ่นในการสืบสานประเพณีของพวกเขา 

ทางด้านนักรณรงค์เรียกร้องให้สหภาพยุโรปเอง ก็ได้สั่งห้ามการล่าสัตว์ โดยกล่าวว่า การทารุณกรรมสัตว์นั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ แต่ชาวบ้านก็ยืนยันว่า การปฏิบัติดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการรวบรวมอาหารของชุมชนเท่านั้น 

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์